การประชุมเวทีประเมินสถานการณ์ของไอซีทีในสังคมไทย


สถิติด้านอายุของผู้เข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ตมีอายุต่ำลง

การประชุมเวทีประเมินสถานการณ์ของไอซีทีในสังคมไทย

วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น.

ณ ห้องประชุมสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

เปิดการประชุม โดย

ผศ.ดร.อรรยา     สิงห์สงบ  คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 

เปิดประเด็นการประชุม โดย 

            อ.อิทธิพล  ปรีติประสงค์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว กล่าวเปิดประเด็นที่จะพูดคุยกันวันนี้ มี ๔ ประเด็นที่สำคัญคือ

            ๑.   พฤติกรรมการใช้งานและการรวมตัวของชุมชนออนไลน์

            ๒.   เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับไอซีที ที่ปรากฎในสังคมไทย

            ๓.   การรับมือกับการใช้ไอซีทีในทางสร้างสรรค์

            ๔.   กฎหมายที่มีผลต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

ประเด็นเรียงตามลำดับการพูดของวิทยากร

            ๑.   คุณพิริยะ           ทองสวน   แนวโน้มเชิงพฤติกรรมและทัศนคติในการใช้อินเทอร์เน็ตใน

                                                         สังคมไทย

            ๒.   คุณทนงศักดิ์      เกิดนุ่น     สถานการณ์ด้านเทคโนโลยีในสังคมไทย

            ๓.   อ.ณรงค์            ลมลอย    การใช้ ICT ในเชิงสร้างสรรค์

 

            ๔.   ผศ.ดร.อรรยา     สิงห์สงบ   สถานการณ์ด้านเนื้อหาของเว็บไซต์ที่ปรากฏในสังคม

                                                         ไทยกฎหมายที่มีผลต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเด็นที่น่าสนใจในที่ประชุม

            â   ปัจจัยที่ทำให้ในปัจจุบันจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมา เกิดจาก ๒-๓ ปัจจัยคือ

                  ๑.   วิวัฒนาการของไฮสปีด (Hi-Speed) อินเทอร์เน็ต

                  ๒.   อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เสริมต่างๆ มีราคาถูกลง

                  ๓.   การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้เป็นไปได้ง่ายขึ้น

            â   สถิติด้านอายุของผู้เข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ตมีอายุต่ำลง โดยจากสถิติพบว่า ในช่วง ๓ ปีก่อน จำนวนผู้ใช้ที่มากขึ้น คือ จำนวนของนิสิต นักศึกษา และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา แต่ในปัจจุบันอายุผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมีตั้งแต่ระดับประถมศึกษาขึ้นมา การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในอินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชนจึงสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

            â   ตามสถิติการใช้อินเทอร์เน็ตพบว่า กลุ่มอายุ ๖ ปีถึง ๑๔ ปีเป็นกลุ่มที่เข้าไปใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด และยังพบว่าในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตถูกใช้ เพื่อการเมืองเพิ่มขึ้น

                        â   ความแตกต่างของข้อมูลข่าวสารสารสนเทศและเว็บไซต์กับแต่เดิม มีความแตกต่างใน ๓ ด้านคือ

                  ๑.   ในอดีตการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจะเป็นลักษณะผ่านการใช้อีเมล์ ซึ่งจะเป็นลักษณะ ๑ ต่อ ๑ (One to One) หรือเป็น ๑ ต่อ กลุ่ม (One to Group) แต่ในปัจจุบันเป็นลักษณะ ๑ ต่อ จำนวนมาก (One to Many)

                  ๒.   การเข้าถึงเว็บส่วนตัว (Personal Web) มีสูงขึ้น

                  ๓.   การเข้าถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันที่นอกเหนือจากการใช้อีเมล์

            â   การกระจายข้อมูลต่างๆ ทั้งในส่วนที่ดีและไม่ดี สามารถกระจายได้กว้างขึ้นและเร็วขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า จากการที่มีพื้นที่ในลักษณะเว็บส่วนตัวมากขึ้น

            â   จากข้อมูลสถิตการเข้าเว็บไซต์ยอดนิยม ๗ อันดับแรก จะเห็นว่า ๖ ใน ๗ เป็นเว็บไซต์ประเภทที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น เช่น teenee.com, kapok.com (อีกเว็บไซต์ที่ไม่ได้จับกลุ่มตลาดวัยรุ่นคือ manager.com ที่ติดอันดับ ๑ ใน ๗)

            â   ๓-๔ ปีที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐเกิดความตื่นตัวในการจัดทำข้อมูลเพื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มากขึ้น แต่การเข้าถึงของผู้ใช้บางพื้นที่ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่หน่วยงานรัฐเผยแพร่เอาไว้บนเว็บไซต์ได้โดยสะดวก (เกษตรกรไม่ใช่ผู้ใช้ตัวจริง)

            â   ปัจจุบันขยะบนอินเทอร์เน็ต (โฆษณาแอบแฝง) อาทิ Spam Mail[1] ที่มักโฆษณาขายสินค้าแบบขายตรง / ขายยาลดน้ำหนัก ฯลฯ ยังมีจำนวนที่เยอะอยู่ และมีการเปลี่ยนรูปแบบในการโฆษณาไปมากขึ้น

                  นอกจากนี้ยังมีการหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ตในลักษณะต่างๆ อาทิ การหลอกลวงขายสินค้าที่ไม่มีจริงบนอินเทอร์เน็ต / การ Phishing[2]  ก็มีมากขึ้น ในขณะที่การตรวจสอบและป้องกันของผู้ใช้คนไทยยังมีความไม่ทันสมัยอยู่สูง ยังต้องพึ่งพาซอฟท์แวร์จากต่างประเทศอยู่สูง

            â   ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันมี ๒ ประเภทคือ เทคโนโลยีด้านสื่อฯที่ใช้ สาย กับเทคโนโลยีด้านสื่อฯ ที่ ไร้สาย

            â   เทคโนโลยีของสื่อฯที่ใช้ สาย มีข้อจำกัดในหลายด้าน อาทิ ข้อจำกัดด้านพื้นที่ / ข้อจำกัดในเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้น

            â   ด้านเทคโนโลยี ไร้สาย หรือ “Wireless Broadband” ที่กำลังเปลี่ยนจากยุค 2G  ไปสู่ยุค 3G (เทคโนโลยีในยุค 2G เช่น  GSM, IS-95 และ cdmaOne) ส่วนเทคโนโลยีในยุค 3G เช่น GPRS, IMT-2000, บูลทูธ, แลนไร้สาย IEEE 802.11, Wireless LAN หรือ Wi-Fi และล่าสุดคือ เทคโนโลยี Wi-MAX[3]

            â   เทคโนโลยี Wi-MAX เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะกับกิจการร้านเกมในอนาคต เนื่องจากมีความไวและมีแบรนด์วิชที่กว้าง และใช้สะดวก (ไม่ติดในเรื่องพื้นที่)

            â   เครือข่ายที่ประเทศไทยใช้ในปัจจุบันมี  ๓ ประเภท คือ

                  - LAN (Local Area Network) สำหรับข่ายงานบริเวณเฉพาะพื้นที่ เป็นการต่อเชื่อมเพื่อใช้ในระยะที่ใกล้ที่สุด และจัดเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก นิยมใช้กันในระหว่างตึกหรืออาคารใกล้เคียง

                  - MANs (Metropolitan Area Networks) มักใช้กันในเมืองใหญ่ ซึ่งเหมาะกับการให้สัญญาณกันในระหว่าง ๕ กิโลเมตรถึง ๕๐ กิโลเมตร ปกติแล้วจะเป็นระบบไร้สายเช่นการใช้คลื่นไมโครเวฟหรือใช้ใยแก้วนำแสง เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสถานที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน       

                  - WAN (Wide area network) สำหรับข่ายงานบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นการต่อเชื่อมระยะไกล ซึ่งอาจใช้กันในระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ จัดเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุด

            â   เว็บไซต์ sema.go.th เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างศูนย์อินเทอร์เน็ตปลอดภัยและสร้างสรรค์ กระทรวงศึกษาธิการ และแผนงาน ICT เพื่อสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

                  โดยมีโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล อาทิ การจัดทำลิงค์สื่อการเรียนการสอน , การจัดทำบล็อก (Blog) และจัดทำโปรแกรม ICT HOUSE KEEPER ซึ่งเป็นโปรแกรมกำจัดเว็บลามกและเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถเฝ้าระวังและตรวจสอบพฤติกรรมของเยาวชนได้อย่างใกล้ชิด

                  นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรการเรียนการสอนผ่าน ๓๒ กิจกรรม เพื่อให้ผู้นำสื่อการเรียนการสอนนี้ไปใช้วัดทักษะในด้านต่างๆ ของเด็ก อาทิ การสอนให้รู้จักเว็บบอร์ด , การใช้อีเมล์

            â   ทางโครงการ sema พยายามทำให้เกิดชุมนุมอินเทอร์เน็ตสร้างสรรค์ขึ้นภายในโรงเรียน โดยให้โรงเรียนเป็นศูนย์เฝ้าระวังด้วยตนเองผ่านทางเด็กนักเรียนที่เป็นสมาชิกชุมนุม ขณะเดียวกันก็ได้มีการอบรมครู ผู้ปกครอง และคนในชุมชนให้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ตว่ามีอะไรบ้าง และได้ดำเนินการไปแล้วใน ๕ ภูมิภาค เช่น ขอนแก่น, ระยอง, กรุงเทพฯ

                  และทางโครงการยังแสวงหาความร่วมมือกับทางสมศ.เพื่อให้การใช้สื่อการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ sema.go.th เป็นการวัดคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนได้ด้วย

            â   ปัจจุบันทาง sema.go.th ได้นำทุกสื่อมารวมไว้ในเว็บไซต์ และใช้อินเทอร์เน็ตเป็นตัวกระจายสื่อเหล่านี้ออกไปภายใต้โครงการ SMTV หรือ โครงการโทรทัศน์ออนไลน์ เพื่อการเรียนรู้

            â   ประเด็นในด้านเนื้อหาบนเว็บไซต์กับกฎหมาย ในด้านการละเมิดลิขสิทธิ์แบ่งปัญหาได้ ๔ ลักษณะคือ

                  ลักษณะที่ ๑ การตีความเรื่องการทำลิงค์ (Link) โดยผู้อื่นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ (ในกรณีว่า เจ้าของลิงค์ไม่ต้องการให้ทำเอาลิงค์ไปเผยแพร่ต่อ)

                  ลักษณะที่ ๒ เกี่ยวกับคำสำคัญ (Keywords) ซึ่ง Google ได้นำคำสำคัญหลายคำมาใช้เพื่อให้สามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ง่าย โดยคำสำคัญที่กูเกิ้ลนำมาใช้ จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า (การขายคำสำคัญให้กับเจ้าของผลิตภัณฑ์ ในลักษณะ Keyword for searching) สิ่งนี้จะเข้าข่ายในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับ เครื่องหมายการค้า (Trademark) หรือไม่

                  ลักษณะที่ ๓ ปัญหาเกี่ยวกับภาพถ่ายดิจิตอล (Digital Content) อาทิ การปลอมตัว หรืออ้างตัวเป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของภาพถ่ายที่แท้จริง ซึ่งก่อให้เกิดการล่อลวงได้หลายอย่าง

                  ลักษณะที่ ๔ การค้นหาโดยใช้เครื่องมือช่วยค้นหาในลักษณะ Search Engine พบว่าเรื่องความเป็นส่วนตัวอาจถูกละเมิดได้ง่ายมากขึ้น อาทิ การถูกขโมยความเป็นตัวตน  เป็นต้น

                        â   ประเด็นการทำธุรกรรมข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต อาทิ การถูกฉ้อโกง, การถูกขโมยข้อมูลไปใช้, การอ้างตัวตน ซึ่งประเด็นเหล่านี้ทำให้เกิดการละเมิดกฎหมายได้ง่ายขึ้น และกฎหมายหนึ่งตัวไม่สามารถครอบคลุมลักษณะการกระทำความผิดได้ทั้งหมด จึงต้องไปเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่นๆ เพิ่มเติม และบางอย่างกฎหมายไม่ได้มีการระบุให้ชัดเจน จึงทำให้ผู้เสียหายต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ตัวเองได้รับความเสียหายอย่างไร ประการใดบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยาก

            â   ปัญหาบางอย่างที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ตไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการออกกฎหมาย แต่ควรหาทางป้องกันในลักษณะอื่นๆ แทน อาทิ การสอนให้เด็กและเยาวชน หรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถแยกแยะสิ่งที่ดีและไม่ดีได้ (การใช้ NORM มาควบคุม) เป็นต้น

            â   กรอบความคิดของศาสตราจารย์ เลกซิก (Professor Lessig) กล่าวถึงการจัดการปัญหาอันเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตไว้ ๔ ด้าน คือ การออกกฎหมายบังคับ / การใช้แบบแผนทางสังคมหรือมาตรฐานของสังคมนั้นๆ การสร้างจริยธรรมที่ดีให้เกิดในสังคมนั้น (Norm) / การใช้กลไกทางการตลาด (Market)  / การใช้โค้ด (Code) เป็นฟิลเตอร์ในการกรองเนื้อหาที่ไม่ดีไม่เหมาะสม (ใช้ทางด้านเทคนิคเข้าช่วย) อาทิ แอนตี้ไวรัส, แอนตี้สแปมเมล์ ฯลฯ

            â   ปัญหาทางอินเทอร์เน็ตที่มีการละเมิดกฎหมายมีเป็นจำนวนมาก แต่กำลังตำรวจในการสืบสวนเรื่องดังกล่าวมีไม่พอ และผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมักเกิดความเชื่อที่ว่า ตามไม่ได้ ดังนั้นต้องทำให้เขารู้ว่า การก่อคดีบนอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่สามารถ ตามได้ง่าย จึงจะช่วยลดการเกิดอาชญากรรมลงได้

            â   ขั้นตอนของกระบวนการในการทำคดี ประกอบด้วย ต้นทุนการติดตามการสืบสวนที่สูงและใช้ระยะเวลานาน (เนื่องจากไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า จึงต้องอาศัยจังหวะเวลาเพื่อให้สามารถจับได้คาหนังคาเขา) / การจับกุมผู้กระทำผิดบางครั้ง จับได้แต่ผู้ที่กระทำผิดสถานเบา และมักเป็นเยาวชน ซึ่งเมื่อจับได้ก็ไม่ได้ทำให้สังคมโดยรวมดีขึ้น

                  ทางแก้ของการดำเนินคดีจึงอยู่ที่ว่า ต้องหาแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ ที่ไม่พึ่งเฉพาะการจับกุมผู้กระทำผิด เพราะเมื่อจับได้แต่ฐานความผิดไม่ร้ายแรง ก็ไม่สามารถช่วยให้สังคมดีขึ้นได้

            â   การซื้อข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ลามกอนาจาร หรือเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่ข้อมูลดังกล่าวจะใช้ไม่ได้กับบริบทในสังคมไทย เนื่องจากมีรสนิยมที่แตกต่างจากในต่างประเทศ (รสนิยมเรื่องการเข้าเว็บโป๊) การซื้อฐานข้อมูลดังกล่าวจากต่างประเทศจึงต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย

 

สรุปสถานการณ์ในแต่ละด้าน

            ๑. สถานการณ์ด้านผู้ใช้

                        ๑.๑     รูปแบบการใช้งาน

หมายเลขบันทึก: 178318เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2008 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะแนท
  • บันทึกหายไปนานเชียว
  • มาลงชื่ออ่านค่ะ

แนทคะ

เช้านี้ไดดุข่าวเด็กชายถูกอนาจารในร้านเน็ตแล้ว

เดี๋ยวนี้มีลูกหลานเป็นเด็กผู้ชายก็น่าเป็นห่วง

แย่จัง รู้ข่าวแย่ๆ แบบนี้แล้ว ยิ่งอยากเห็นงานวิจัยของอี๋เป็นรูปธรรมมากๆ

ไม่อยากให้งานวิจัยของทีม Me จบแค่เป็นเอกสารนะคะ

อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ควบคุมเรื่องแย่ๆ ได้

ปล.ชอบรูปใหม่นี้จริงๆ สวยกว่ารูปเดิมและดูไม่เคร่งเครียดเหมือนบันทึกที่เขียนเยอะเลย ทำงานให้สนุกนะคะ :)

สวัสดีค่ะพี่แจ๋วและคุณกวินทรากร

ขอบคุณที่ตามมาให้กำลังใจกันค่ะ

พอดีข่าวสารชิ้นนี้ถูกลงบันทึกแบบรีบไปหน่อย

ข้อความขยายศัพท์บางคำจึงหายไป

ไว้จะรีบแก้ไข เพิ่มเติมคำอธิบายให้ครบถ้วนนะคะ

เรียกกวินสั้นๆก็ได้ครับ แวะมาอีกที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท