inter law
วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บทที่ 8 กฎหมายระหว่างประเทศ

การรุกราน


การรุกราน

การรุกราน

การรุกราน (AGGRESSION)

การพิจารณา ความหมาย  "การรุกราน" ในกฎหมาย ระหว่างประเทศ หรือ การสงครามนั้น ทำได้ยากมาก ทั้งนี้ มีเหตุผล อยู่หลายประการ เช่น คำว่า การรุกราน ตามความรู้สึก ของคนทั่วไป มักจะเห็นว่า การรุกราน เป็นการกระทำ ที่ไม่ยุติธรรม เพราะ เป็นการข่มเหง รัฐอื่น หรือบุคคลอื่น แต่การรุกราน อาจจะเกิดขึ้น เพื่อความเป็นธรรม ก็ได้เช่นกัน จึงเกิด ความยากลำบาก ในการที่จะ วินิจฉัย ความหมาย อีกประการหนึ่ง รัฐมีสิทธิในการป้องกันตนเอง และในการป้องกันตนเองนั้น อาจจะกระทำได้ 2 แบบ คือ ต่อสู้ ป้องกัน เมื่อรัฐอื่น คุกคาม และโจมตี รัฐอื่น เพื่อป้องกันตัว พฤติการณ์อย่างไร จึงจะเรียกว่า เป็นการรุกราน จะระบุ ใช้แน่ชัด และถูกต้อง ทำได้ยากเป็นอย่างยิ่ง

นักกฎหมาย ระหว่างประเทศ ก็ได้พยายาม ที่จะให้คำนิยาม ของคำว่า การรุกราน ดังเช่น เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1933 คณะกรรมการ ลดอาวุธ ของสันนิบาตชาติ ได้ให้คำนิยาม ของการรุกรานว่า รัฐที่ลงมือ กระทำการ อย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ดังต่อไปนี้ ถือว่า เป็นการรุกราน คือ

1.ประกาศสงครามกับรัฐอื่น

2.ใช้กำลังทหาร รุกเข้าไป ในดินแดน ของรัฐอื่น โดยจะ ประกาศสงคราม หรือไม่ก็ตาม

3.ทำการโจมตีดินแดน เรือ หรืออากาศยานของรัฐอื่น

4.ทำการปิดทะเล หรือท่าเรือของรัฐอื่น

5.การ สนับสนุน กำลังทหาร ของรัฐ ที่บุกเข้าไป ในรัฐอื่น หรือไม่ทำการป้องกัน การสนับสนุน ดังว่านั้น

                                          

ตามคำนิยามนี้ จะเห็นได้ว่า การรุกราน มีความหมายกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสายตา ของผู้ถูกรุกราน เพราะได้ระบุพฤติกรรมต่างๆ ไว้เป็นอันมาก

               หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 คณะกรรมการ ร่างกฎหมาย ระหว่างประเทศ ขององค์การ สหประชาชาติ ก็หยิบยก คำนิยาม ของคำว่า การรุกราน มาพิจารณา โดยแบ่งประเด็น ออกเป็น 2 ประเด็น คือ ควรจะนิยาม เป็นถ้อยคำทั่วๆ ไป หรือ ควรจะระบุ การกระทำ เป็นข้อๆ คณะกรรมการดังกล่าว ตกลงกันว่า การระบุ การกระทำ แต่ละอย่างนั้น ใช้ไม่ได้ เพราะไม่สามารถ จะระบุได้ทั้งหมด แต่บทนิยามทั่วๆ ไปก็ยังทำไม่สำเร็จ อย่างไรก็ดี ในมาตรา 2 ของร่าง ประมวลกฎหมาย ว่าด้วย ความผิด ฐานละเมิด ความสงบ เรียบร้อย ที่คณะกรรมการ ได้ร่างขึ้น ได้ระบุถึง การกระทำ อันเป็นการรุกราน โดยมิได้ใช้ คำนิยามว่า การรุกราน คืออะไร เพียงแต่กล่าวไว้ว่า

 

          การรุกราน ให้รวมถึง การระทำ บางอย่าง ซึ่งอาจโต้แย้งได้ เช่น การคุกคามว่า จะทำการรุกราน การเตรียมการ ใช้กำลังอาวุธ หรือ การก่อความวุ่นวาย ให้แก่รัฐอื่น และการรุกราน ไม่รวมถึง การป้องกันตัว โดยส่วนรวม หรือการกระทำ โดยมติ ของสหประชาชาติ 

ตามที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า ความหมาย ของการรุกรานนั้น ยังไม่เป็นที่ยอมรับ หรือตกลงกัน โดยทั่วไป ประเทศต่างๆ มักจะมีความเห็น ขัดแย้งเสมอ อย่างไรก็ดี ความหมาย ที่น่าจะรัดกุม และยอมรับ กันอย่างกว้างขวาง คือ การรุกราน หมายถึง กรณีที่ ประเทศหนึ่ง ใช้กำลังทหาร เข้าปฏิบัติการ อันละเมิด ต่อข้อผูกพัน ระหว่างประเทศ ทำอันตราย ต่ออำนาจอธิปไตย และบูรณภาพ แห่งดินแดน ของอีกประเทศหนึ่ง

การกระทำ ที่เป็นการรุกราน อันปรากฏ ที่ชัดแจ้ง เช่น กรณีอิตาลี รุกราน เอธิโอเปีย เมื่อปี ค.ศ.1935 เยอรมัน รุกราน โปแลนด์ เมื่อปี ค.ศ.1939 เยอรมัน รุกรานนอร์เวย์ เดนมาร์ก เมื่อปี ค.ศ.1940 และคราวญี่ปุ่น โจมตี เพิล ฮาร์เบอร์ ฐานทัพเรือ อเมริกัน ที่ฮาวาย เมื่อปี ค.ศ.1941 เป็นต้น อย่างไรก็ดี การรุกราน แต่ละครั้ง ประเทศผู้รุกราน มักจะไม่ยอมรับว่า ตนรุกราน แต่มักอ้างว่า เป็นการกระทำ เพื่อป้องกันตนเอง (self defensc) ซึ่งการป้องกันตนเอง กับการรุกรานประเทศอื่น มีความหมาย คาบเกี่ยวกัน อย่างใกล้ชิด และกฎหมาย ระหว่างประเทศ ถือว่า รัฐมีสิทธิ ที่จะป้องกันตนเองได้ รัฐจึงมักจะอ้างสิทธิ ป้องกันตนเองเสมอ เมื่อตนเข้าสู่สงคราม หรือรุกราน ประเทศอื่น ทั้งๆ ที่ กฎหมาย ระหว่างประเทศ มิได้ห้ามไว้ แต่กฎหมาย ระหว่างประเทศ ห้ามการรุกราน ซึ่งเป็นเรื่องประหลาด นอกจากนี้ กฎหมาย ระหว่างประเทศ มิได้กำหนดว่า สถานการณ์ใดบ้าง ที่รัฐ จะใช้สิทธิป้องกันตนเองได้ เพียงแต่ กล่าวว่า รัฐมีสิทธิ ที่จะป้องกันตนเองได้เท่านั้น

กรณี ที่อ้างว่า เป็นการใช้สิทธิ ป้องกันตัวเอง แต่อีกแง่หนึ่ง ถือว่า เป็นการรุกราน มีอาทิ ในปี ค.ศ.1807 ซึ่งเป็นระยะ ที่เกิดสงคราม นโปเลียน ในยุโรป อังกฤษ สืบทราบว่า เดนมาร์ค มีสนธิสัญญา กับฝรั่งเศส ยอมให้ฝรั่งเศส ใช้เรือเดนมาร์คได้ ในการต่อต้านอังกฤษ อังกฤษ รู้สึกว่า ตนเป็นอันตราย เพราะขณะนั้น ตนกำลัง ทำสงคราม กับฝรั่งเศส อังกฤษ จึงขอให้เดนมาร์ค มอบกองเรือ ให้ตน เดนมาร์คปฏิเสธ อังกฤษ จึงส่งกำลังของตน เข้าไปยึด กองเรือเดนมาร์ค ในท่า กรุงโคเปนเฮเกน โดยอ้างว่า เป็นการกระทำ เพื่อป้องกันตนเอง หรือกรณี The Amelia Island ซึ่งเป็นเกาะ ปากแม่น้ำ St.Marys river อันเป็นดินแดน ของสเปน พวกสลัด ได้ใช้เกาะนี้ เป็นที่ซุ่มซ่อน และออกรังควาญ เรือสินค้า และทำลาย เรือสินค้า ของอเมริกา อยู่เสมอ สหรัฐ เห็นสเปน ไม่จัดการปราบปราม จึงส่งกองทหาร เข้าไปปราบปราม พวกสลัด ในเกาะนี้ เสียเอง ทั้งๆ ที่ เกาะนั้น เป็นดินแดน ของสเปน แต่สหรัฐ อ้างว่า กระทำไป เพื่อป้องกันตนเอง

กรณี ดังตัวอย่าง นอกจาก จะเป็นการป้องกันตนเองแล้ว ยังถือได้ว่า เป็นการรุกราน ได้อีกแง่หนึ่ง เพราะ เป็นการกระทำ ที่คุกคาม อำนาจอธิปไตย ของรัฐอื่น เมื่อจัดตั้ง องค์การสหประชาชาติขึ้น กฎบัตรสหประชาชาติ ได้รับรอง สิทธิ ป้องกันตนเอง แต่ได้กำหนด ขอบเขต จำกัด การใช้สิทธินี้ ไว้ในวงแคบ กล่าวคือ จะใช้ได้ใน กรณี เกิดการโจมตี โดยกำลังอาวุธ (armed attack) เท่านั้น กรณีอื่นๆ จะใช้สิทธิ ป้องกันตนเองมิได้ กรณีอังกฤษ ยึดเรือเดนมาร์คเมื่อปี ค.ศ.1807 จึงเป็นการกระทำ ที่ผิด และถือว่า เป็นการรุกราน เพราะในขณะนั้น ยังไม่มีการโจมตีอังกฤษ แต่อย่างใด

 

หมายเลขบันทึก: 179508เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2008 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท