ปฏิจจสมุปบาท


ขุมทรัพย์ของพระพุทธเจ้า

         ปฏิจจสมุปบาท เป็นกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์ เป็นธรรมอันลึกซึ้ง ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท การพิจารณาปฏิจจสมุปบาท มี 2 วิธี คือการพิจารณาแบบปฏิโลม และการพิจารณาแบบอนุโลม

         การพิจารณาปฏิจจสมุปบาทแบบปฏิโลม ดังนี้

อวิชชา          เป็นปัจจัยให้เกิด        สังขาร

สังขาร           เป็นปัจจัยให้เกิด        วิญญาณ

วิญญาณ        เป็นปัจจัยให้เกิด        นามรูป

นามรูป          เป็นปัจจัยให้เกิด        สฬายตนะ

สฬายตนะ      เป็นปัจจัยให้เกิด        ผัสสะ

ผัสสะ            เป็นปัจจัยให้เกิด        เวทนา

เวทนา           เป็นปัจจัยให้เกิด        ตัณหา

ตัณหา           เป็นปัจจัยให้เกิด        อุปาทาน

อุปาทาน        เป็นปัจจัยให้เกิด        ภพ

ภพ               เป็นปัจจัยให้เกิด        ชาติ

ชาติ              เป็นปัจจัยให้เกิด        ชรา มรณะ

พิจารณาแบบอนุโลม ดังนี้

ชรา มรณะ      มีขึ้นเพราะ      ชาติ              เป็นปัจจัย

ชาติ              มีขึ้นเพราะ      ภพ               เป็นปัจจัย

ภพ               มีขึ้นเพราะ      อุปาทาน        เป็นปัจจัย

อุปาทาน        มีขึ้นเพราะ      ตัณหา           เป็นปัจจัย

ตัณหา           มีขึ้นเพราะ      เวทนา           เป็นปัจจัย

เวทนา           มีขึ้นเพราะ      ผัสสะ            เป็นปัจจัย

ผัสสะ            มีขึ้นเพราะ      สฬายตนะ      เป็นปัจจัย

สฬายตนะ      มีขึ้นเพราะ      นาม รูป         เป็นปัจจัย

นาม รูป         มีขึ้นเพราะ      วิญญาณ        เป็นปัจจัย

วิญญาณ        มีขึ้นเพราะ      สังขาร           เป็นปัจจัย

สังขาร           มีขึ้นเพราะ      อวิชชา          เป็นปัจจัย

ขยายความแต่ละองค์ธรรม ดังนี้

อวิชชา          คือ      ความไม่รู้ตามความเป็นจริง + อาสวะกิเลส คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

สังขาร           คือ      การปรุงแต่งของจิต เป็นการเริ่มกระบวนการทางกาย

วิญญาณ        คือ      การรับรู้

นามรูป          คือ      ทำให้ขันธ์ ๕ ครบองค์ ทำงานกันตามหน้าที่ มีตัวตน มีเขา มีเรา

สฬายตนะ      คือ      มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำรวมระวังปัจจัยที่เข้ามากระทบ

ผัสสะ            คือ      เครื่องต่อระหว่าง อายตนะภายนอก + อายตนภายใน

เวทนา           คือ      การเสวยอารมณ์ทำให้เกิดสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

                             หยุดด้วยสติรู้เท่าทันเพื่อมิให้เกิดเป็นตัณหา

ตัณหา           คือ      ความสะดุ้งดิ้นรน ความทะยานอยาก มี กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา

อุปาทาน        คือ      ความยึดมั่นถือมั่นในตน

ภพ               คือ      จิตมีที่จุติ เกิดกรรม

ชาติ              คือ      การเริ่มเกิดขึ้นของกองทุกข์ หรือเริ่มกระบวนการเกิดเหตุต่างๆ

ชรา มรณะ      คือ      แปรปรวน และดับไป

การพิจารณาความดับไปแต่ละองค์ธรรม ดังนี้

เพราะความดับไปแห่ง          ชาติ              ทั้งหลาย        ชรา มรณะ      จึงดับไป

เพราะความดับไปแห่ง          ภพ               ทั้งหลาย        ชาติ              จึงดับไป

เพราะความดับไปแห่ง          อุปาทาน        ทั้งหลาย        ภพ               จึงดับไป

เพราะความดับไปแห่ง          ตัณหา           ทั้งหลาย        อุปาทาน        จึงดับไป

เพราะความดับไปแห่ง          เวทนา           ทั้งหลาย        ตัณหา           จึงดับไป

เพราะความดับไปแห่ง          ผัสสะ            ทั้งหลาย        เวทนา           จึงดับไป

เพราะความดับไปแห่ง          สฬายตนะ      ทั้งหลาย        ผัสสะ            จึงดับไป

เพราะความดับไปแห่ง          นาม รูป         ทั้งหลาย        สฬายตนะ      จึงดับไป

เพราะความดับไปแห่ง          วิญญาณ        ทั้งหลาย        นาม รูป         จึงดับไป

เพราะความดับไปแห่ง          สังขาร           ทั้งหลาย        วิญญาณ        จึงดับไป

เพราะความดับไปแห่ง          อวิชชา           ทั้งหลาย        สังขาร           จึงดับไป

         ให้หมั่นพิจารณาปฏิจจสมุปบาทอยู่เนืองๆ พิจารณาปฏิโลมอนุโลมกลับไปกลับมา พิจารณาให้แยบคาย โยนิโสมนสิการ ซึ่งท่านจะตื่นตลึงกับสภาวธรรม แล้วเปล่งวาจาเบาๆในลำคอของท่านด้วยถ้อยคำที่ว่า "แล้วก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ"

หมายเลขบันทึก: 181086เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2008 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะ
  • มาเรียนรู้ธรรมะ ที่เป็นอมตะ แห่งการดับทุกข์
  • สาธุ

 

  • แบบชาวบ้าน ๆ นะขอรับ
  • ความรู้ที่แท้จริงคือ รู้ถึงความไม่รู้แห่งตน(อวิชชา)แล้วดับมัน
  • อวิชชาดับ ทุกสิ่งก็ดับ(ไม่เกิด) จบ.
  • พูดนะ ง่ายจัง...ทำนะ ต้องบำเพ็ญเพียรขอรับ.

P สวัสดีครับ คุณบัวปริ่มน้ำ การพิจารณาปฏิจจสมุปบาทนั้นสลับซับซ้อน หลายชั้นมากครับ หากใครหมั่นพิจารณาแล้ว ถือว่าเดินไม่ผิดทางครับ

 

P สวัสดีครับ ท่านทนัน ภิวงศ์งาม ที่ท่านพูดมานั้นทำให้คนที่ฝึกพิจารณาใหม่เข้าใจได้ดี เข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ เพราะการตัดวงจรขององค์ธรรมองค์ใดองค์หนึ่งออก การหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามวัฏฏะสงสารก็สะดุดหยุดลง ขอบคุณมากครับที่กรุณาเพิ่มเติมให้บันทึกสมบูรณ์ขึ้นครับ

  • อืม.. ครั้งแรกได้ยินคำว่า ปฏิจจสมุปบาท ตอนที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร.เฉลียว ท่านสอน ด้วยความเป็นคนดิบอยู่มาก เลยไม่สนใจ แต่พี่ ๆ เพื่อน ๆ ไม่น้อยเขา ทึ่ง เอาเลยล่ะครับ
  • ต่อมาพอได้เรียนรู้ธรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนวันหนึ่งหลาย ๆ คำตอบมาเฉลยที่ ปฏิจจสมุปบาท ครับ
  • ได้พยายามทำความเข้าใจหลายรอบ แต่ก็ยังไม่เห็นแจ้งถึงที่สุดเลยครับ แต่ก็จะพยายามต่อไปครับ
  • ขอบคุณที่นำมาเสนอเป็นธรรมทานครับผม

P

สวัสดีครับคุณเด็กข้างบ้าน

ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม

ถ้าหากเราท่านอยากเห็นธรรมก็ต้องพิจารณาปฏิจจสมุปบาทบ่อยๆครับ พิจารณากลับไปกลับมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท