ข้อคิดของธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ (ทฤษฏี 2 สูง)


ปี 2551 คุณธนินท์ เจียรวนนท์ คิดไม่ต่างจาก ปี 2547

วันที่ 27 เมษายน ที่ผ่านมาผมได้อ่าน  นสพ. มติชน หน้าที่สอง ได้กล่าวถึง " ธนินท์  เจียรวนนท์  กับทฤษฏี 2 สูง" จึงนำมาเชื่อมโยงกับแนวคิดธุรกิจในการแก้ปัญหาความยากจนในแผน9 ที่ผ่านมา เพื่อให้พี่น้องชาวG2K ได้แสดงความคิดเห็นดูครับ

วันนี้  ธนินท์  เจียรวนนท์ *  กับ ทฤษฏี 2 สูง 

                เกษตรกรเมืองไทย  ต้องเดินทั้งสองทาง ทางแรก ให้ทำเกษตรแบบไฮเทค และต้องไฮเทคจริง ๆ ไม่ใช่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ   สอง เอาภูมิปัญญาพื้นบ้าน  หมูพื้นบ้านต้องเอากลับมา  ทุกบ้านเลี้ยงได้  ไม่มีโรค  ปลอดภัย ไม่ต้องฉีดยา  ไก่ชนก็เหมือนกัน เพราะเป็นไก่พื้นบ้าน  ต้องส่งเสริม ควายเราต้องอนุรักษ์เอาไว้

                อย่าไปเลี้ยงคนไทยให้ขายแรงงาน   เราต้องยกระดับคนไทยไปเป็นผู้ให้บริการโรงแรม  ผู้จัดการโรงพยาบาล  เราต้องรู้จักเอาแรงงานคนอื่นมาใช้....กรรมการเราต้องกลายเป็นช่างใหญ่  เราผลิตหมอ  เราผลิตพยาบาล ไปรับเงินเดือนสูง ๆ  ส่วนแรงงานใช้พม่า เรายังสู้จีนได้ อีก 10 ปี  เรายังสู้กับเวียดนามได้อีก  10 ปี...

                เพราะฉะนั้นต้องใช้วิธี  2   สูง  ผมเชื่อว่า รัฐบาลจะได้ภาษี  เพิ่มขึ้นอีกมาก  หนึ่งขึ้นราคาสินค้าเกษตร ให้เกษตรกรมี  กำลังซื้อเพิ่มขึ้น  โรงงานของจะไม่พอขาย แล้ว สองขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการให้เขามีเงินจับจ่าย  สองกลุ่มนี้มีเงินจ่าย  รัฐบาลจะเก็บภาษีได้อีกเยอะเลย  ถ้าซื้อปุ๋ยแพงมาขายถูก  สู้เอามาขึ้นเงินเดือนดีกว่า  เงินเดือนครูต้องให้สูง   ต้องให้เกียรติให้เงิน

                ทุกประเทศรวยมาได้ใช้  2 สูงทั้งนั้น  ที่สองต่ำมีแต่คอมมิวนิสต์ คือ หนึ่งเงินเดือนไม่ขึ้น  สองราคาสินค้าไม่ขึ้น  คนก็ไม่รู้ทำไปทำไม  ทำแทบตายก็ได้เงินเท่านี้

          สิ่งที่ห่วงที่สุดคือ  ขึ้นเงินเดือนไม่ได้  นักวิชาการไม่เข้าใจ กลัวเงินเฟ้อ  ไม่ต้องกลัว  เพราะรัฐบาลจะได้ภาษีมหาศาล  เอาภาษีไปทำชลประทาน  พัฒนาพันธุ์อย่างถูกต้อง  ต่อไปความเสี่ยงจะน้อยลง  สินค้าเกษตรจะราคาดี  แบงค์จะกล้าปล่อยกู้มากขึ้น.....

 

* นายธนินท์  เจียรวนนท์  ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ให้สัมภาษณ์

จาก นสพ. มติชน  ฉบับวันอาทิตย์ ที่ 27 เมษายน 2551

 

 จากวันนั้น (2547) ถึงวันนี้ (2551) คุณธนินท์ เจียรวนนท์ คิดไม่ต่างกัน เรื่องต้องเน้น ผู้นำของเกษตรกรมาทำงานเสี่ยงแทนเกษตรกร แต่ความเป็นจริง (ซีพี)ทำงานเสี่ยงแทนเกษตรกร  จริงหรือเปล่า เพราะราคาพืชผลขึ้น เกษตรกรได้รับอานิสงฆ์นี้หรือไม่? เช่น  ข้าวกำลังแพง (เกวียนละเกือบ 20,000 บาท) แต่เกษตรกรทำนาขายข้าวได้ เกวียนละ 6,000-8,000 อยู่เลย.....หรือใครมาเล่นตลกสำหรับงานนี้ครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 181424เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2008 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท