กับอนุทิน


ไม่ได้ตั้งใจจะขโมยซีนการประกาศตัวของ "อนุทิน" หรอกครับ อาจารย์ธวัชชัยบอกว่า อยากรอให้นิ่งก่อนแล้วค่อยประกาศ ผมเห็นว่าอนุทินนิ่งมานานแล้ว และมีสมาชิกเริ่มสนุกกับอนุทินมากขึ้นเรื่อยๆ ขนาด geek นอก GotoKnow ยังสังเกตเห็นเลย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของอนุทินไว้ว่า สมุดบันทึกประจำวัน ส่วนหน้าการเขียนอนุทินของ GotoKnow ให้คำแนะนำไว้ว่า

คำแนะนำ: บันทึกกระชับฉับไว (Reflexive Journal) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ ติดตามงานที่ทำ (AAR) หรือนำเสนอไอเดียปิ๊งแว้ป

คงเป็นเช่นเดียวกับบล๊อกที่ว่าบล๊อกเป็นหลายอย่างสำหรับหลายคน อนุทินก็คงเป็นหลายอย่างสำหรับหลายๆคนเช่นกัน; ในทำนองเดียวกัน ถึงจะแนะนำว่าควรจะเขียนอนุทินอย่างไร แต่จะเชื่อก็ได้ ไม่เชื่อก็ได้ ไม่เห็นเป็นไรเลย

twitter: What are you doing?

twitter เป็นเครือข่ายทางสังคมแบบหลวมๆ ที่ใช้ข้อความสั้นๆ เขียนบอกเพื่อนว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ โดยใช้ instant messeging, SMS, เว็บ หรือโปรแกรมพิเศษต่างๆ ถึง twitter จะจำกัดความยาวไว้ที่ 140 ตัวอักษร แต่ก็มีผู้ใช้ล้านคน แถมยังมีคุณลักษณะพิเศษเช่น Direct message (เครื่องหมาย @ตามด้วยบัญชีชื่อผู้ใช้ ซึ่งผู้ที่เล่น twitter บน GotoKnow นำมาใช้กันบ้างเพราะเป็นที่รู้กันในวงการ), Reply, Follow (คล้ายกับ "ติดตามอ่านอนุทินนี้") มีอะไรต่อมิอะไรที่ อนุทิน (ยัง)ไม่มี ป่วยการจะอธิบายครับ เพราะว่าเราไม่มี

ถ้าใครมีเน็ตที่เร็วพอแล้วอยากจะดูว่่าชาวโลกเค้าเขียนอะไรกันบน twitter บ้าง ลองคลิกตรงนี้ดูครับ

ความหมายพิเศษต่อการพัฒนา KnowledgeVolution (KV)

KV เป็นโปรแกรม Open source ที่ควบคุม GotoKnow เว็บไซต์ในเครือข่าย และเว็บไซต์การจัดการความรู้อื่นอีกหลายแห่ง เดิมที KV ต้องใช้เบราเซอร์เรียกมาที่เว็บไซต์ เช่นเปิดเว็บมาที่ http://gotoknow.org แล้วล็อกอินเข้าระบบ

ในขณะนี้ ระบบอนุทินได้เริ่มเปิดให้ล็อกอินผ่านระบบงานอื่นนอก KV แล้ว และเป็น API แรกที่เปิดให้บริการ

เชื่อว่าทีมงานอยากเปิด API มานานแล้ว แต่ติดขัดที่ปริมาณงานที่ล้นจนไม่รู้จะล้นอย่างไร ในขณะที่มีทรัพยากรจำกัดมาก การเปิด API ออก เป็นการเอื้ออำนวยต่อการเชื่อมโยงความรู้กับระบบงานที่ไม่ใช่ KV ดังที่อาจารย์จันทวรรณเขียนไว้ในบันทึกแรกของ GotoKnow ว่า

...GoToKnow.org เป็นเสมือนเส้นทางที่นำเข้าสู่การจัดการความรู้ของประเทศไทย โดยเน้นที่การสร้างคลังความรู้ผ่านทางระบบบล็อกที่สร้างขึ้นเพื่อคนไทย โดยนักวิจัยคนไทย ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐของไทย (สคส.) การเติบโตของคลังความรู้นี้ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากสมาชิกผู้ใช้บริการ ที่ร่วมกันสร้าง แลกเปลี่ยน และเผยแพร่ความรู้ในบริบทต่างๆ ให้ทั่วถึงกันในทุกองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน...

ข้อเสนอแนะ

  1. อนุทินควรสั้น ตรงประเด็น -- ถ้ายาว เขียนเป็นบันทึกซึ่งมีคุณลักษณะมากกว่าทั้งหมวดหมู่ คำสำคัญ แพลนเน็ต แถมยังให้ความคิดเห็นต่อบันทึกได้ด้วย ส่วนอนุทินไม่มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกเหล่านี้
  2. ถ้ามีหลายประเด็น แยกเป็นหลายอนุทิน
  3. แต่ละชั่วโมง เขียนได้หลายอนุทิน; ไม่เหมือนเขียนบันทึกคุณภาพที่มีทั้ง story ทั้ง citation ทั้ง reference ทั้งการเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาในบันทึก ซึ่งมักจะใช้เวลานานในการเตรียม
  4. ท่านสามารถติดตามผู้เขียนอนุทินได้โดยคลิกที่ "ติดตามอ่านอนุทินนี้" -- อันนี้คล้ายกับรับบล็อกเข้าแพลนเน็ต แต่ผมสนุกกับการอ่านเรื่องชาวบ้านตรงนี้มากกว่า!
  5. สมาชิกที่สามารถใช้ WAP ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ สามารถเขียนอนุทินจากโทรศัพท์มือถือได้โดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์
  6. หัดทำลิงก์ไว้ (เป็นวิธีการเดียวกับการทำลิงก์ในการเขียนบันทึกและความคิดเห็น) จะได้ลิงก์ไปยังอนุทินที่อ้างถึงได้ เมื่อคลิกไล่ตามไป จะได้ตามเรื่องได้
  7. ท่านสามารถอ้างอิงอนุทินรายตัวได้โดยดูจากตัวเลข หลังคำว่า ลิงก์ถาวร: <---- บั๊กครับ ลิงก์ใช้ ก์ (การแปลศัพท์เทคนิค)
  8. "โดยปกติ" การเขียนอนุทิน เขียนเรื่องของตัวเอง เขียนให้ตัวเองอ่าน เอาไว้เตือนตัวเอง (แต่คนอื่นจะอ่านก็ไม่เป็นไร ถ้ามันลึกลับนัก ไม่อยากให้ใครรู้ ก็ไม่ต้องเขียนครับ) ส่วนถ้าจะโต้ตอบกับคนอื่น จะใช้แบบ twitter ก็ได้ครับ ใช้ @username (พร้อมลิงก์ไปที่ข้อความที่กล่าวถึง) เพื่อให้รู้ว่าพูดถึงอะไรอยู่-ไม่ใช่แค่พูดถึงใคร
  9. เชื่อได้ว่าปริมาณของอนุทิน จะมากกว่าปริมาณบันทึกอยู่พอสมควรทีเดียว ดังนั้นกรุณากระชับดีกว่าครับ ได้โปรดเถิด (:

อนุทิน จัดเป็น micro-blogging ควรจะให้มันเป็น micro ครับ ตอนนี้ก็รอการประกาศตัวนะครับ

ใครยังไม่เคยลอง เชิญคลิกตรงนี้ครับ

คำแนะนำอีกที

คำแนะนำ: บันทึกกระชับฉับไว (Reflexive Journal) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ ติดตามงานที่ทำ (AAR) หรือนำเสนอไอเดียปิ๊งแว้ป

ป.ล. คำว่าอนุทิน ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ ท่านใช้มาก่อนในการเขียนอนุทินส่วนตัวของท่าน

คำสำคัญ (Tags): #micro-blogging#อนุทิน
หมายเลขบันทึก: 177348เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2008 01:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

อรุณสวัสดิ์ค่ะ

เดี๋ยวนี้หนิงก็เข้าอนุทินก่อน blog ค่ะ  ต้องไปรายงานตัวค่ะ เดี๋ยว คนนี้ จะเป็นห่วง  อิอิ

แล้วเช้านี้ดีใจจัง  เจอพ่อครูบาในอนุทินด้วยค่ะ

ขอบพระคุณนะคะ  หนิงเพิ่งเข้าใจนะคะเนี่ย...ว่า @username อย่างนี้นี่เอง

อยากให้อนุทิน เป็นเหมือน metafilter มากกว่า twitter และตอนนี้กำลังจะเพิ่มการ vote ให้กับทุก features รวมทั้ง อนุทิน ด้วยค่ะ

metafilter เป็นลักษณะเหมือนเป็นการนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจที่ผู้คนได้อ่านได้เจอตามเว็บต่างๆ แล้วนำมาเสนอไว้อีกที ด้วยข้อความสั้นๆ ของผู้บันทึกค่ะ

อุ้ยรีบเขียนไปหน่อย ลืมขอบคุณค่ะที่คุณ Conductor ช่วยบันทึกเกี่ยวกับอนุทินให้แทนมะปราง :)

สวัสดีค่ะ

อนุทินนี่ดีค่ะ เขียนสั้นๆดี เป็นเรื่องๆ และเขียนไว้ให้ตัวเองติดตามเรื่องของตัวเองได้ด้วย พร้อมๆกับอ่านเรื่องของคนอื่น

ตอนนี้ ไม่ค่อยมีเวลา เลยมาเขียนอนุทินส่วนใหญ่ ถ้าไม่มีอนุทิน คงไม่มีเวลาเขียนบันทึกอะไรเลย เรื่องจะเขียนบันทึกก็มีอยู่หรอก แต่ยังไม่ตกผลึกและมีสมาธิพอ เพราะ มีเรื่องอื่นมาแย่งความคิดคำนึงไปหมด

คิดแปลกใจอยู่เหมือนกันว่า บางทีได้ยินคนพูดว่า เหงาๆ ไม่รู้จะทำอะไร ดี เอ แต่เรานี่ มีเรื่องมาให้ทำไม่ขาดสายเลย แต่ละเรื่องก็สนุกๆทั้งนั้น อิๆๆๆ  

สวัสดีค่ะ

เป็นสมาชิกที่เขียนอนุทินอีกคนหนึ่งค่ะ

แต่ค่อนข้างจะเขียนให้ตัวเองอ่านซะเป็นส่วนใหญ่

ต่อไปต้องนึกถึงว่าอาจมีคนอื่นมาอ่านด้วยแล้วค่ะ ไม่งั้นจะเขียนแต่เรื่องโก๊ะๆ

ขอบคุณค่ะ

ลองเขียนแล้ว 2 ครั้งค่ะ  แบบ  ออกจากใจ

รู้สึกเช่นเดียวกันค่ะ :)

jaewjingjing ค่อนข้างจะเขียนให้ตัวเองอ่านซะเป็นส่วนใหญ่

Sasinanda  ถ้าไม่มีอนุทิน คงไม่มีเวลาเขียนบันทึกอะไรเลย

 

มา ลป เพราะไม่เคยรู้จักทั้ง Twitter และ Metafilter ^ ^

ตอนนี้ก็บอกว่าพอรู้ แต่เรื่อง API ยังก๊งๆ อยู่ ยังไม่ได้ศึกษาค่ะ

ตัวเองเขียนอนุิทินทั้งในรูปแบบของ Twitter และ Metafilter รวมถึงสรุปโน็ตจากการเรียนการทำงานด้วย บางอันก็ซ่อนให้เป็น private เพราะคนอื่นดูก็ไม่รู้เรื่อง จดสดๆ จากห้องเรียน ยังไม่ได้ verify อะไร

ขอบคุณทีมงานทุกท่านนะคะ ^ ^

อนุทินนี่อะไรเหรอ เขียนไปแบบไม่รู้ตัวนะนั่น 555 งักอย่างแรง ; P

มีบางคนบ่นว่าสมาชิกเห่ออนุทินเลยไม่ค่อยยอมเขียนบันทึก แต่อยากจะบอกว่าถ้าเวลายุ่งเหยิงไม่มีอนุทินก็คงไม่เขียนอะไรเลย อันนั้นจะหนักกว่านา อย่างนี้ยังพอรู้ความเคลื่อนไหวกันบ้าง มีอะไรดีอยากแชร์แต่ขี้เกียจเขียนเป็นเรื่องราวมากมายก็ทำได้อยู่

ดิฉันจับลูกนั่งหน้าคอม อ่านอะไรเล่นซักพัก แล้วก็พิมพ์ลงอนุทินหนึ่งบรรทัดค่ะ ไม่อย่างนั้นก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเอาเวลาไหนมาเขียนบันทึกลงบล็อกค่ะ :(

ขอบคุณทุกความเห็นครับ

สรุปว่า ?ไม่ควรสรุปว่าควรเขียนอนุทินอย่างไร?

ผมแก้ไข GotoKnow monitor เพื่อให้แสดง "อนุทินล่าสุด" แล้วครับ อยู่เป็นแท็ปที่สาม แทรกอยู่ระหว่าง "ความคิดเห็นล่าสุด" กับ "บันทึกสุ่มแสดง"

ถ้าในขณะที่เห็นข้อความนี้ ท่านเปิด monitor อยู่ ให้ refresh ครั้งหนึ่ง ก็จะได้โปรแกรมใหม่

ไม่อย่างนั้น การเปิด monitor ครั้งต่อไป ก็จะเห็น "อนุทินล่่าสุด" เองครับ

  •  มาดูลูกรอก เอ้ยไม่ใช่ มาดูกุมารทอง
  • อิอิๆๆ
  • ไม่ได้อยู่นาน ตกยุคไปเลย
  • กำลังตามอ่านอยู่ครับ
  • ขอบคุณครับ

ถ้าอนุทินเป็นอะไรเป็นอะไรที่ "ควบคุมไม่ได้" สิ่งที่ปรากฏอยู่ในอนุทิน ก็จะสะท้อนความหลากหลาย พลวัต และปฏิสัมพันธ์ระหว่างบรรดาผู้เขียนอนุทิน ซึ่งอาจจะเป็นภาพสะท้อนความซับซ้อนของหมู่คนและสังคมได้บางส่วนครับ

กำลังฝึกเขียนค่ะ

และอ่านที่คนอื่นเขียน

เหมือนบันทึกช่วยจำหรือเห็นอะไรน่าสนใจก็มาบันทึกไว้ก่อน

เข้าใจถูกไหมคะ

ได้รับคำแนะนำมาเหมือนกันค่ะ เกี่ยวกับการเขียนอนุทิน

เหมือนกันเขียนบันทึกช่วยจำรึป่าวนะคะ

ที่ทำอยู่ตอนนี้ ก็ประมาณบันทึกช่วยจำ และบันทึกกิจกรรมที่ทำมาระหว่างวัน

ไม่ถูกต้องยังไงช่วยชี้แนะด้วยนะคะ

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณอาคอนดักเตอร์ สุดหล่อ

อาๆๆ หนูร้องอีแซวอวยพรให้อาด้วยนะค่ะ ครูเสียงเหน่อๆ มาดูกุมารทองอะไรแถวนี้เนี่ย 555++..อาสบายดีเปล่าค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ---> น้องจิ ^_^

ขำน้องจิง่ะ 555 รับมิได้ พูดอาไรเนี่ย : P

  • เหมือนมีคนบ่นถึง
  • จะชวนกุมารทองไปกินน้ำแดง
  • อิอิอิๆๆ

เรื่องอนุทิน  ผมมองว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนความคิดชั่วขณะ ไม่ต้องประดิดประดอย มากนัก จึงอาจเหมาะกับการปฏิสันถาร หรือการแซวกันไปแซวกันมาระหว่างเพื่อน (เล่นปนจริง) ในขณะที่บันทึกนั้น จริงจัง เป็นเรื่องเป็นราวกว่าครับ (จริงปนเล่น)

ทั้งบันทึกและอนุทิน เป็นเครื่องมือด้วยกันทั้งคู่ อยู่ที่เราจะเลือกใช้อะไรอย่างไร

ผมไม่คิดว่าเป็นความผิดร้ายแรงที่เอาฆ้อนไปพรวนดิน เพียงแต่ว่าหากเราเข้าใจว่ามีเครื่องมือที่ดีกว่า เช่น จอบ/เสียม ก็อาจเลือกเครื่องมือที่ดีขึ้นได้ แล้วแต่สถานการณ์

แต่ปัญหาคือเราจะเลือกเครื่องมือที่ดีได้อย่างไร ถ้าเราไม่รู้จักเครื่องมือนั้นเลย -- ซึ่งนั่นคงเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นครับ สมาชิกกำลังทดลองดูว่าอนุทินเป็นอย่างไร ดีอย่างไร ไม่ดีอย่างไร ข้อจำกัดอยู่ตรงไหน

สาวน้อยมหัศจรรย์ ที่หน้าตาดี ถ้าเรียกป้าแป๋ว ก็เรียกลุงคอนดักเตอร์ แต่ถ้าเรียกพี่แป๋ว ก็เรียกพี่คอนดักเตอร์ด้วยดีไหมครับ -- อันนี้เป็นไปตามปฏิญญาสากลว่าด้วยปีเกิด ซึ่งทั้งอาจารย์แป๋วและผมต่างให้สัตยาบันกันแล้วที่ มสธ. หลังงาน NKM4 เมื่อปลายปีที่แล้ว

ในอีกมุมหนึ่ง...

บันทึก มีศูนย์กลางอยู่ที่เรื่องราวที่ต้องการจะสื่อ มีความคิดเห็นเป็นการแลกเปลี่ยน หรือต่อยอด

อนุทิน มีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวผู้เขียน มีอนุทินอื่นที่โยงกันไปโยงกันมาเพื่อแลกเปลี่ยน ต่อยอด หรือ "เมาธ์" (พจนานุกรมคำใหม่ กำหนดให้ใช้ ธ์)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท