รวมข้อมูลก่อนนำเสนอครั้งต่อไป


1. การ Scan

  • ถ้าเครื่องมีปัญหา
    • แก้ได้/ป้องกันได้
      • กระดาษหมด/หมึกหมด-ตรวจสอบดูเสมอว่าใกล้หมดหรือยัง
        • หาวิธีตรวจสอบทำให้ทุกคนทราบโดยไม่ต้องเดินไปดูเครื่องกันทุกคน ที่ห้องยาในใช้คือใครรับ Scan มากๆ ก็ให้เปิดฝาเติมกระดาษเลย ส่วนหมึกใกล้หมดเครื่องจะเตือนว่า "Toner Low" อยู่แล้ว
        • เตรียมสำรองไว้ให้พอเพียง โดยเฉพาะช่วงวันหยุดถ้าหมึก/กระดาษหมดมีปัญหาแน่
      • กระดาษติด-เครื่อง Lexmark รุ่นนี้จะมีระบบเตือนเขียนอยู่ 2 แบบ คือ ติดข้างล่าง(ข้างใน)หรือด้านบน จะขึ้นว่า "Paper Jam" ส่วนถ้าติดด้านหลังจะขึ้นว่า "Rear paper jam" ทำให้เรารู้และดึงกระดาษออกได้ถูกจุด
        • มักพบในกระดาษ recycle เพราะกระดาษผ่านความร้อนมาแล้วทำให้มันโค้ง กระดาษเลยงอพับติดในเครื่องง่ายหรือทำให้กระดาษติดกันออกมาหลายแผ่น
        • กระดาษ recycle บางที่ไม่ได้เอาที่เย็บกระดาษออก ทำให้ลูกกลิ้งเสียเลยต้องระวังมากๆ ป้องกันได้โดยแยกกระดาษ/ตรวจสอบทุกแผ่น (โดยไปหนึ่งอันแล้ว)
        • เหมือนข้างต้นอีกกรณี จะมีกระดาษที่ติดกันหลายแผ่นอาจเป็นเพราะกาวหรือเศษสติกเกอร์ติดไป
        • ปัญหานี้จะต่อยอดเป็นลูกปัญหาอีก คือ กระดาษที่เสียไปจะไม่รู้ว่าเป็นของตึกไหนส่งมา ค่อยคิดกันต่ออีกทีหนึ่ง
    • แก้ไม่ได้-ตามสารสนเทศ
      • เคยเป็นครั้งหนึ่ง เครื่องไม่ยอมทำงานอยู่นั่นแหละ พอตามมาเลยรู้ว่า ทางสารสนเทศเปลี่ยน IP เครื่องทำให้ส่ง Scan ไม่ได้ ต้องตั้ง IP กันใหม่
  • ถ้าเครื่องไม่มีปัญหา
    • แยกใบตามตึก/ตามคน
    • นับจำนวนใบ/ลงบันทึกรอโทรมาเช็ค

2. การคีย์ยาและเวชภัณฑ์ในโปรแกรม HOMEC-IPD

  • คนคีย์ดูในเครื่องก่อนเพื่อดูว่าเคยส่งมาแล้วหรือไม่
    • ถ้าไม่เคยใช้หรือเปลี่ยนวิธีใช้-คีย์ใหม/หยุดวิธีใช้เก่า่
    • ถ้าคีย์แล้วก็เขียนหมายเหตุในใบมาว่า ตัวใดซ้ำ์กับอันเก่าและจะออกอีกทีวันใดบ้าง
  • การหยุดยา
  • การทำยาต่อเนื่อง
  • ยา Stat
    • คืออะไร ต้องทำให้เท่าไหร นิยามให้ชัดเจน ซึ่งเราใช้เวลามื้อเช้าเป็นตัวกำหนด หมายความว่าตั้งแต่เที่ยงไปแล้วจะไม่มีการ Stat
  • ยากลับบ้าน
    • กลับวันนั้นเลยหรือไม่หรือสั่งล่วงหน้ากลับบ้านก่อน
    • สั่งได้ 2 สัปดาห์ถ้าเป็นสิทธิ์ต้นสังกัด/30บาท,ส่วนประกันสังคมยังไม่มีกฎออกมา

3. การคิดค่ายา

  • ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่างของห้องยาและการเงิน รวมทั้งตึกและห้องบัตรด้าน IT ทำให้ต้องมาหาข้อตกลงกันอีกทีครับว่าเราสามารถทำได้ถึงขั้นไหน
  • การเงินที่ทราบคร่าวๆ คือ การที่ไม่สามารถแยกวันที่เก็บค่ายาได้และไม่สามารถแยกเก็บเงินได
  • ห้องบัตร ข้อจำกัดเรื่องสิทธิ์ที่ไม่สามารถจับแยกวันได้ว่าไหนมีสิทธิ์ใด กรณีคนไข้มีหลายสิทธิ์ ถ้าสิทธิ์ใหม่มาก็จะทับข้อมูลเก่าไปเลย
  • ตึก-พยาบาล ต้องการแยกค่าใช้จ่ายเรื่องยาต่างหากกรณีที่คนไข้อยู่หลายตึก/แยกค่าใช้จ่ายตามวันเพื่อแจ้งให้คนไข้ทราบล่วงหน้า ซึ่งขากข้อจำกัดดังกล่าวพบว่าทำไม่ได้...

4. ปัญหาในแต่ละขั้นตอน

  • การเห็นภาพรวม เข้าใจปัญหาแต่ละหน่วยจะช่วยลดปัญหาได้มาก ทำให้รู้ว่าควรปฎิบัติอย่างไร ซึ่งตรงนี้อยากเชิญคนทำ(จริง)หลายหน่วยมาร่วมประชุม แต่ปัญหาตามคนทำนอกเวลาที่ทำต่างกับในเวลานี่ยังแก้ไม่ได้
  • การที่ทำระบบของทุกหน่วยให้ชัดเจนก็จะช่วยได้เช่นกัน เริ่มที่ตัวเราก่อนแล้วขยายต่อไปอีกที พยามยามทำให้นอก/ในเวลามีการทำมาตรฐานเหมือนกันให้ได้
  • ข้อจำกัดของห้องยาและการเงิน ในการคิดค่ายาที่ไม่สามารถแยกยอดตามวันหรือตามตึกได้ ทำให้ต้องมานั่งคิดมือ เสียเวลานาน จนรายงานที่ห้อยาในสร้างออกมาก็ช่วยไม่ได้เพราะการเก็บเงินของการเงินไม่สนับสนุนให้คิดแยกวันและห้องยาในก็ไม่ทราบว่าได้เก็บเงินไปจริงๆ แล้วเท่าไหร่ ต้องพามาคุยให้เห็นข้อจำกัดของทุกฝ่ายและหาทางแก้ร่วมกัน ซึ่งอยากเชิญพยาบาลตึกและงานไอทีมาร่วมด้วย

 

คำสำคัญ (Tags): #ข้อจำกัด
หมายเลขบันทึก: 181687เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2008 08:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท