ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน : ปัจจุบัน และก้าวต่อไป


ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน : ปัจจุบัน และก้าวต่อไป

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (18 เม.ย. 51) ได้มีโอกาสเข้าประชุมเรื่อง telecentre หรือ ศูนย์การเรียนรู้ ICT ซึ่งมี Dr.Shadrach จาก telecentre.org มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์

อันที่จริงเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร ในเมืองไทยได้มีการริเริ่มเรื่องนี้มาหลายปีแล้ว จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน แต่ในช่วง 2 ปีมานี้ ศูนย์การเรียนรู้ไอซีที ขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะโครงการศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน ของกระทรวงไอซีที ที่ปัจจุบันมีกว่า 90 ศูนย์ทั่วประเทศ

ที่ผ่านมาศูนย์ต่างๆ มีจุดประสงค์เพื่อให้พื้นที่ในชนบทเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้เปิดอบรมการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐาน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ที่ต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ในขณะเดียวกัน หลักสูตรพื้นฐานนี้ก็สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้หลายฝ่ายเริ่มมองหาแนวทาง และบทบาทของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนในแง่มุมอื่นๆ มากขึ้น

Dr.Shadrach ได้ให้ภาพรวมของศูนย์การเรียนรู้ไอซีที หรือเรียกว่า telecentre ในประเทศต่างๆ ทั้งอินเดีย ศรีลังกา เนปาล ฟิลิปปินส์ ว่ามรบทบาทตั้งแต่การเรียนรู้คอมพิวเตอร์ จนกระทั้งเป็นหัวใจในการขัยเคลื่อนชุมชน

โดย telecentre บางแห่งเป็นศูนย์กลางของการซื้อขายสินค้าเกษตร บางแห่งเป็นที่ให้ความรู้ด้านสุขภาพ หรือแหล่งเงินกู้ บางแห่งร่วมมือกับวิทยุชุมชนเพื่อแพร่กระจายความรู้สู่ชุมชน

ซึ่งแนวทางต่างๆ นี้ต้องนำไปเป็นโจทย์ร่วมคิดกับการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนในประเทศ ไทย ปัญหาที่สำคุญที่สุดคือ จะทำอย่างไรให้ชุมชนสามารถรวมเอาเรื่องไอซีทีเข้าไปเป็นหนึ่งในวิถีชีวิต?

ที่น่าจับตามองขณะนี้คือ การขับเคลื่อนของกระทรวงไอซีที ที่จะมีกิจกรรม kickoff เรื่องศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนในสัปดาห์หน้า รวมทั้งเปิดตัวเว็บไซต์ thaitelecentre.org ซึ่งในจะเป็นเว็บแหล่งรวมความรู้เรื่องของการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ไอซีที ซึ่งในจังหวะก้าวนี้อาจมีหลายเรื่องต้องคำนึงถึงมากกว่าการเร่งขยายจำนวนของศูนย์ และยอดผู้ใช้บริการ ซึ่งเรื่องที่น่าจะมีการระดมความคิดกันอาทิ

- ศูนย์ฯ จะให้ประโยชน์กลับกลุ่มต่างๆ ในชุมชนได้อย่างไร ทั้งด้านการพัฒนาชุมชน การศึกษา การสร้างสวัดดิการในชุมชน การพัฒนาอาชีพ เป็นต้น

- เทคโนโลยีที่ทางศูนย์ฯใช้งาน ในปัจจุบันมีทางเลือกทางเทคโนโลยีที่หลากหลาย และราคาถูก การเลือกใช้เทคโนโลยี อาทิระบบ Hardware และ Software จะเลือกอย่างไร จะทำอย่างไรจะได้ hardware ที่คุณภาพดีราคาถูก software จะเลือกอย่างไรระบบปฏิบัติการจะใช้ linux ซึ่งไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ หรือ ไปซื้อระบบปฏิบัติการมีมีค่าสิขสิทธิ์แต่ซื้อได้ในราคาถูก

       *ในประเด็นทางเทคโนโลยีนี้อยากให้คำนึงถึงเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์เสรี (Free and Open Source Software) โดยเฉพาะการแปลซอฟต์แวร์เป็นภาษาไทยเพื่อใช้งานในศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมเมอร์คนไทยทำได้เลย ในรูปแบบอาสาสมัครก็ได้ ไม่ต้องขออนุญาติกับใคร ซึ่งคิดว่ากระทรวงเองก็มีนโยบายส่งเสริมการใช้งานโอเพ่นซอร์ตอยู่แล้วและยังทำให้คนในท้องถิ่นสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

- เนื้อหาที่ศูนย์ ฯ ควรเป็นผู้ผลิต เช่นเนื้อหาเกี่ยวกับท้องถิ่น ซึ่งทางศูนย์เป็นผู้รวบรวม วิเคราะห์ และดัดแปลงเป็นสื่อการเรียนรู้ต่างๆ โดยร่วมมือกับโรงเรียน อบต. ซึ่งอาจพัฒนาถึงขั้นการจัดทำข้อมูลเพื่อหารายได้เข้าศูนย์จากการบริการข้อมูลในอนาคต

- การแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้กันระหว่างศูนย์ รูปแบบควรเป็นอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งแบบ online และ offline อาทิระบบ RSS feed หรือ การจัดกิจกรรม สัมมนาต่างๆ ร่วมกัน หรือ กระทั้งการผลิตสื่อร่วมกัน เป็นต้น

ที่สำคัญที่สุดคือการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเริ่มคิดก่อตั้ง พัฒนา เพื่อให้คนในชุมชนได้ตะหนักว่าพวกเขาเป็นเจ้าของและผู้ใช้ประโยชน์จากศูนย์การเรียนรู้ไอซีที

ไกลก้อง ไวทยการ
http://www.ict.or.th

 

หมายเลขบันทึก: 177575เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2008 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้วดีจัง มาขอบคุณเพื่อน ที่ทำให้คนไทยรู้ว่า ชุมชขนต่าง ๆ พัฒนาไปถึงไหนกันแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท