นิทานพื้นบ้านและเพลงพื้นบ้านของบ้านมาลัย ตำบลเปอรูโป๊ะ อำเภอบาเจาะ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย


วรรณกรรมท้องถิ่น

ข้อมูลที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นข้อมูล จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเรื่องวรรณกรรม

นิทานพื้นบ้านและเพลงพื้นบ้าน

ของบ้านมาลัย ตำบลเปอรูโป๊ะ อำเภอบาเจาะ รัฐกลันตัน  ประเทศมาเลเซีย

                                                                                                                        นิทานพื้นบ้าน เป็นเรื่องที่เล่ากันสืบต่อ ๆ มา ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งส่วนใหญ่ถ่ายทอดสู่อนุชนรุ่นหลังด้วยมุขปาฐะ เป็นสาขาสำคัญของคติชาวบ้าน เป็นที่สนใจของนักปราชญ์ นักศึกษาวิชามานุษยวิทยาและวิชาการอื่นๆ เป็นอันมาก การเล่านิทานเป็นเรื่องเก่าแก่ก่อนประวัติศาสตร์ และเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไปในทุกหนทุกแห่ง ในหมู่ชนทุกชั้น นับตั้งแต่พระราชาลงมาจนถึงคนยากจน

เพลงพื้นบ้าน คือ บทเพลงที่เกิดจากคนในท้องถิ่นต่าง ๆ คิดรูปแบบการร้อง การเล่นขึ้น เป็นบทเพลงที่มีท่วงทำนอง ภาษาเรียบง่ายไม่ซับซ้อน มุ่งความสนุกสนานรื่นเริงใช้เล่นกันในโอกาสต่าง ๆ เช่น

สงกรานต์ ตรุษจีน ลอยกระทงไหว้พระประจำปี หรือแม้กระทั่งในโอกาสที่ได้มาช่วยกันทำงาน ร่วมมือร่วมใจเพื่อทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น เกี่ยวข้าว นวดข้าว เป็นต้น

 

            สำหรับวรรณกรรมท้องถิ่นที่บ้านมาลัย รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ในส่วนของนิทานพื้นบ้าน และเพลงพื้นบ้าน ได้ข้อสรุปดังนี้ นิทานพื้นบ้านที่ได้จากการลงเก็บข้อมูลภาคสนามในครั้งนี้มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๘ เรื่องด้วยกันได้แก่เรื่อง... คนธรรพ์ มโนราห์ ผีต้นกล้วย ผีนางเว้ ปลาบู่ทอง นางสิบสอง สามเกลอ นางอุทัย  ซึ่งนิทานทั้ง ­๘ เรื่องที่ได้จากการลงเก็บข้อมูลภาคสนามที่บ้านมาลัย ตั้งข้อสังเกตได้ว่า นิทานพื้นบ้านที่ยังคงหลงเหลือให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษานั้นมีผู้ที่สามารถบอกข้อมูลได้เพียงไม่กี่คนเพราะผู้บอกข้อมูลที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวต่างๆในส่วนของนิทานพื้นบ้านนั้นได้เสียชีวิตไปแทบทั้งสิ้นแล้ว จะมีหลงเหลืออยู่พอให้ได้ศึกษาก็เพียงไม่กี่เรื่อง และหลายเรื่องก็มีลักษณะเค้าโครงเฉกเช่นเดียวกับนิทานพื้นบ้านของไทยไม่ว่าจะเป็น ปลาบู่ทอง นางสิบสอง หรือแม้กระทั่งแต่มโนราห์ เป็นต้น จะมีที่แตกต่างไปจากนิทานพื้นบ้านทั่วไปของไทยก็คือ เรื่องคนธรรพ์  ผีนางเว้ เป็นต้น

 คนธรรพ์คือ ตามคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ได้บอกว่า คนธรรพ์คือ เสียงที่มากับลมเป็นผู้มีอำนาจ บางครั้งก็บอกว่า เป็นคนที่อาศัยตามภูเขาพอมีการแสดงใดๆในวัด เช่น มหรสพ คนธรรพ์ก็จะลงมาดู หรือแม้กระทั่งบางครั้งก็มีการบอกเล่าต่อๆกันมาว่า คนธรรพ์ ก็คือชาวบ้านอย่างเราท่านๆที่มาพร้อมกับกองทัพทหารสยามในอดีตสมัยสุโขทัย เหล่านี้เป็นต้น

ผีนางเว้มีการเล่าขานกันว่า ผีนางเว้คือผีแม่หม้ายที่ตายท้องกลม มีลักษณะเป็นหญิงสาวที่ตั้งท้อง หลังกลวง ชอบหลอกหลอนผู้ชายจึงเป็นที่กลัวกันอย่างมากในหมู่ผู้ชายกลัวว่า ผีนางเว้จะมาเอาตนไปอยู่ด้วย แต่ผู้คนในท้องถิ่นก็บอกกล่าวเล่าขานถึงวิธีการปราบผีนางเว้ว่า ให้ใช้ปลาหมอในการปราบผีนางเว้ เพราะผีนางเว้จะกลัวว่า เงี่ยงของปลาหมอจะทิ่มแทงท้อง (พุง) ของตัวเอง เหล่านี้คือวรรณกรรมท้องถิ่นในส่วนของนิทานที่มีการเล่าขานกันมาในหมู่บ้านมาลัย

สำหรับเพลงพื้นบ้าน ก็เห็นจะเป็นเพลงกล่อมเด็ก ที่พอจะมีให้เห็นอยู่บ้างแต่ก็น้อยเต็มทีเพราะไม่มีใครสามารถให้ข้อมูลได้ และสำหรับที่นี่เขาไม่เรียกว่าเพลงกล่อมเด็กแต่จะเรียกว่า เพลงเวเปลและอีกเรื่องสำหรับเพลงพื้นบ้านคือ การร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกที่น่าฟังเป็นอย่างยิ่งสำหรับฉบับบ้านมาลัย เพราะมีช่วงทำนองในการร้องที่ชวนให้น่าฟังติดตาม น่าหลงใหล แต่น่าเสียดายที่ผู้บอกข้อมูลไม่สามารถร้องให้ฟังจนจบได้ โดยให้เหตุผลว่า ต้องร้องกันสองคนถึงจะร้องต่อจนจบได้เพราะการรับส่งของคนที่เคยร้อง แต่ ณ ปัจจุบันคู่ร้องอีกท่านไม่อยู่แล้วจึงนับได้ว่าน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับวัตถุประสงค์หลักๆสำหรับการรังสรรค์นิทานพื้นบ้านและเพลงพื้นบ้านในแบบฉบับของวรรณกรรมท้องถิ่นบ้านมาลัยก็เพื่อความเพลิดเพลินและกล่อมเด็กให้หลับเป็นหลัก

หากนับวันเรายิ่งปล่อยให้วรรณกรรมท้องถิ่นเหล่านี้เลือนหายไปต่อไปในอนาคตข้างหน้าไม่รู้ว่าเราจะสรรหาวิชาที่นับได้ว่าเป็น สรรพวิทยาได้จากที่ใด เพราะคนส่วนใหญ่โดยเฉพาะเยาวชนในปัจจุบันละเลยต่อการให้ความสนใจเรื่องราวเหล่านี้เป็นจำนวนมากโดยมองว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องกลับมาทบทวนถึงความจำเป็นที่จะปกปักรักษาวรรณกรรมอันทรงคุณค่าที่เราเรียกว่าวรรณกรรมท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 180535เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2008 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ผีนางเว้ น่าจะคล้ายแม่นาคของภาคกลางนะครับ ชอบๆๆเอามาอ่านอีกครับอาจารย์ มีอะไรหลายอย่างที่ไม่เคยอ่านครับ รออ่านนะครับ.....

สวัสดีครับ

น่าสนใจเหมือนกันนะครับ

เคยได้ยินเรื่องผีหลังกลวง แต่ว่าเรื่องนี้ ผีหลังกลวงกับผีท้องกลม เป็นตัวเดียวกัน

ขอบคุณ อาจารย์

1. ขจิต ฝอยทอง มากครับ ไว้จะนำผลการลงพื้นที่ในอีกแง่มุมนึงมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ ผมเข้าใจว่า มันจะคล้ายแต่ไม่คล้ายนะครับ เพราะแม่นาคท้องยังอยู่ แต่ผีนางเว้ตามคำบอกเล่า ท้องกลวงครับและ

ขอบคุณ คุณ

2. ธ.วั ช ชั ย ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

เป็นเรื่องเล่ากันมา แม้รู้ว่า อาจไม่จริง แต่ก็สนุกค่ะ

ขอบคุณ คุณ

4. Sasinanda

ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ และยินดีที่ได้รู้จักครับ

มาเยี่ยมยาม อ่านนิทาน นางเว้ กลางคืน ครับท่าน

ประเด็นอาจารย์จุดประกายผมอีกเรื่องหนึ่งแล้วครับ

ขอบคุณ ท่าน

6. JJ ครับ ที่แวะมาเยี่ยม และ อาจารย์ 7. จารุวัจน์ ครับ ผมก็นึกอยู่แล้วครับว่ามันน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับงานวิจัยของอาจารย์ เพราะผมเชื่อ อาจารย์มีไอเดียได้หมดแหละ ยังไงก็ถือว่าช่วยๆกันแล้วกันครับ

อัลฮัมดุลิ้ลลาฮ รอจนเหงือกแห้งเลย ฮิฮิ ดีใจมากคะที่อาจารย์ทำตามสัญญาแล้ว น่าจะมีรูปตอนลงพื้นที่มาประกอบด้วยนะคะ


<p>นิทานนุ่กมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ คับ</p>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท