inter law
วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บทที่ 8 กฎหมายระหว่างประเทศ

อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงศุล ข้อ 61-79


อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงศุล

อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล

ข้อ 61
ความละเมิดมิได้ของบรรณสารและเอกสารทางกงสุล

 

            บรรณสารและเอกสารทางกงสุลของสถานทำการทางกงสุลที่มีหัวหน้าเป็นเจ้าพนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์จะถูกละเมิดมิได้ตลอดเวลา และไม่ว่าจะอยู่  ที่ใดโดยมีเงื่อนไขว่า บรรณสารและเอกสารเหล่านั้นจะต้องแยกเก็บไว้ต่างหากจากกระดาษเอกสารและเอกสารอื่น  และโดยเฉพาะแยกจากหนังสือติดต่อส่วนตัวของหัวหน้าสถานทำการทางกงสุลและของบุคคลใดที่ปฏิบัติงานกับหัวหน้าสถานทำการทางกงสุล และแยกจากวัสดุ หนังสือ หรือเอกสารที่เกี่ยวกับวิชาชีพ

 หรือการค้าของบุคคลดังกล่าว

 

ข้อ 62
การยกเว้นจากอากรศุลกากร

            รัฐผู้รับจะอนุญาตให้นำเข้าและยกเว้นจากอากรศุลกากร ภาษี และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องทั้งปวง นอกจากค่าธรรมเนียมในการเก็บรักษา การขนส่งและบริการที่คล้ายกันตามกฎหมายและข้อบังคับซึ่งรัฐผู้รับอาจกำหนดให้ใช้กับ

สิ่งของดังต่อไปนี้ คือ ตรา ธง แผ่นป้าย ดวงตรา หนังสือ สิ่งพิมพ์ทางราชการ เครื่องเรือนสำนักงาน เครื่องมือสำหรับสำนักงาน และสิ่งของที่คล้ายกันที่จัดส่งโดยหรือตามคำขอของรัฐผู้ส่งให้แก่สถานทำการทางกงสุล โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็น  

สิ่งของเพื่อใช้ในราชการของสถานทำการทางกงสุลที่มีหัวหน้าเป็นเจ้าพนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์

ข้อ 63
การดำเนินคดีอาญา

            ถ้ามีการดำเนินคดีต่ออาญาเจ้าพนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์ เจ้าพนักงานผู้นั้นต้องปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีจะต้องกระทำด้วยความเคารพตามที่เจ้าพนักงานผู้นั้นพึงได้รับโดยเหตุแห่งตำแหน่งทางราชการของเจ้าพนักงานดังกล่าว เว้นแต่เมื่อเจ้าพนักงานดังกล่าวถูกจับกุมหรือกักขัง จะต้องกระทำในลักษณะที่จะ

ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุลให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อมีความจำเป็นที่จะกักขังเจ้าพนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์ การดำเนินคดีต่อเจ้าพนักงานผู้นั้นจะต้องกระทำโดยใช้เวลาน้อยที่สุด

ข้อ 64
การคุ้มครองเจ้าพนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์

            รัฐผู้รับมีหน้าที่ให้การคุ้มครองที่อาจจำเป็นแก่เจ้าพนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์โดยเหตุแห่งตำแหน่งทางราชการของเจ้าพนักงานดังกล่าว


ข้อ 65
การยกเว้นการจดทะเบียนคนต่างด้าวและใบอนุญาตถิ่นที่อยู่

            เจ้าพนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์จะได้รับยกเว้นจากข้อผูกพันทั้งปวงตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการจดทะเบียนคนต่างด้าวและใบอนุญาตถิ่นที่อยู่ ยกเว้นเจ้าพนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์ซึ่งประกอบกิจกรรมทางวิชาชีพหรือทางพาณิชย์ในรัฐผู้รับเพื่อผลกำไรส่วนตัว

ข้อ 66
การยกเว้นจากการเก็บภาษี

            เจ้าพนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์จะได้รับยกเว้นจากภาษีอากรทั้งปวงที่เรียกเก็บจากค่าตอบแทนและค่าบำเหน็จที่ได้รับจากรัฐผู้ส่งในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล

ข้อ 67
การยกเว้นจากการให้บริการและให้ส่วนบำรุงส่วนบุคคล

            รัฐผู้รับจะยกเว้นให้กับเจ้าพนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์จากการให้บริการส่วนบุคคลทั้งปวงจากการให้บริการสาธารณะทั้งปวงไม่ว่าชนิดใดก็ตาม และจากพันธะทางทหาร เช่น พันธะที่เกี่ยวกับการเรียกเกณฑ์ ส่วนบำรุง และการเรียกเอาที่อยู่เพื่อการทหาร

ข้อ 68
ลักษณะการให้เลือกได้ของสถาบันเจ้าพนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์

            แต่ละรัฐมีเสรีที่จะวินิจฉัยว่าจะแต่งตั้งหรือรับเจ้าพนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์หรือไม่

หมวด 4
บทบัญญัติทั่วไป
ข้อ 69
ตัวแทนทางกงสุลซึ่งมิได้เป็นหัวหน้าสถานทำการทางกงสุล

            1. แต่ละรัฐมีเสรีที่จะวินิจฉัยว่าจะตั้งหรือยอมรับสำนักตัวแทนทางกงสุล ที่ดำเนินการโดยตัวแทนทางกงสุลซึ่งรัฐผู้ส่งมิได้แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าสถานทำการทางกงสุล
            2. เงื่อนไขที่สำนักตัวแทนทางกงสุลที่อ้างถึงในวรรค 1 ของข้อนี้อาจดำเนินกิจกรรม และเอกสิทธิและความคุ้มกันที่ตัวแทนทางกงสุลที่รับผิดชอบสำนักตัวแทนทางกงสุลนั้นอาจจะอุปโภคจะกำหนดโดยความตกลงระหว่างรัฐผู้ส่งกับ

รัฐผู้รับ

ข้อ 70
การปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุลโดยคณะผู้แทนทางฑูต

            1. บทบัญญัติของอนุสัญญานี้ใช้กับการปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุลโดยคณะผู้แทนทางฑูตด้วย เท่าที่จะใช้ได้
            2. ให้แจ้งชื่อของสมาชิกในคณะผู้แทนทางฑูตซึ่งได้รับมอบหมายให้อยู่ในแผนกกงสุล หรือรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุลของคณะผู้แทนนั้นไปยังกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับหรือไปยังเจ้าหน้าที่ที่กระทรวงนั้นกำหนด

            3. ในการปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล คณะผู้แทนทางฑูตอาจติดต่อกับ

            (เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของเขตกงสุล
            (เจ้าหน้าที่ส่วนกลางของรัฐผู้รับ ถ้ากฎหมาย ข้อบังคับ และประเพณีปฏิบัติของรัฐผู้รับหรือความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องอนุญาตให้กระทำได้
            4. เอกสิทธิและความคุ้มกันของสมาชิกในคณะผู้แทนทางฑูตที่อ้างถึงในวรรค 2 ของข้อนี้ จะยังคงอยู่ภายใต้บังคับของกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางฑูต

ข้อ 71
คนชาติหรือผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรของรัฐผู้รับ

            1. เว้นแต่ความสะดวก เอกสิทธิและความคุ้มกันเพิ่มเติมเท่าที่รัฐผู้รับจะให้ เจ้าพนักงานกงสุลซึ่งเป็นคนชาติ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรของรัฐผู้รับจะอุปโภคเฉพาะความคุ้มกันจากเขตอำนาจและความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในทางราชการซึ่งกระทำในการปฏิบัติหน้าที่และเอกสิทธิที่ได้บัญญัติไว้ในวรรค 3 

ของข้อ 44 ในส่วนที่เกี่ยวกับเจ้าพนักงานกงสุลเหล่านี้ รัฐผู้รับจะผูกพันตามพันธะที่กำหนดในข้อ 42 เช่นเดียวกันถ้ามีการดำเนินคดีอาญาต่อเจ้าพนักงานกงสุลเช่นว่านั้น การดำเนินคดีนั้นจะต้องกระทำในลักษณะที่จะขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุลให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เว้นแต่เมื่อเจ้าพนักงานกงสุลดังกล่าวถูกจับกุมหรือกักขัง
            2. สมาชิกในสถานทำการทางกงสุลอื่นซึ่งเป็นคนชาติหรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรของรัฐผู้รับ และสมาชิกในครอบครัวของบุคคลดังกล่าวตลอดจนสมาชิกในครอบครัวของเจ้าพนักงานกงสุลที่อ้างถึงในวรรค 1 ของข้อนี้ จะอุปโภคความสะดวก

เอกสิทธิและความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับให้แก่บุคคลดังกล่าว สมาชิกในครอบครัวของสมาชิกในสถานทำการทางกงสุลและสมาชิกในคณะคนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเป็นคนชาติหรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรของรัฐผู้รับจะอุปโภคความสะดวก เอกสิทธิและความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับให้แก่บุคคลดังกล่าวเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับจะต้องใช้อำนาจเหนือบุคคลเหล่านั้นในทางที่จะไม่

ก่ออุปสรรคโดยไม่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสถานทำการทางกงสุล

ข้อ 72
การไม่เลือกปฏิบัติ

            1. ในการใช้บทบัญญัติของอนุสัญญานี้ รัฐผู้รับจะไม่เลือกปฏิบัติระหว่างรัฐ
            2. อย่างไรก็ดี ไม่ถือว่ามีการเลือกปฏิบัติ
            (เมื่อรัฐผู้รับใช้บทบัญญัติข้อใดของอนุสัญญานี้อย่างจำกัดเพราะมีการใช้บทบัญญัตินั้นอย่างจำกัดแก่สถาน

ทำการทางกงสุลของรัฐผู้รับในรัฐผู้ส่ง
            (เมื่อตามจารีตประเพณีหรือความตกลง รัฐต่าง  ให้ผลปฏิบัติแก่กันและกันที่เป็นการอนุเคราะห์มากกว่าที่

บทบัญญัติของอนุสัญญานี้กำหนด

ข้อ 73
ความสัมพันธ์ระหว่างอนุสัญญานี้กับความตกลงระหว่างประเทศอื่น

            1. บทบัญญัติของอนุสัญญานี้จะไม่กระทบกระเทือนต่อความตกลงระหว่างประเทศอื่นที่ใช้บังคับระหว่างรัฐภาคีแห่งความตกลงดังกล่าว
            2. ไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้ที่จะขัดขวางรัฐในการทำความตกลงระหว่างประเทศ เพื่อยืนยันหรือเพิ่มเติม

หรือขยายบทบัญญัติของอนุสัญญานี้

หมวด 5
บทบัญญัติสุดท้าย

ข้อ 74
การลงนาม

            อนุสัญญานี้จะเปิดให้ลงนามโดยรัฐสมาชิกทั้งปวงของสหประชาชาติหรือของทบวงการชำนัญพิเศษหรือภาคี

แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและโดยรัฐอื่นใดที่สมัชชาสหประชาชาติเชิญให้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ดังนี้ 

จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม ..1963  กระทรวงการต่างประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐออสเตรีย และต่อจากนั้นจนถึงวันที่ 31 มีนาคม .. 1964  สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนครนิวยอร์ก

ข้อ 75
สัตยาบัน

            อนุสัญญานี้จะต้องได้รับการสัตยาบัน สัตยาบันสารจะต้องมอบไว้กับเลขาธิการสหประชาชาติ

ข้อ 76
ภาคยานุวัติ

            อนุสัญญานี้จะยังคงเปิดให้ภาคยานุวัติโดยรัฐใด ที่อยู่ในประเภทหนึ่งประเภทใดในสี่ประเภทที่ระบุไว้ในข้อ 74 ภาคยานุวัติสารจะต้องมอบไว้กับเลขาธิการสหประชาชาติ

 

ข้อ 77
การมีผลใช้บังคับ

            1. อนุสัญญานี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่สามสิบต่อจากวันมอบสัตยาบันสารหรือภาคยานุวัติสารฉบับที่ยี่สิบสองไว้กับเลขาธิการสหประชาชาติ
            2. สำหรับแต่ละรัฐที่สัตยาบันหรือภาคยานุวัตินี้หลังจากการมอบสัตยาบันสารหรือภาคยานุวัติสารฉบับที่ยี่สิบสองแล้ว อนุสัญญานี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่สามสิบหลังจากการมอบสัตยาบันสารหรือภาคยานุวัติสารของรัฐเช่นว่านั้น

 

ข้อ 78
การแจ้งโดยเลขาธิการ

            เลขาธิการสหประชาชาติจะแจ้งให้รัฐทั้งปวงที่อยู่ในประเภทหนึ่งประเภทใดในสี่ประเภทที่ระบุไว้ในข้อ 74 ทราบถึง
            (การลงนามอนุสัญญานี้และการมอบสัตยาบันสารหรือภาคยานุวัติสารตามข้อ 74 75 และ 76
            (วันที่อนุสัญญานี้จะมีผลใช้บังคับตามข้อ 77

 

ข้อ 79
ตัวบทที่ถูกต้อง

            ต้นฉบับของอนุสัญญานี้ซึ่งตัวบทภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศลภาษารัสเซีย และภาษาสเปน มีความถูกต้องเท่าเทียมกัน จะมอบไว้กับเลขาธิการสหประชาชาติผู้ซึ่งจะส่งสำเนาที่ได้รับรองแล้วไปยังรัฐทั้งปวงที่อยู่ในประเภทหนึ่ง
ประเภทใดในสี่ประเภทที่ระบุไว้ในข้อ 74
            เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้มีอำนาจเต็มซึ่งลงนามข้างท้าย โดยได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องเพื่อการนี้จากรัฐบาลของตน ได้ลงนามอนุสัญญานี้
            ทำ  กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ ยี่สิบสี่ เมษายน คริสตศักราชหนึ่งพันเก้าร้อยหกสิบสาม

 

ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งทำเมื่อวันที่ 24 เมษายน .. 2506 เพื่อให้สอดคล้องกับประเพณีปฏิบัติในนานาอารยประเทศ ในการนี้ จะต้องมีกฎหมายเพื่ออนุวัตการให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ  ดังกล่าว  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

 


  -----------------------------------------------------------


หมายเหตุ:-  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญากรุงเวียนนา

หมายเลขบันทึก: 179557เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2008 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท