สมานฉันท์
มูฮัมมัด วรนันท์ รอมฎอน บุนนาค

มาบตาพุด โศกนาฏกรรมที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ามินามาตะ


หลายคนคงพอทราบว่าเมื่อญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงสู่ยุคอุตสาหกรรม อ่าวมินามาตะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลสาปชิรานุย มีบริษัทชื่อชิสโสะ ตั้งโรงงานเมื่อ พ.ศ. 2461มีบทบาทผลิตสารเคมี และ ปี พ.ศ. 2499พบผู้วยรายแรกมีอาการทางประสาทโดยไม่ทราบสาเหตุ ปายมือและเท้าไม่มีความรู้สึก เคลื่อนไหวไม่ได้ ม่านตาแคบ มีปัญหาในการฟัง เกิดอาการชาทั้งตัว และเสียชีวิตในที่สุด จนแพทย์พบว่าโรคนี้เกิดจากการปนเปื้อนสารปรอทอินทรีย์ในแหล่งน้ำ มีคนตายจากโรคนี้เป็นแสนคน ส่งผลกระทบระบบนิเวศน์ ห่วงโซ่อาหาร พืชและสัตว์น้ำล้มตาย สารปรอทเข้าไอยู่ในสัตว์น้ำ โรคนี้แพทย์เรียกว่าโรคมินามาตะ ส่งผลกระทบอาชีพ ชาวบ้านทำประมงไม่ได้อีกเลย คนภายนอกไม่คบค้าสมาคมกับคนในเมืองมินามาตะเพราะเข้าใจว่าเป็นโรคติดต่อ ไม่มีการแต่งงาน ไม่คบค้าสมาคมเป็นเวลายาวนาน

        ที่มินามาตะทุกอย่างเกิดขึ้นท่ามกลางการต่อสู้อันแสนเจ็บปวดทรมานของผู้คนจำนวนเรือนแสนที่รับชะตากรรมโรคนี้ เมื่อย้อนมามองที่เมืองไทยมีหลายพื้นที่ที่อยู่ในชะตากรรมเช่นเดียวกับชาวมินามาตะ โดยเฉพาะที่ อ. มาบตาพุด จ.ระยอง แหล่งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนับหมื่นๆไร่ เกิดขึ้นมา 25 ปีแล้ว(พ.ศ.2526) คนในสังคมไทยคงได้ยิยเสียงเรียกร้องจากชาวบ้านที่ อ. มาบตาพุด ที่ดังขึ้นมาเป็นระยะๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 มาจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ที่ประจักษ์แก่สายตาส่วนรวมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ กรณีนักเรียนโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จำนวนหลายร้อยคน ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจนต้องย้ายโรงเรียนออกไปจากพื้นที่ เมื่อปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา  จนถึงทุกวันนี้ชาวบ้านหลายหมื่นคนกำลังทุกข์ร้อนอย่างสาหัส โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพที่ชาวบ้านต้องเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ทั้งยังมีปัญหาสังคม ยาเสพติด เยาวชน และแรงงานจากที่ต่างๆมาอยู่รวมกัน การเคลื่อนไหวต่อสู้ในเรื่องนี้ไม่แตกต่างจากมินามาตะ ชาวบ้านมีการรวมตัวประท้วง หากผลที่ได้กลับเป็นการปิดบังแฝงเร้นข้อเท็จจริงเมื่อบริษัทต่างๆไม่ยอมรับผิดชอบกับผลความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยมีภาครัฐคอยสนับสนุนและในส่วนของทางการแพทย์เองที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าจะหาข้อสรุปได้ว่าสารปนเปื้อนที่พบที่ส่งผลร้ายแรงกับสุขภาพของประชาชน ที่เกิดจากการปล่อยน้ำทิ้งแบบไม่บำบัดเต็มไปด้วยสารเคมีอันตราย นี่เป็นความทุกข์ทรมานของประชาชนไทย ชาวมาบตาพุด จำนวนเรือนแสนต้องตกเป็นเหยื่อยของการพัฒนาประเทศ แบบไร้การมองทิศทางอย่างรอบด้าน เมื่อรัฐและทุนยังมุ่งแต่จะวัดคุณค่าของความเจริญอยู่แค่เพียงตัวเลขจาก gdpเป็นที่ตั้ง โดยไม่ใส่ใจถึงผลกระทบทางคุณภาพชีวิตของประชาชนที่จะตามมา เราต้องร่วมมือกันเปิดเผยข้อเท็จจริงสู่สังคมวงกว้าง  กระตุ้นให้รัฐและทุนต้องรับผิดชอบกับความเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับประชาชน เร่งตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมทุกๆด้าน ผลักดันให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่ อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ ผู้ว่าราชการจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด หน่วยแพทย์สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมภาค และที่สำคัญประชาชนต้องรวมตัวกันศึกษาบทเรียนมินามาตะ เพื่อไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นเหมือนชาวมินามาตะ เพราะนี่คือบทเรียนราคาแพงที่แลกด้วยชีวิตและความทุกข์ทรมาน

หมายเลขบันทึก: 178858เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2008 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท