ไปดูชาวนาสุพรรณฯ รักษาพันธุ์ข้าว (3)


2.การคัดข้าว

หลังจากผ่านการกระเทาะเปลือกแล้ว นำข้าวกล้องที่ได้มาทำการคัดให้ได้ลักษณะข้าวกล้องตรงตามชนิดพันธุ์ รูปร่าง ขนาดเมล็ด ไม่มีร่องรอยความเสียหายจากการทำลายของโรคแมลง เมล็ดข้าวกล้องที่คัดเลือกแล้วจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพอย่างละเอียดทุกเมล็ด

อุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดข้าว ได้แก่ ปากคีบ แว่นขยาย ถุงซิบ ปากกาเคมี เป็นต้น และที่สำคัญต้องมีแสงสว่างเพียงพอ

 

ภาพที่ 3 แสดงการคัดข้าวกล้อง

ลักษณะของข้าวกล้องที่ดี ประกอบด้วย

    1. สีของข้าวกล้องตรงตามพันธุ์ เช่น สีขาว สีแดง สีดำ

    2. ชนิดพันธุ์ เป็นข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว ข้าวเจ้าข้าวกล้องจะมีสีขาวใส กรณีที่เป็นข้าวเหนียวข้าวกล้องจะมีสีขาวขุ่น ยกเว้นพันธุ์ที่มีสีต่างๆ เช่น มะลิแดงข้าวกล้องสีแดงภายในเมล็ดใส ถ้าเป็นข้าวเหนียวดำ ข้าวกล้องจะมีสีดำภายในเมล็ดขาวขุ่น เป็นต้น

    3. รูปร่างและขนาดของเมล็ด เรียวยาว หัวท้ายเมล็ดเท่ากัน หรือ ข้าวพันธุ์เมล็ดสั้นก็จะต้องเลือกเมล็ดที่มีลักษณะสั้นให้เหมือนลักษณะประจำพันธุ์ของพันธุ์นั้นๆ

    4. ลักษณะเมล็ดต้องไม่บิดเบี้ยว งอ แตกร้าว ควรเลือกเมล็ดที่มีผิวตึง มันวาว และไม่เป็นเชื้อรา

    5. จมูกข้าวเล็กและไม่หลุดจากเมล็ดข้าวกล้อง

    6. ไม่มีท้องไข่ หรือท้องปลาซิว

ภาพที่ 4 แสดงเมล็ดข้าวกล้องก่อนคัด

ภาพที่ 5 แสดงเมล็ดข้าวกล้องหลังคัด

เอกสารอ้างอิง

เอกสารประกอบการฝึกอบรม. 2550.การทำนาอินทรีย์ มูลนิธิข้าวขวัญ สุพรรณบุรี .40น.

วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ.2550.ข้าว พันธุ์เพื่อสุขภาพบำบัดโรค โภชนาการ.ฉบับที่ 6/2550.

มูลนิธิข้าวขวัญ e-mail : [email protected]  โทรศัพท์/โทรสาร 035 597193

หมายเลขบันทึก: 178442เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2008 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท