ศิลปินพื้นบ้านอีสาน Gotoknow


เชิดชูเกียรติ ศิลปินพื้นบ้านอีสานประจำปี 2551

        ศิลปินพื้นบ้าน หุ่นกระบอกอีสาน  นายสังวาลย์ ผ่องแผ้ว  เป็นชาวบ้านหนองเรือ ตำบลหนองเรือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น จบการศึกษาศุงสุดชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  เป็นศิลปินเล่นหนังตะลุงมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่อายุ 11 ขวบ ได้ฝึกฝนซออู้จนชำนาญพร้อมทั้งเป่าแคนด้วย เมื่อายุ 18 ปีหันมาเป็นผู้พากย์หนังตะลุงคู่กับพี่ชายที่เป็นหัวหน้าคณะหนังตะลุงอีสานอยู่หลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2532 หนังตะลุงเริ่มลดความนิยมลง จึงหันมาทำการแสดงหุ่นกระบอกอีสาน โดยได้แนวคิดมาจากคณะหุ่นกระบอกภาคกลาง จึงร่วมกับพี่ชายจัดตั้งคณะหุ่นกระบอกภาคอีสานขึ้นเป็นคณะ และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วภาคอีสาน จนมีชื่อเสียงและได้รับเชิญไปแสดงในงานระดับชาติหลายครั้ง

     จากเกียรติคุณความสามารถในการสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง และเผยแพร่สืบสานให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอีสานจนที่ประจักษ์และยอมรับจากสาธารณชน นายสังวาลย์ ผ่องแผ้ว จึงได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินพื้นบ้านอีสานประจำปี 2551 จากสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ต่อท้องถิ่นอีสานและประเทศชาติสืบไป

  

     ศิลปินพื้นบ้าน เพลงอีสานใต้ นายจันดี หิงทอง (สัญญา สุริยัน)  เป็นชาวบ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จังวัดสุรินทร์ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยระบบการศึกษานอกโรงเรียน ใช้ความวิริยะ อุตสาหะ ฝึกฝนการขับร้องเพลงด้วยตนเองจนสามารถได้รับรางวัลจากการประกวดหลายครั้ง มีความสามารถในการเล่นดนตรีไทยหลายชนิด มีความอัจฉริยะในการประพันธ์ให้กับนักร้องหลายคน จนมีชื่อเสียงโด่งดัง เช่น ยิ่งยง ยอดบัวงาม เอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่สะท้อนผ่านบทเพลงของ นายจันดี หิงทอง คือการสื่อให้ผู้ฟังได้เห็นคุณค่าของวิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน การสู้ชีวิตและการให้กำลังใจผู้ด้อยโอกาส นอกจากนี้นายจันดี หิงทอง ยังเป็นผู้มีความประพฤติดี มีความเห็นอกเห็นใจผู้ยากไร้ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมอยู่เสมอ

      จากเกียรติคุณที่ได้สร้างสรรค์ผลงานในด้านสื่อสร้างสรรค์ประเภทเพลงพื้นบ้าน จนเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับนับถือจากประชาชนและสังคมทั่วไป นายจันดี หิงทอง จึงได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินพื้นบ้านอีสานประจำปี 2551 จากสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ต่อท้องถิ่นอีสานและประเทศชาติสืบไป

หมายเลขบันทึก: 178908เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2008 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ

น่าชื่นชม และให้กำลังใจครับ

ขอบคุณท่านP มากครับที่มาร่วมให้กำลังใจ

คนบ้านภูมิโปน เหมือนกันครับ

เขาเป็นฮีโร่ เป็นความภาคภูมิใจของหมู่บ้านครับ

ปู จันดี ! สู้เด้อบาด

ขอชื่นชมด้วยคนค่ะ

สิ่งดีๆมีคุณค่าในอืสานและประเทศไทยมีมากมาย น่าอนุรักษ์ไว้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อยากได้เบอร์ ติดต่อ ของหุ่นกระบอกอีสานนะ่ค่ะ

รบกวนส่งมาที่เมล์น่ะค่ะ

จรัส เมืองร้อยเอ็ด

ผมได้เบิ่งหุ่นกระบอกอิสานแล้ว รู้สึกมักหลายเด้อครับ ขอบคุณที่ซอยฮักษาวัฒธรรมดีๆไว้เด้อครับ

ผมได้เบิ่งหุ่นกระบอกอิสานแล้ว รู้สึกมักหลายเด้อครับ ขอบคุณครับที่ซอยฮักษาไว้

ดีมากเลยครับเยี่ยมผมทำรายงานได้เลยขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท