AAR ดูงานสระบุรี


"อย่าไปหลงดูงาน IT นะ"

BAR

เป็นการไปดูที่ชัดเจนดีครับเพราะท่านรองศิริชัยบอกเป้าหมายไปก่อนว่าเราจะไปดูอะไร อย่างไรรวมทั้งพยายามเตือนสติให้ทุกคนได้เห็นภาพรวมตลอดว่าเรามาดูอะไรกัน

"อย่าไปหลงดูงาน IT นะ"

อันนี้เป็นคำพูดที่ท่านพูดประจำตลอดการดูงานและเข้าใจที่ท่านห่วงเพราะงานที่นั่นไอทีเขาไปไกลแล้วและเราคงตามเขายาก ซึ่งเรียกสติผมได้เสมอเพราะผมรู้สึกว่า ทุกสิ่งที่เขาพยายามนำเสนอพบว่า จะเกี่ยวข้องกับไอทีตลอดและจะพูดถึงข้อดีของมันจนเราเคลิ้มไม่รู้ตัว กว่าผลจะสุกหอมหวานเช่นนี้ เราต้องผ่านอุปสรรคอะไรมานานกว่าสิบปี เป็นคำพูดปลุกความฝันได้ดีอีกประโยคครับ ทั้งๆ ที่รพ,สระบุรีมีผอ.ที่วิสัยทัศน์กว้างไกลและมีคนที่เก่งไอทีอย่างนั้น ยังต้องใช้เวลานานกว่าทุกคนจะเห็นประโยชน์และยอมรับ

 

ผมมองว่า งานไอทีเป็นเป้าหมายหนึ่งที่เราควรมี ซึ่งเราอาจต้องเริ่มสร้างจากที่มีอยู่

ถ้ามันตันมากคงต้องหาทางออกเองแบบที่คนตัวเล็กๆ อย่างเราจะทำไหว

ซึ่งที่สำคัญที่สุด คือ การส่งต่อกันระหว่างงาน/หน่วยงาน ซึ่งกลายเป็นเป้าหมายที่เราไปดูงานครั้งนี้

สิ่งที่ผมได้จากการไปดู คือ

  • การทำงานแบบส่วนรวม ทุกคนมีงานของตนและเชื่อมโยงกับงานของทุกคน อย่างที่หลายคนอาจจะนึกไม่ถึง ถ้าเราทำงานสักงานที่ต้องรับผิดชอบ ควรรู้ว่าเราทำงานผสานเนื้องานไปก้บหน่วยไหนบ้าง เช่น ห้องบัตร ข้อมูลจะถูกใช้แทบทุกหน่วยงาน ตั้งแต่เวชระเบียน ห้องยา การเงิน ห้องตรวจ ตึก งานรายได้ งานตรวจสอบสิทธิ์ พูดง่ายๆ คือ ที่ไหนคนไข้เข้าที่นั่นใช้หมด รวมทั้งที่ๆ เป็นงานออฟฟิศ อย่าง งานพัฒนาคุณภาพ งานระบาด งานอบรมก็ใช้นะครับเพื่อเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ปรับปรุงองค์กร
  • ข้อมูลและสถิติ เป็นสิ่งที่จำเป็นไปแล้วในยุคการทำงานสมัยน ผมเคยนั่งทำ mindmap มาก่อนหน้านี้นานพอดูแล้้วเหมือนกันว่า ข้อดีของการเก็บข้อมูลแและนำข้อมูลมาวิเคราะห์คืออะไร แต่เนื่องจากหลายคนคิดว่ามันเป็นภาระงาน ผมเลยปิดปากไปแล้วก้มหน้าเก็บเองไปเรื่อยๆ ข้อดีของการปิดปาก คือ ทำให้เห็นภาพชัดเจนของข้อเสียจากการไม่เก็บข้อมูลได้เขียน mindmap เพิ่มครับ ฮ่าๆ... (ฝืนหัวเราะนะเนี่ย)
  • สิ่งสำคัญกว่าข้อมูล คือ การเปิดใจยอมรับเป้าหมายของส่วนรวมว่าเราจะก้าวไปทางไหน อย่างไร จากนั้นจึงพัฒนาในส่วนที่เป็นเป้าหมายร่วมกัน ไม่ได้ยึดอัตตาตัวเองหรือของหน่วยงานมากไป แต่แน่นอนว่าเสียงของเราก็มีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน เราฟังเขา เขาฟังเราและประนีประนอมกัน ไม่ใช่เพื่อเกลี่ยผลประโยชน์เราแต่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมมาก่อน
  • สิ่งไหนที่วางแผนมาีดี คิดแก้ตั้งแต่ต้นเหตุ ปัญหายิบย่อยจะไม่เกิดหรือเกิดยาก เห็นได้จากการที่คณะกรรมการแพทย์ทสระบุรีมีคอนเซ็บชัดเจนว่า ให้ยาตามโรคไม่ใช่ตามสิทธิ์ ทำให้ทุกสิทธิ์ได้ยาและวิธีรักษาเหมือนๆ กันไม่มีการร้องเรียนอื่นๆ ให้ปวดหัว รวมทั้งไม่มีความยุ่งยากในการนั่งจำยากับสิทธิ์เหมือนกับของเราที่ต้องมานั่งนึกหาวิธีแก้ว่ายานึงมีหลายสิทธิ์แต่ละสิทธิ์ให้ไม่เหมือนกันจะจำกันยังไงดี  แถมเป็นปัญหาต่อยอดไปถึงการเงิน หน่วยงานรายได้ กระทบถึงคนไข้มีการฟ้องร้องเพราะไม่เท่าเทียมกัน ไม่นับปัญหาที่ข้อมูลซับซ้อนจนมีการพลาดต้องมีการตั้งคนมามานั่งรีเช็คนั่งแก้สิ่งที่เกิดขึ้นอีกตลบหนึ่ง แทนที่จะเอากำลังและเวลาไปทำหน้าที่วิชชาชีพตัวเองให้เต็มที่เนอะ แต่แน่นอนว่าเขาเองก็ไม่ใช่จะทำได้ราบลื่นต้องสู้อยู่นานกว่ากรรมการทุกท่านจะยอมรับคอนเซ็บนี้มาได้
  • หน่วยวัดควรทำให้มาตรฐานสากล ทุกคนเข้าใจง่าย ที่สระบุรีจึงตีเป็นเงิน(บาท) แม้แต่งานที่ทำก็ตีค่าแรงแต่ละงานทำให้คนข้างนอกมาก็รู้ปุ๊บว่า เออ เขาทำงานหนักแค่ไหนคุ้มกับค่าแรงที่องค์กรจ่ายหรือเป่า หึๆ (ถ้าไม่คุ้มก็...นะ)
  • "ยอมล้มเหลวในงานทีรักดีกว่าสเร็จในงานที่เกลียด" อันนี้ได้จากห้องน้ำรพ.ครับสะดุดใจดีเลยเอามาแปะอ่านซะ

 

สิ่งที่กลับมาทำครับ

  • เริ่มจากตัวเองก่อน เปิดใจให้มากขึ้น ฟังให้มากขึ้น มองให้มากขึ้น คุยกับคนรอบข้างให้มากขึ้น "ไม่มีใครอยากให้งานตัวเองไม่ดีหรอก"
  • งาน-แจงงานและข้อมูลที่งานของตัวเองมีและจำเป็นต้องใช้รวมทั้งที่ต้องส่งต่อให้หน่วยอื่นใช้ว่ามีอะไรบ้าง พยายามแยกและหาทางส่งให้มีประสิทธิภาพที่สุด "รู้เรา"
  • การสื่อสาร-ทำความเข้าใจให้มากขึ้น พยายามบันทึกสิ่งที่ส่งต่อให้ชัดเจนและมากที่สุดแม้อาจทำให้งานช้าลงบ้าง
  • ข้อมูลข่าวสาร-หาทางเผยแพร่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบโดยไม่เป็นการรบกวนเกินไปและทราบได้ทันเวลา ผมว่าการบอกว่า หน่วยงานแต่ละแห่งมีการปรับปรุงแก้ไขอะไรในงานเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยควรรู้ "รู้เขา"นะ เช่น หากห้องยาเปลี่ยนระบบงานใหม่ อาจจะมีระบบแจกคิวในห้องยาใน ถ้าหน่วยอื่นทราบก็จะได้บอกคนไข้ถูกว่าให้มารับคิวก่อน ถ้าคนไข้รู้ล่วงหน้าจะได้มาถึงรับคิวเลย ไม่ยืนงงหน้าห้องยา ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ทุกคนช่วยได้ และหากทุกหน่วยต่างผ่ายต่างรู้งานซึ่งกันและกันชัดเจน นอกจากช่วยบอกคนไข้ได้แล้ว ยังอาจช่วยเหลือกันและกันได้ถูกจุดมากขึ้นโดยไม่ต้องเสียเวลาไปฟังอธิบายอีกยาวเหยียดว่าอีกฝ่ายทำอะไรบ้าง (หนีไปแย้ว)
  • ยังนึกไอเดียไม่ออกเหมือนกันครับ แม้แต่ข่าวเฉพาะในหน่วยงานที่จะทำให้คนทั้ง 30 กว่าคนรับทราบได้หมดยังงทำไม่ค่อยได้เลย ตอนนี้วิธีที่ดีที่สุดที่นึกได้คือ การให้มีคนรีบผิดชอบส่งข่าวให้ทุกคนทราบและส่งต่อเป็นทอดๆ แบบปากต่อปากน่าจะดีกว่าแจกหนังสือให้ทุึกคนซึ่งเปลืองและเป็นทางการเกินไปแต่ต้องเก็บบันทึกไว้เ็ป็้นเล่มเพื่อให้ค้นดูย้อนหลังได้ครับ เพื่อคนที่ชอบอ่านด้วย (บางคนชอบฟังบางคนชอบอ่าน)
  • Access ที่จะทำใช้เองเห็นภาพชัดว่าอีกหน่อยอาจต้องเชื่อมกับหน่วยงานอื่น ต้องคิดเผื่อไว้หน่อยว่าหากจะเชื่อมต้องกันข้อมูลส่วนไหนไว้หรือต้องเชื่อมกับข้อมูลอื่นอย่างไร และต้องทำให้ข้อมูลเป็นสากลมากขึ้น ที่คิดไว้ เช่น ข้อมูลเบิกสต็อคยาต้องเผื่อห้องยานอกและคลังยาด้วย รวมทั้งอาจทำให้สต็อคยาบนวอร์ดด้วย แทนที่จะคีย์เฉพาะโค้ดที่ห้องยาเท่านั้นที่รู้ก็อาจให้คีย์จากชื่อยาได้แทนด้วย
  • Access คิดค่ายาที่จะทำไว้ใช้ตอนระบบคอมพิวเตอร์มีปัญหา มีคนช่วยต่อยอดจนอยากให้สามารถพิมพ์สติกเกอรวิธีใช้ยา์ออกมาได้ เป็นอะไรที่เกินคาดมากๆ และชักจะกลายเป็นโปรเจคใหญ่ไปแล้วเพราะต้องดึงข้อมูลรายชื่อผู้ป่วยที่คาดว่ามีเป็นหมื่นคนมาใส่ด้วย แถมยังอยากได้ข้อมูลอื่นๆ ตามมาอีกมากมายจนคิดว่าถ้าเอาหมดไม่น่าสำเร็จ ก็จะลองดูกันต่อไปว่าทำได้แค่ไหน
  • หน่วยชี้วัดในงาน ต้องพยายามเปลี่ยนหน่วยสากลให้หมดครับ เพื่อใ้ห้หน่วยงานเราเทียบเคียงกับตลาดเดียวกันได้ง่าย เอาดอลล่าห์ไม่เอากีบ
  • วาดภาพกิ้งกือเตือนใจที่ให้บทเรียนเรา

เท่านี้ก่อนนะขอรับ เฮ่อ พิมพ์จนเมื่อยนิ้วละ ใช้เวลาพิมพ์นาน 47 นาทีโดยไม่ได้ตกแต่ง

อ๋อ สุดท้ายต้องขอบคุณทางรพ.สระบุรีมากๆ ครับที่ให้เข้าไปดูงานอย่างใกล้ชิดมากๆ รวมทั้งท่านรองศิริชัยที่จัดงานนี้ขึ้นมาและทีมงานและทางสถาบันที่ใจป้ำยอมควักเงินให้เกิดงานนี

ถ้ามีงานแบบนี้อีกก็อยากไปมากๆ ครับ สนุกและได้อะไรกลับมามากมาย แฮปปี้หลายๆ ขอรับ้

 

หมายเลขบันทึก: 180484เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2008 03:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาเยี่ยมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท