สถานการณ์ด้านไอซีทีในสังคมไทย (ต่อ)


แนวทางการแก้ไขปัญหา เช่น การให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนในด้านต่างๆ , การเลิกใช้มาตรการปิดกั้น ด้วยการบล็อก (Block) เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก เพราะไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่จะใช้กับเด็กรุ่นใหม่ในทุกวันนี้ได้

สรุปสถานการณ์ในแต่ละด้าน

            ๑. สถานการณ์ด้านผู้ใช้

                        ๑.๑     รูปแบบการใช้งาน : การสนทนาออนไลน์, การสร้างเว็บบล็อก, การใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อการศึกษา

                  ๑.๒   อายุของผู้ใช้งาน : มีอายุลดน้อยลง (เด็กใช้งานเป็นจำนวนมาก)

                  ๑.๓   ความทั่วถึง : การกระจายตัวด้านการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตยังไม่สูง ยังกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองเป็นส่วนใหญ่

            ๒.  สถานการณ์ด้านเทคโนโลยี

                  ๒.๑   ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน

                  ๒.๒   ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซอฟท์แวร์

            ๓. สถานการณ์ด้านกฎหมาย

                  ๓.๑   วิธีการแก้ปัญหาโดยใช้จริยธรรม (Norm) มากกว่าการออกกฎหมาย

                  ๓.๒   ข้อจำกัดของกฎหมายคือ โครงสร้างพื้นฐานที่จะต้องมีรองรับ ภายหลังจากการออกกฎหมายแต่ละฉบับ (ในปัจจุบันที่เกิดปัญหาเนื่องจากขาดโครงสร้างฯ ทำให้กฎหมายไม่สามารถช่วยอะไรได้มาก)

                  ๓.๓   ความล้าหลังของกฎหมายบางฉบับ

                  ๓.๔   ต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย เพราะกฎหมายไม่สามารถแก้ไขปัญหาสังคมได้ ถ้าสังคมไม่เคารพกฎหมาย ดังนั้นกฎหมายจึงต้องเป็นสิ่งที่สังคมให้การยอมรับและตกลงร่วมกัน

            ๔. สถานการณ์ด้านการรู้เท่าทันของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต

                  ๔.๑   การจัดการที่ผู้ใช้ (User)

                  ๔.๒   การจัดการที่ช่องทางเข้าถึง

                  ๔.๓   การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ

            ๕.  สถานการณ์ด้านการจัดการ

                  ๕.๑   การขาดเจ้าภาพหลักที่เข้มแข็งและมีการทำงานที่ต่อเนื่อง

                  ๕.๒   การมีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่อ่อนแอ (เครือข่ายภาคประชาชน, ภาควิชาชีพ, ภาครัฐ, ภาควิชาการ)

            ๖.  การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ

                  ๖.๑   การสร้างเจ้าภาพในการทำงานด้วยการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง

                  ๖.๒   การสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาการจัดการ

            ๗.  แนวทางการแก้ไขปัญหา

                  ๗.๑   เครื่องมือในการแก้ปัญหา เช่น กฎหมาย, จริยธรรม, การแข่งขันทางการตลาด, ซอฟท์แวร์

                  ๗.๒   แนวทางการแก้ไขปัญหา เช่น การให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนในด้านต่างๆ , การเลิกใช้มาตรการปิดกั้น ด้วยการบล็อก (Block) เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก เพราะเป็นการปิดกั้นที่ส่งผลเกินขอบเขต และไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่จะใช้กับเด็กรุ่นใหม่ในทุกวันนี้ได้

                  ๗.๓   ต้องสนับสนุนให้เกิดการใช้ไอซีทีอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์แก่เด็กและเยาวชน จึงต้องลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มทักษะการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง

                  ๗.๔   การทำกิจกรรมเพื่อปลูกฝังการใช้ไอซีทีอย่างสร้างสรรค์ต้องทำแบบคู่ขนานคือ ทำทั้ง On Line และ Off Line

                  ๗.๕   ควรมีการจัดทำคู่มือ (ในลักษณะ Quote of Conduct) การใช้ไอซีทีอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยเพื่อเผยแพร่แก่ผู้ใช้ไอซีทีทุกคน เพื่อให้สามารถเพิ่มทักษะในการดูแลตัวเองได้ตลอดเวลา (โดยไม่ตกเป็นเหยื่อ)

                  ๗.๖   การจัดทำฐานข้อมูลต่างๆ โดยหน่วยงานหรือองค์กรของไทย เพื่อให้ตรงกับลักษณะของผู้ใช้งานที่เป็นคนไทยจริงๆ ไม่ต้องพึ่งพิงการซื้อข้อมูลจากต่างประเทศซึ่งอาจใช้ได้ไม่ทั้งหมด

หมายเลขบันทึก: 178319เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2008 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะแนท

  • มีหลายๆ ประเด็นน่าสนใจนะคะ สถานการณ์ผู้ใช้เพื่อการศึกษามาเป็นอันดับสุดท้ายเลยหรือคะ ทั้งๆ ที่เรามีช่องทางสนทนาอื่นๆ มากมาย น่าคิดๆ
  • คนใช้งานเป็นเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ถ้าไม่รู้เท่าทันสื่อนี้หลงเข้าไปในเวปไซต์สีดำๆ (ซึ่งมีมากและเข้าถึงง่าย) น่าเป็นห่วงอีก
  • การแก้ปัญหา งานใหญ่ทีเดียวนะคะ
  • เป็นกำลังใจให้ทีมทำงานค่ะ

ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

การสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับคนรุ่นใหม่ในด้านการใช้ ict เป็นเรื่องสำคัญครับ ซึ่งปัจจุบันผมคิดว่าภูมิคุ้มกันยิ่งมีน้อยลง เนื่องจากสภาพครอบครัว เศรษฐกิจ

ในขณะเดียวกันการผลิตบุคลากรทางด้านนี้ของไทยก็ยังไม่ค่อยมีคุณภาพ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

ขอแลกเปลี่ยน เพิ่งเข้ามาอ่าน อดไม่ได้ที่จะเสนอความคิดเห็น เท่าที่ติดตาม หากจะได้แบ่งกลุ่มอายุ หรือกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้ปฏิบัติ กลุ่มผู้อาสุโส

กลุ่มผู้อาวุโสเช่นอย่าง ศ.นพ.วิจารณ์ฯ เป็นผู้นำในหลาย ๆ เป็นแบบอย่างการใช้ ICT อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มผู้บริหาร ผอ.ดิศกุลฯ อยู่ระดับต้น ๆ กลุ่มเด็กเห็นจะได้แก่น้องจิ จ.สุพรรณฯ

ผมมองย้อนมาที่น่าน เห็นการใช้ ICT หากเทียบตามสัดส่วนแล้วยังไม่น่าพอใจนัก กฎหมายอย่างเดียวคงยาก เพราะการบังคับใช้ต้องอาศัยคน ๆ ที่ไปดำเนินการ รู้ไม่ทันคนใช้ ICT จะสักแต่ว่าได้ไปตามรอบที่กำหนด คือ ได้ออกตรวจตราแล้ว

นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ที่เรียน ICT มีไม่น้อย จำนวนเครื่องคอมฯ ที่แจกจ่ายไปยังสถานศึกษา หรือที่มีอยู่ที่ส่วนราชการไม่น้อยเช่นกัน เหลือบไปที่หน่วยงานราชในเวลาทำงาน ยังปล่อยให้น้อง ๆ MSN & CHAT หน้าตาเฉย แบบนี้น้อง ๆ จะมีสมาธิที่ดีในการทำงานได้อย่างไร?

"สถานการณ์ผู้ใช้เพื่อการศึกษามาเป็นอันดับสุดท้ายเลยหรือคะ..."

พี่แจ๋วหมายถึง การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหาความรู้ใช่ไหมค่ะ

ถ้าใช่ ก็ต้องบอกว่า

ต้องยอมรับความจริงค่ะว่า เราใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาน้อยมาก (ไม่รวมพวกที่ทำรายงานโดยใช้วิธี copy and paste นะคะ พวกนั้นยิ่งไม่ใช่ใหญ่เลย)

ส่วนใหญ่ที่เรานิยมใช้อินเทอร์เน็ตกันก็เพราะเป็นสถานที่ที่เรา(มักคิดกันว่า)อยู่ในที่มืด

ไม่มีใครรู้จักเรา ดังนั้นสิ่งที่น่ากลัว(กว่า)ก็คือ พวกเขา(ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่)จะคิดว่า ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาเป็นใคร เขาจึงกล้าทำอะไรบางอย่างที่ไม่เหมาะสมจนถึงขั้นผิดกฎหมาย

ขอบคุณที่เป็นกำลังใจให้ค่ะ แต่ทุกคนคงต้องช่วยๆ กัน :)

สวัสดีค่ะอ.จารุวัจน์

ไม่ได้เข้ามาเช็คนาน ต้องขอโทษด้วยที่ตอบช้าค่ะ

เห็นด้วยกับท่านอ.จารุวัจน์ค่ะที่ว่าภูมิคุ้มกันเด็กเราตอนนี้มีน้อยมาก

ที่ประชุมวันนั้น ก็เห็นพ้องต้องกันว่า เราควรจะเร่งสร้างความรู้เท่าทันสื่อ

ให้กับเด็กและเยาวชนของเราในวันนี้ให้มากขึ้นและกระจายให้ได้มากที่สุด

เพราะทุกวันนี้การใช้อินเทอร์เน็ตก็เหมือนการหัดขับรถเองค่ะ

ไม่รู้จักทั้งมารยาท จริยธรรม และกฎหมาย น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ Panu

การใช้กฎหมายอย่างเดียว บางครั้งกลายเป็นการบีบให้คนที่ใช้ดีๆ

อาจต้องลงไปใช้วิธีใต้ดิน (คือบางข้อบีบให้คนดีต้องขวนขวายหาทางใช้

ซึ่งบางครั้งก็ไปละเมิดกฏหมายบางอย่าง เนื่องจากกฎหมายมีหลายฉบับ)

การใช้กฎหมายจึงไม่ใช่ทางออกสำหรับทุกวันนี้ ทางออกในวันนี้

(เท่าที่คิดกันได้จากที่ประชุม) คือ เรื่องของจริยธรรมการใช้สื่อค่ะ

เป็นเรื่องนามธรรมที่ทำยาก แต่ถ้าค่อยๆ เปลี่ยนทัศนคติ และร่วมกันทำ

อย่างมีความหวัง นั่นคือสิ่งที่มีพลังจนสามารถเปลี่ยนสังคมได้นะคะ

ทุกคนต้องช่วยกันค่ะ อย่าปล่อยให้เป็นหน้าที่ใครคนใดคนหนึ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท