แทรกด้วยเรื่อง อำลาโทรเลขไทย


หลายคนอาจมองว่าการส่งโทรเลขดูยุ่งยากไปบ้างในสายตาคนยุค "หมู่บ้านโลก" ที่ร้อยรัดด้วยเทคโนโลยีที่ไฮเทคกว่าอย่าง "อินเทอร์เน็ต" แต่สำหรับยุคของมอร์สแล้วต้องถือว่าโทรเลขเป็นช่องทางการสื่อสารที่ฉับไวมาก

 

โทรเลข (telegraph) คือ ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งข้อความจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เดิมส่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกันและอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ ระยะหลังมีการใช้วิธีการส่งไร้สาย ที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (radio telegraph, wireless telegraph หรือ continuous wave ย่อว่า CW)

ระบบโทรเลขพัฒนาและจดสิทธิบัตรในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2380 โดย แซมมอล มอร์ส (Samuel Morse) ในวันที่ 24 พ.ค.2387 มอร์สได้ทดลองใช้ส่งข่าวสารจากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ผ่านสายโทรเลขที่รัฐบาลกลางให้เงินอุดหนุนเชื่อมไปถึงเมืองบัลติมอร์ในมลรัฐแมรีแลนด์ เป็นระยะทางประมาณ 57 กม.

โทรเลขฉบับแรกประกอบด้วยตัวอักษรเพียง 18 ตัว แต่เป็นข้อความประวัติศาสตร์ของวงการโทรคมนาคมคือ "What hath God wrought" (วอต ฮัธ ก็อด รอธ) ที่แปลเป็นไทยว่า "สิ่งต่างๆ ล้วนพระผู้เป็นเจ้ารังสรรค์ขึ้น" ตามคำสอนประโยคหนึ่งในไบเบิล วันนั้นจึงเป็นวันที่ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์

หลักการส่งและรับโทรเลข ในการส่งโทรเลขจะมีหลักการดังนี้ครับคือ เครื่องส่งนี้จะต้องทำการแปลงรหัสจากตัวเลขหรือตัวอักษร แล้วทำการแปลงรหัสไปเป็นรหัสสัญญาณทางไฟฟ้า จากนั้นก็จะส่งไปตามสายสัญญาณ พอไปถึงเครื่องรับ เครื่องรับก็จะทำการรับสัญญาณทางไฟฟ้านั้น มาทำการถอดรหัสทางไฟฟ้าเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรแล้วจึงแปลงสัญญาณโทรเลขให้เป็นข้อความ โดยมีการกำหนดรหัสในโทรเลขไว้ 2 ลักษณะ คือ เคาะแล้วกดไว้ (กดยาว) กับ เคาะแล้วปล่อย (กดสั้น) ซึ่งแทนด้วย - (ขีด) กับ . (จุด) เรียกรหัสที่ใช้ในการส่งโทรเลขว่ารหัส “มอร์ส

รหัสมอร์ส (Morse code) คือวิธีการส่งข้อมูลด้วยการใช้รูปแบบสัญลักษณ์สั้นและยาวที่กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานไว้แล้ว ซึ่งมักจะแทนด้วยเครื่องหมายจุด (.) และเครื่องหมายขีด (-) ผสมกันเป็นความหมายของตัวหนังสือ ตัวเลข และเครื่องหมายพิเศษต่างๆ บางครั้งอาจเรียกว่า CW ซึ่งมาจากคำว่า Continous Wave

 

A ._

B _...

C _._.

D _..

E .

F .._.

G _ _.

 

 

H ….

I ..

J ._ _ _

K _._

L ._..

M _ _

N _.

 

 

O _ _ _

P ._ _.

Q _ _._

R ._.

S …

T _

U .._

 

 

 

V …_

W ._ _

X _.._

Y _._ _

Z _ _..

 

 

 ความเป็นมาของโทรเลขในเมืองไทย จริงๆ แล้วประเทศไทยรู้จักโทรเลขมาตั้งแต่ปี 2404 เมื่อคณะทูตปรุสเซีย (ปรัสเซีย) นำโทรเลขพร้อมบรรณาการมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี ครั้งนั้นคนไทยรู้จักโทรเลขในนาม "ตะแล้ปแก๊ป"

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2412 รัฐบาลสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้อนุมัติให้ชาวอังกฤษ 2 นาย จัดตั้งบริษัทก่อสร้างและบำรุงรักษาทางโทรเลขภายใราชอาณาจักรตามคำเสนอขอแต่การดำเนินงานของบุคคลทั้งสองล้มเหลว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำรัสให้สร้างระบบโทรเลขขึ้นเมื่อปี 2418 ในความดูแลของกระทรวงกลาโหม โทรเลขสายแรกของไทยคือสายกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ระยะทาง 45 กม.เพื่อแจ้งข่าวเรือรบและเรือสินค้าที่ติดต่อกรุงเทพฯ จากแต่เดิมที่ใช้ม้าเร็ววิ่งสารกินเวลาครึ่งวัน แต่โทรเลขทำได้ในครึ่งชั่วโมง ส่วนโทรเลขสายที่สองในอีก 3 ปีถัดมาคือ สายกรุงเทพฯ-บางปะอิน ระยะแรกของโทรเลขไทยใช้เพื่อราชการเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2426 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมโทรเลขขึ้นรับช่วงงานโทรเลขจากกรมกลาโหมมาทำต่อไป ได้เริ่มสร้างทางสายใช้ลวดเหล็กอาบสังกะสีเป็นสายแรกจากกรุงเทพฯ ผ่านปราจีนบุรี กบินทร์บุรี อรัญประเทศ ศรีโสภณ ไปถึงคลองกำปงปลัก ในจังหวัดพระตะบอง (สมัยนั้นยังเป็นของไทย) และเชื่อมต่อกับสายโทรเลขอินโดจีนไปถึงเมืองไซ่ง่อน เป็นสายโทรเลขสายแรกที่ติดต่อกับต่างประเทศ ได้เปิดให้สาธารณะใช้เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2426 ในปีเดียวกันนั้นก็ได้มีประกาศเป็นทางการให้สาธารณชนทั่วไปใช้โทรเลขสาย กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ-อยุธยา ได้ด้วย

พ.ศ. 2440 กรมโทรเลขได้สร้างทางสายกรุงเทพฯ ไปแม่สอด จังหวัดตาก ไปต่อกับทางสายโทรเลขของอังกฤษไปเมืองมะละแหม่ง และย่างกุ้งทางภาคใต้ได้สร้างทางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ ผ่าน เพชรบุรี ชุมพร ทุ่งสง ไปหาดใหญ่ และสงขลา ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ได้สร้างทางสาย่อจากสงขลาออกไปถึงไทรบุรี (เดิมเป็นของเมืองไทย ปัจจุบันเป็นรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย) และกัวลามุดา เชื่อมต่อกับสายโทรเลขของอังกฤษ ไปปีนังและสิงคโปร์ พัฒนามาเรื่อยๆ

จนกระทั้งพ.ศ. 2520 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้โอนส่วนปฏิบัติการให้บริการโทรคมนาคมของประเทศ รวมถึงบริการโทรเลขไปอยู่ในความรับผิดชอบของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งภายหลัง แยกกิจการเป็น 2 บริษัท คือ  บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด  (มหาชน)   ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 และทำการยกเลิกบริการโทรเลข ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

อวสานโทรเลข หลายคนอาจมองว่าการส่งโทรเลขดูยุ่งยากไปบ้างในสายตาคนยุค "หมู่บ้านโลก" ที่ร้อยรัดด้วยเทคโนโลยีที่ไฮเทคกว่าอย่าง "อินเทอร์เน็ต" แต่สำหรับยุคของมอร์สแล้วต้องถือว่าโทรเลขเป็นช่องทางการสื่อสารที่ฉับไวมาก เทียบไม่ได้กับจดหมายที่ใช้เวลาหลายวันกว่าจะถึงมือผู้รับ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและมีการสื่อสารในหลายรูปแบบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ, การChatผ่านอินเทอร์เน็ต, E-Mail โทรเลขจึงมีบทบาทลดน้อยลงไปเมื่อเทียบกับการสื่อสารปัจจุบันในยุคข้อมูลสารสนเทศที่กระแสข้อมูลข่าวสารไหลผ่านอย่างรวดเร็ว การปรับตัวเป็นสิ่งสำคัญ และตอนนี้โทรเลขก็กำลังจะกลายเป็นตำนานไปซะแล้วกับอดีตกว่า 133 ปี แล้วคุณล่ะครับ วันนี้คุณลองส่งโทรเลขถึงคนที่คุณรัก หรือลองส่งถึงตัวเองเพื่อจารึกประวัติศาสตร์ไว้หรือยัง...???

 

อ้างอิงจาก

http://www.thailandpost.com/about_history.asp 

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000048288

http://webboard.mthai.com/5/2008-01-18/365529.html

http://blog.hunsa.com/saranchana6410/blog/8689

 

หมายเลขบันทึก: 179701เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2008 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เสียดายเหมือนกันค่ะ...แต่ส่งไม่ทัน

หากค่าดูแลรักษาระบบไม่มากนัก  น่าจะเอาไว้จังหวัดละ ๑ จุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท