รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ทยศยิ่งยง
รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ทยศยิ่งยง Assoc. Dr.Yongyootdha Tayossyingyong

มิติการบริหารสังคม


มิติการบริหารสังคม

การบริหารสังคม มีมิติหรือระดับการบริหารจัดการ 5 ระดับ หรือ 5 มิติ สรุปได้ คือ

1.      ระดับจุลภาค (micro-level) หรือมิติปัจเจกบุคคล (individual dimension) หมายถึง บุคคลที่มีแนวความคิด สถานภาพและบทบาท เนื่องจากเป็นผู้กำหนดแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกให้แสดงการกระทำระหว่างกันตามสถานภาพ และบทบาทที่ดำรงอยู่  อีกทั้งเป็นศูนย์กลางของสังคม

2.       ระดับกลาง (mid –level) หรือมิติกลุ่มและองค์การ (group and organization dimension) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมกันอยู่ในรูปแบบ และขนาดต่าง ๆกัน มีเป้าหมายหรือหน้าที่เฉพาะของกลุ่มและมีระเบียบแบบแผนเป็นของตนเอง เช่น กลุ่มทางสังคม ครอบครัว ชุมชน ชนชั้น ฯลฯ กลุ่มและองค์การเหล่านี้มีส่วนประกอบที่เหมือนกัน 3 ประการ คือ คณะบุคคล ระเบียบแบบแผน และเป้าหมายหรือหน้าที่  

3.       ระดับมหภาค (macro- level) หรือมิติสถาบันทางสังคม (Institution dimension) หมายถึงแนวทางในการคิดหรือการปฏิบัติกิจกรรมพื้นฐาน และนำปฏิบัติจริงจริงจนได้รับการยอมรับเป็นสถาบัน ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านต่าง ๆของคนในสังคม ได้แก่ สถาบันเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง วัฒนธรรม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม โดยมีองค์ประกอบเหมือนกัน ตำแหน่งทางสังคม หน้าที่ และแบบอย่างของพฤติกรรม

4.      ระดับโลก (global – level) หรือมิติระบบโลก (world system dimension) หมายถึง บริบทจากภายนอกสังคมที่มีอิทธิพลต่อแนวทางในการคิดและการปฏิบัติกิจกรรมของคนในสังคม เช่น โลกาภิวัตน์

 

ภาพที่ 1-9     ระดับหรือมิติของการบริหารสังคม

 

คำสำคัญ (Tags): #การบริหารสังคม
หมายเลขบันทึก: 176805เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2008 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท