ความรู้เล็ก..เล็ก


ลองบันทึกเป็น "ขุมความรู้" ตามแบบฉบับของคุณก่อน เช่น ความรู้เรื่องเส้นทางมดแดง" ที่บางท่านเล่าให้ฟังในวันนั้น แล้วค่อยๆรวบรวมความรู้เล็กๆเหล่านี้ให้มากพอที่จะครอบคลุมเรื่องราวของป่าชุมชนทั้งหมด แล้ววันนั้นแหละคุณก็จะเห็น "วิถีแห่งการจัดการป่าชุมชน"

"เส้นทางของมดแดง"   เป็นขุมความรู้อย่างหนึ่งในหลายๆเรื่อง  ของชุดความความรู้ว่าด้วยเรื่องป่าชุมชน    นักจัดการป่าชุมชน  ที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการป่าชุมชนขนาดเล็ก  UNDP    ได้มาเล่าให้เราฟัง     นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกเยอะแยะมากมาย      เรื่องราวเหล่านี้   ดูเหมือนว่าคนภายในชุมชนเองจะมีความรู้พวกนี้ดี    จนบางครั้งลืมไปว่าเรื่องทำนองนี้  มันเป็นความรู้อย่างหนึ่งเหมือนกัน

ในตอนที่เราเจอกันในวันแรกกับกลุ่มนักจัดการป่าชุมชน    แต่ละคนปรารถนาลึกๆอยู่ในใจว่า มาครั้งนี้จะต้องได้วิชา "ถอดบทเรียน"  หรือ  "ถอดความรู้"  การจัดการป่าชุมชนกลับไปเป็นแน่แท้       ตกเย็นวันแรกผ่านไป  หลายคนเริ่มแสดงอาการ  งุนงง   กับการเล่าเรื่องความสำเร็จ  ซึ่งยังมองไม่ออกเลยว่ามันจะเกี่ยวอย่างไรกับการถอดความรู้ป่าชุมชน

วันที่สองเข้ามา   เมื่อหลังจากที่ทุกกลุ่มได้ขึ้นมานำเสนอ  ขุมความรู้การจัดการป่าชุมชน   จากเรื่องเล่าเมื่อวานนี้     ทุกคนได้ตั้งสติและให้ข้อสังเกตว่า   ระหว่างความรู้ที่อยู่ในรูปแบบการเล่าเรื่อง   และ  ความรู้ในรูปแบบการเขียนนั้น   ค่อนข้างจะแตกต่างกัน  มีจุดแข็ง  จุดอ่อนต่างกันในหลายประเด็นที่เดียว  เช่น   ความรู้ที่เป็นเรื่องเล่าจะถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกออกมาได้ดีกว่า  ความรู้แบบเขียน     แต่ในขณะที่ความรู้แบบเล่าเรื่องเป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในบางจุดของเรื่องยากต่อการสังเกต  ผู้ฟังต้องรู้จักจับดึงออกมา   เหล่านี้เป็นต้น     ในขณะเดียวกัน   ผู้จัดการป่าชุมชนรุ่นอาวุโสท่านหนึ่ง  ได้เล่าถึงวิธีการเรียนรู้วิธีการทำนาโดยการลงมือทำจริง  ขณะที่พ่อ และแม่เป็นผู้ที่คอยบอกและแนะให้ทำเมื่อตอนวัยเด็ก     อันนี้ก็เป็น การถอดความรู้  วิธีหนึ่งเหมือนกัน  เป็นความรู้ในรูปแบบการลองฝึกทำ

จุดนี้เอง  ที่ผมเชื่อว่าเป็นจุดคลายตัว  เกิด "การเรียนรู้"  โดยไม่ต้องมีใครมาบอก      ประเด็นของการ  "ถอดความรู้"   จึงเป็นเรื่องที่ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า   ถอดออกมาแล้วจะเอาไปทำอะไร   ใครเป็นคนนำไปใช้ต่อ?      เพราะคำถามนี้จะตอบเราในเรื่อง  ความรู้ที่ถอดออกมาแล้ว  ควรจะต้องอยู่ในรูปแบบใด  จึงจะเหมาะกับใครมากที่สุด?   

ที่สำคัญ.....การถอดความรู้    เป็น Tacit knowledge (ความรู้ที่อยู่ในคน)อย่างหนึ่ง  หากไม่ลงมือลองทำ  คุณจะไม่มีวันเข้าใจมันเป็นแน่  ดูคล้ายจะเข้าใจ  แต่ปฏิบัติไม่ได้  นี่ก็ถือว่า ยังไม่เข้าใจเท่าไร

วิธีที่ทำให้คนทำงานดูว่ามันไม่ยากจนเกินไปในขั้นฝึกหัด   ก็น่าจะเริ่มจากความรู้เล็กๆ  เป็นความรู้ที่เราคุ้นเคยมากที่สุดก่อน  ลองบันทึกเป็น "ขุมความรู้"  ตามแบบฉบับของคุณก่อน  เช่น  ความรู้เรื่องเส้นทางมดแดง"  ที่บางท่านเล่าให้ฟังในวันนั้น      แล้วค่อยๆรวบรวมความรู้เล็กๆเหล่านี้ให้มากพอที่จะครอบคลุมเรื่องราวของป่าชุมชนทั้งหมด     แล้ววันนั้นแหละคุณก็จะเห็น "วิถีแห่งการจัดการป่าชุมชน"   

ร่องรอยของความคิด จากการทำงานร่วมกับ  http://www.undp.or.th/

คำสำคัญ (Tags): #tacit#small#knowlege#undp#thailand
หมายเลขบันทึก: 181เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2005 02:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท