งานวิจัยชิ้นแรกในชีวิตการทำงาน


การเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์ภาษาญ้อของชาวบ้านท่าขอนยาง

        ในที่สุด งานวิจัยที่เราได้ค้างเติ่งมานาน ก็สำเร็จเสร็จสิ้นลงซะที ไม่รู้ทำไมจึงไม่ได้ทำมันซักที คงเป็นเพราะต่างคนก็ต่างยุ่งกับงานที่ได้รับมอบหมาย

        งานวิจัยชิ้นนี้ เรา ในฐานะผู้ร่วมโครงการ ได้ทำร่วมกับ อ้อ (อ.ศรินยา จิตบรรจง) โดยอ้อเป็นหัวหน้างานวิจัยนี้ พวกเราได้เสนอโครงการวิจัยนี้ตั้งแต่ปี 47 แล้ว เป็นโครงการวิจัยของภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากงบประมาณรายได้ ปี 2547 ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

        ช่วงปลายปีที่แล้วคงเป็นฤกษ์ดีที่พวกเราได้เริ่มต้นทำการวิจัย (เรียกว่าต้องไปเก็บข้อมูลใหม่เลยแหละ หลังจากที่เคยไปเก็บแล้วตั้งแต่ปี 47) หลังจากที่เรากลับมาจากการสอนภาษาไทยที่ประเทศจีน ส่วนอ้อ ก็ลาเรียน ป.เอก ทำให้เราทั้งสองเริ่มมีเวลา (ว่าง) ที่จะพูดคุยกัน

        ฝ่ายวิจัยของคณะฯ ให้ Deadline การส่งงาน คือ ภายในสิ้นเดือนมีนาคม 2551 เราเร่งทำกันสุดฤทธิ์ ต่างฝ่ายต่างแบ่งหน้าที่กันทำ จนในที่สุด ก็เสร็จออกมาเป็นเล่ม ทันส่งพอดี๊ พอดี พอเสร็จแล้วเราก็สำเนาเอาไว้คนละเล่ม (เอาไว้เป็นที่ระทึก...เอ๊ย ระลึก 555) เราก็เลยอยากจะนำบทคัดย่อมาเสนอ เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันนะคะ หากท่านใดสนใจข้อมูลมากกว่านี้ ก็สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุดนะคะ

ชื่อเรื่อง            การเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์ภาษาญ้อของชาวบ้านท่าขอนยาง 

                        ตำบลท่าขอนยาง  อำเภอกันทรวิชัย  จังหวัดมหาสารคาม 

ชื่อผู้วิจัย           ศรินยา  จิตบรรจง  และดุษฎี  กองสมบัติ

สังกัด            ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

                        มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

บทคัดย่อ

 

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเสียง  ศัพท์  และ

ความหมายของคำ  ศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาญ้อบ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง  อำเภอกันทรวิชัย  จังหวัดมหาสารคาม  โดยใช้คำที่ภาษาญ้อใช้รูปศัพท์ต่างกับภาษาไทยมาตรฐาน  ภาษาไทยถิ่นอีสาน  และภาษาญ้อ  จำนวน  38  คำ  ทดสอบกับผู้บอกภาษาทั้งชายและหญิง  18  คน  แบ่งเป็น  3  ระดับอายุคือ  ระดับอายุที่  1  ระหว่าง  55 – 65  ปี  ระดับอายุที่  2 ระหว่าง  35 – 45  ปี  และระดับอายุที่  3  ระหว่าง  15 – 25  ปี 

              ผลการศึกษาพบว่า  การเปลี่ยนแปลงด้านเสียงของคำเป็นการเปลี่ยนแปลงชนิดไม่มีข้อจำกัด พบการเปลี่ยนแปลงเสียงพยัญชนะ  สระ  และวรรณยุกต์  การเปลี่ยนแปลงด้านศัพท์พบการเปลี่ยนแปลงโดยการใช้รูปแปรของศัพท์เดิม  และการใช้ศัพท์อื่น  ส่วนการเปลี่ยนแปลงด้านความหมายไม่พบ

                   การใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาญ้อ พบว่าคำที่คนสามระดับอายุใช้เหมือนกันคือใช้ศัพท์เดิมมีครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 50 ศัพท์เดิมที่ผู้บอกภาษาเลิกใช้มีร้อยละ 18.42 ผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 3 มีแนวโน้มที่จะนำศัพท์อื่นมาใช้แทนศัพท์เดิมมากที่สุด คือ ร้อยละ 47.37 ส่วน  ผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 2 ใช้ศัพท์เดิมน้อยที่สุด คือร้อยละ 18.42 ใช้ศัพท์เดิมร่วมกับศัพท์อื่นมากที่สุด คือ ร้อยละ 47.37 และใช้ศัพท์อื่นน้อยกว่าผู้บอกภาษาอีกสองระดับอายุ คือ ร้อยละ 34.42 ในขณะที่ผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 1 ใช้ศัพท์เดิมเท่ากับผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 3 คือ ร้อยละ 21.05 ใช้ศัพท์เดิมร่วมกับศัพท์อื่นเป็นลำดับที่ 2 คือ ร้อยละ 42.11

 

หมายเลขบันทึก: 179694เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2008 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 09:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • แวะมาอ่านบทคัดย่อครับ

เยี่ยมเลยครับ เอามาอีกครับ ต่อไปจะได้มีคนมาติดต่ออาจารย์ อิอิๆๆ

ตอนนี้พอนึกอะไรได้ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ๆ ประจวบเหมาะกับช่วงเวลาที่ไม่รู้จะทำอะไรดี ก็เลยรีบเข้ามาเขียนเอาไว้น่ะค่ะ ก่อนที่จะรู้สึกขี้เกียจซะก่อน :)

  • อย่าเพิ่งขี้เกียจนะครับ
  • คิดว่า ทำความดีให้แผ่นดินครับ
  • ขอบคุณครับ

ดีใจด้วยค่ะ และชื่นชมในผลงานนะคะ จะได้เป็นแรงกระตุ้นคนบางคน (ดิฉันด้วย) ให้รีบทำงานวิจัยให้เสร็จตามแผน หลังจากขยายแล้วขยายอีก อิอิ...จะรออ่านอีกค่ะ สู้สู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท