การแก้ปัญหาความยากจน..ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (เล่าเรื่องเก่า)


แนวคิดเชิงธูรกิจ เพื่อแก้ความยากจน (แผน 9)ของเก่าแล้ว

ผมขอย้อนยุคก่อนที่นำเรื่องความยากจนในยุคปัจจุบันมาเสนอครับ   ผมเคยอ่านงานของ คุณธนินท์  เจียรวนนท์ ซึ่งท่านเคยมีบทบาทในเรื่อง การแก้ปัญหาความยากจน เมื่อประมาณ ปี 2545-50

แนวคิดเชิงธุรกิจ เพื่อแก้ความยากจน

คุณธนินท์  เจียรวนนท์  เสนอแนวคิดในการแก้ความยากจนของเกษตรกร  มีบางแนวคิดที่น่าสนใจ เช่น

เกษตรกร  ขาด  3 อย่างที่ต้องช่วยเหลือ

1. การตลาด

2.เทคโนโลยี่

3.เงินทุน

และธุรกิจด้านการเกษตรจำเป็นต้องอาศัย "แกนกลาง"  ไปเสี่ยงแทนเกษตรกร "สังคมไทยทุกวันนี้  คนเก่งใช้คนไม่เก่งไปเสี่ยงแทน  คนมีเงินใช้คนไม่มีเงินมาเสี่ยงแทน  เขาก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้น  คนไม่มีเงินก็ยิ่งจน  คนมีเงินก็ยิ่งรวย  ในรูปแบบ Integrate ต้องมีนักลงทุนมาเป็นแกนกลาง  คนที่เก่งต้องออกมาเป็นผู้นำ  มาเป็นผู้เสี่ยงแทนเกษตรกร"

 จากหนังสือประมวลข้อมูลและความรู้ เบื้องต้น สำหรับการทำงานเพื่อเอาชนะความยากจน ของเครือข่ายยุทธศาสตร์เพื่อเอาชนะความยากจน  ของสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา โดย พลเดช ปิ่นประทีป  พิมพ์ มกราคม 2547

ยุคนั้น ท่านพูดถูกครับ เรื่อง การใช้คนไม่เก่ง คนไม่มีเงิน ไปทำงานเสี่ยง...แต่ไม่ใช่การหานักลงทุนมาเป็นแกนกลาง  หรือหาคนเก่งมาเป็นผู้นำ เก่งเรื่องอะไร? ทำการค้าปลีกก็มีแล้ว แต่คุณให้เขาเป็นลูกจ้างแรงงานคุณ(ชาวบ้านเขามีอยู่แล้ว) แล้วมาเป็นผู้เสี่ยงแทนเกษตรกร ได้อย่างไร?  เพราะไก่ตายคุณหัก ให้ชาวบ้านเลี้ยงกันเองชาวบ้านเลี้ยงไม่สะอาด ไม่มีบริษัทรับซื้อ และทำเรื่องส่งออก คุณผูกขาด เพราะระบบคุณมีมาตราฐาน Iso 2001 ..

คุณก็รู้ว่า ชาวบ้านไม่รู้ตลาด ไม่มีเงินทุน และไม่เข้าใจเทคโนโลยี ทางเลือกอื่นสำหรับเกษตรกรมีหรือเปล่า? เช่น ..

ไม่ต้องทำการตลาด แต่ต้องรู้จักข้อมูล ว่าใครคือตลาดที่ใหญ่ที่สุดของหมู่บ้านเราเอง ...ใครซื้อสินค้ามากที่สุด เวลาผลิตก็ไม่ต้องผลิตมาก ผลิตแค่พอกินในหมู่บ้าน ในตำบลพอแล้ว

หรือทุนก็ไม่ต้องใช้เยอะ เช่น เพาะพันธุ์ข้าวหอมของตัวเองไว้ มีควาย ไว้ไถนา.....

เทคโนโลยีก็ไม่ต้องใช้ ปุ๋ยไม่ต้อง ใช้ขี้ควาย ปุ๋ยหมักได้ไหม?เกษตรกรอยู่ได้หรือเปล่า?ถ้าทำอย่างนี้...

ที่เกษตรกรเป็นหนี้สิน ส่วนใหญ่แล้วมาจาก การส่งลูกเรียนหนังสือ และความต้องการสินค้าอุปโภคเพื่อให้ทัดเทียมเพื่อนบ้านกัน....

อย่างนี้ส่งเสริมให้ทุกคนทำเยอะ ๆ ขายเยอะ ๆ ขายใคร? แล้วมาซื้อเยอะ ๆ แทนที่จะซื้อแต่สิ่งจำเป็น อะไรปลูกได้ก็ปลูกเอง ไม่ต้องซื้อ อะไรทำได้ก็ไม่ต้องซื้อ  ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร ชีวิตปลอดภัย ไร้สิ่งเสพติด แล้วสร้างกองทุนการศึกษาของเกษตรกร หรือกลุ่มออมทรัพย์ของชาวบ้านไว้เป็นความมั่นคงของเกษตรกรหวังจะรวยคงเป็นได้บ้าง แต่ไม่จนก็แล้วกันครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 181252เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท