Experiences & Knowledge


ตามหัวเรื่องนี้  หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์หรือ Experiences กับความรู้ เช่น สองอย่างนี้อะไรเกิดก่อน?  ถ้าไม่มีประสบการณ์แล้วจะมีความรู้หรือไม่?  คอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์ที่ "คิดได้", "พูดได้," "จับนั่นนี่ได้," นั้น  มันจะมีประสบการณ์ด้วยหรือไม่ ? ฯลฯ  การพูดที่จะให้มีวามชัดเจน ผมมักจะใช้รูปประกอบครับ  และขอใช้รูปเดิมๆ ดังนี้

from sensation to perception

สี่เหลี่ยมสีม่วงนั้นแทนก้อนสมองทั้งก้อน  ห่อหุ้มด้วยกะโหลกศีรษะ  สีเหลืองแทนสมองส่วนที่แสดงกิจกรรมตอบสนองสิ่งเร้าจากภายนอกกะโหลก  หรือโลกภายนอกของสมอง  และ "เกิดความรู้สึกตัว" ตัว "ก" เป็นสิ่งเร้าในรูปของบัตรคำ  ระยะห่างจาก "ก" ถึง "ตา" เป็ช่วงหนึ่ง จาก "ตา" ถึง "สมอง" ก็เป็นอีกช่วงหนึ่ง  "ก" เข้ากระทบตาในรูปของคุณสมบัติของแสง เช่นคลื่นแสง  จากตาคลื่นนี้ก็จะเปลี่ยนเป็นคลื่นไฟฟ้าหรือคลื่นประสาท  และเรียกกันว่า "สาร" หรือ Information คือยืมภาษาคอมพิวเตอร์มาใช้ สารนี้ก็จะเดินทางต่อไปตามใยประสาทตาถึงสมอง(ส่วนที่เป็นสีม่วง) และ "กระทบ"กับสมองส่วนที่แสดงกิจกรรมและเกิด"ความรู้สึกตัวอยู่ก่อนแล้ว" (ส่วนสีเหลือง) และทันใดนั้นก็ "เกิดการรู้สึกสัมผัส-ก1" ขึ้น (คอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์จะไม่เกิดเหตุการณ์นี้)  และการรู้สึกสัมผัสนี้ก็คือ "ประสบการณ์" ระดับหนึ่ง  จากนั้นก็ "เกิดการรับรู้-ก2" (ดูบันทึกครั้งก่อนนี้) การรับรู้นี้ก็ถือเป็น "ประสบการณ์" อีกระดับหนึ่งที่ซับซ้อนขึ้น   และถ้า "ประสบการณ์-ก2" นี้ "ยังคงอยู่ต่อไปได้นาน" ก็เรียกว่า "จำ" และ ที่ "จำ" นี้แหละที่เรียกกันว่า "ความรู้"   ถ้าต่อมาเราหลับ - การรู้สึกตัว(ส่วนสีเหลือง)ก็จะหายไปเหลือแต่ส่วนสีม่วง- และเราตื่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง (ส่วนสีเหลืองก็เกิดขึ้นอีก) และเรายัง "ระลึก-ก" ได้อีก  ก็เรียกว่า "เราจำได้" และพูดว่า "เรามีความรู้ -ก" แล้ว !!

ถ้าเช่นนั้น  ประสบการณ์ ก็ต้อง "มาก่อน" ความรู้ !

ถ้าเช่นนั้น  ถ้าไม่มีประสบการณ์ - ก  แล้วละก้อ จะ "ไม่มี" ความรู้ - ก !!

และถ้าเช่นนั้น  ประสบการณ์ - ก ต้องเป็น"ตัวกำหนด" ความรู้ - ก !!!

หมายเลขบันทึก: 181526เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2008 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ไม่ได้อ่าน blog ของอาจารย์เสียนานครับ ผมเองพักหลังๆ ก็วุ่นๆ เปิดเว็บมาอีกที อ้าว มีเพิ่มอีก 2 ตอนทีเดียว

ผมอ่านเรื่อง "ประสบการณ์" แล้ว ก็พยายามคิดว่า ถ้าเป็นกรณีของระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) แล้ว การที่ผู้พัฒนาได้ทำการป้อนซอฟต์แวร์ หรือข้อมูลลงไปเพิ่มเติม จะนับเป็น "ประสบการณ์" ด้วยไหมครับ? ผมว่าน่าคิด

สวัสดีค่ะอาจารย์ ไม่ได้อ่านบล็อกอาจารย์มานาน ต้องขอเข้ามาร่วมแจมต่อยอดซะหน่อยแล้วค่ะ

  • บางสิ่งบางอย่างไม่จำเป็นต้องมี experience ก่อน แต่มนุษย์ก็มีความรู้ที่จะจัดการกับสิ่งนั้นๆ ได้ เรียกว่า สัญชาติญาณ

สวัสดีครับ ดร.จันทวรรณ และ คุณ kafaak รู้สึกยินดีมากครับ ดูเหมือนว่าเป็นคำถามแบบชวนสนทนาทักทาย ทั้งสองคำถาม ดังนั้นผมจะตอบพร้อมกันก็แล้วกันนะครับ

(๑) เอาของคุณkafaakก่อนนะครับ คำถามว่า "...ผู้พัฒนาป้อนซอฟแวร์หรือข้อมูลเพิ่เข้าไป จะเป็น ประสบการณ์หรือไม่ (กรณี AI )" คำถามไม่ได้แจ้งชัดว่าเป็นประสบการณ์ของใคร - ของผู้พัฒนา - หรือว่าของคอมพิวเตอร์ - ถ้าเป็นประสบการณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว "ไม่ใช่" ครับ "เพราะว่า คอมพิวเตอร์ "ไม่มีความรู้สึกประสบการณ์"  แต่ถ้าเป็นของผู้พัฒนาแล้ว "ทุกครั้งที่เขาสัมผัสสิ่งใดๆและเกิดความรู้สึกสัมผัส, รับรู้, สิ่งนั้นๆแล้ว ก็ถือว่าเขา"มีประสบการณ์"อยู่ในขณะนั้นแล้ว ครับ  อันที่จริง ในขณะที่เขาลืมตาอยู่นั้น  เขาก็ได้"สัมผัสและรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบกายเขาอยู่ตลอดเวลา"อยู่แล้ว  นั่นก็คือเขามี"ประสบการณ์"กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว

(๒) คำถามของ  ดร.จันทวรรณที่ว่า "....ไม่ต้องมี Experience ก่อน ....มนุษย์มีความรู้ที่จะจัดการกับสิ่งนั้นๆได้ เรียกว่า สัญชาตญาณ" ....  แยกแยะดังนี้

ไม่ต้องมีประสบการณ์ (มากำหนดความรู้)

มนุษย์มีความรู้อยู่ก่อนแล้ว

ความรู้นั้นคือสัญชาตญาณ (เป็นตัวกำหนดความรู้นั้น )

นั่นคือ ข้อความว่า "สัญชาตญาณเป็นตัวกำหนดความรู้" นั้น  ทำหน้าที่เป็น "ข้อตกลงเบื้องต้น" ( Assumption, Axiom, Postulate)

ความคิดนี้จะมีคำถามตามมาดังนี้ครับ (๑) สัญชาตญาณ คืออะไร ?  (๒) มีจริงหรือไม่ ?  (๓) ถ้าตอบ (๑),(๒), ได้ ก็จะพบคำถามว่า สัญชาตญาณนั้นกำหนดความรู้ได้อย่างไร?

 

 

สวัสดีค่ะท่านผู้รู้ทุก ๆ ท่านคะ

สัญชาตญาณเกิดขึ้นต้องอาศัยสิ่งเร้าหรือไม่ อาจารย์ไสวคะ ยังไม่เข้าใจว่าสัญชาตญาณ คืออะไร ? (๒) มีจริงหรือไม่ ? (๓) ถ้าตอบ (๑),(๒), ได้ ก็จะพบคำถามว่า สัญชาตญาณนั้นกำหนดความรู้ได้อย่างไร?

ขอบคุณนะคะ

อิน

คือในอดีตโน้นผู้คิดมากเขาได้ถกปัญหากันว่า คนเราได้ความรู้มาก่อนเกิด หรือว่าได้มาหลังการเกิด

ฝ่ายแรกตอบว่า คนได้ความรู้มาแล้วก่อนเกิด ความรู้นั้นคือ เหตุผล จากนั้น เหตุผลนี้ก็มาทำหน้าที่เลือกความรู้จากธรรมชาติที่เข้ามาทางอวัยวะสัมผัสทั้งหลาย

ฝ่ายหลังก็แย้งว่า ไม่ใช่ คนเกิดมาหัวว่างเปล่า มีแต่ก้อนสมองล้วนๆ หามีความรู้ใดๆไม่ ความรู้ในธรรมชาติเข้ามาทางอวัยวะสัมผัสที่เราเรียกว่าประสบการณ์ ถ้าไม่มีประสบการแล้วก็หามีความรู้ได้ไม่ ความรู้ในที่นี้หมายถึงความรู้ที่ถูกต้อง คนตาบอดมีความรู้เกี่ยวกับช้างเหมือนกัน แต่ช้างของเขาไม่เหมือนกับช้างจริงๆ อาจเป็นช้างแปดขา มีเขายาว มีปีก ก็ได้ ตามที่เขาจะคิดเอาเอง เป็นต้น

จึงเรียกกันว่า ฝ่ายแรก เหตุผลเป็นตัวกำหนดความรู้ ฝ่ายหลัง ประสบการณ์เป็นตัวกำหนดความรู้ และเถียงกัน ผู้เถียงกันก็เรียกกันว่านักปรัชญา เนื้อหาที่เถียงกัน ก็เรียกว่าปรัชญา ปัญหาที่เถียงกันก็คือ ความรู้เราได้มาอย่างไร

คราวนี้ก็มีคนอื่นๆร่วมวงเข้ามา และเสนอความคิดอื่นเข้ามา คือ สัญชาตญาณ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท