ห้องสมุดจะพัฒนายังไงขึ้นอยู่กับผู้บริหารจริงปล่าว


“ตราบใดที่บรรณารักษ์เสนอโครงการมากมายแต่ถ้าผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญก็มักจะทำให้ห้องสมุดถูกปล่อยปล่ะละเลยอยู่เสมอๆ”

“ตราบใดที่บรรณารักษ์เสนอโครงการมากมายแต่ถ้าผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญก็มักจะทำให้ห้องสมุดถูกปล่อยปล่ะละเลยอยู่เสมอๆ”

คุณเห็นด้วยหรือไม่ กับประโยคข้างต้น
ทุกๆ ห้องสมุดผมว่าน่าจะมีปัญหาเรื่องนี้เช่นกัน ในเรื่องความเข้าใจความสำคัญของห้องสมุดระหว่างบรรณารักษ์ กับ ผู้บริหาร หาก สอดคล้องกันคือ ผู้บริหารกับบรรณารักษ์เข้าใจในกระบวนงานของห้องสมุด ผมคิดว่าห้องสมุดนั้นคงจะทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะว่าผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานต่างเข้าใจในกระบวนงาน แต่หากเกิดความไม่เข้าใจก็อาจจะส่งผลในทางตรงข้ามได้
ตัวอย่างเช่น

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ผู้บริหารก็มักจะถามว่าจำเป็นด้วยหรอ บรรณารักษ์ก็จะตอบว่าจำเป็น ผู้บริหารก็บอกว่าพัฒนาเองไม่ได้หรอ ทำไมต้องซื้อราคาแพงๆ บรรณารักษ์ก็บอกว่าพัฒนาเองได้ แต่คงไม่มีความเสถียรพอหรือใช้ไปอาจจะไม่เป็นมาตรฐาน เนื่องจากบรรณารักษ์ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ ผู้บริหารก็บอกต่อว่างั้นก็ให้โปรแกรมเมอร์เป็นคนออกแบบสิ โปรแกรมเมอร์ก็ออกแบบมาให้ บรรณารักษ์ใช้ไม่ได้เนื่องจากโปรแกรมเมอร์ก็ไม่เข้าใจกระบวนงานของบรรณารักษ์ ที่แน่ๆ โปรแกรมเมอร์คงไม่รู้จัก MARC Format พอออกแบบเสร็จก็เลยเกิดปัญหาตามมาต่างๆ แทนที่จะได้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติก็เลย ต้องรอต่อไปครับ…..นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆ

ปัญหานี้คงแก้ได้ไม่ยาก หากผู้บริหารและบรรณารักษ์ต้องพยายามปรับความคิดให้เข้าหากันเนื่องจากห้องสมุดก็เป็นแหล่งเรียนรู้ของทุกคกๆ คน ไม่มีใครที่สำคัญกว่าผู้ใช้บริการของพวกเราถูกมั้ยครับ ทีนี้เลยอยากทราบว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการของเราเคยเจอปัญหานี้บ้างมั้ย มีอะไรแนะนำกันบ้างนะครับ เพื่อวงการบรรณารักษ์และการพัฒนาห้องสมุดอย่างยั้งยืน……

ขอบคุณสำหรับทุกความคิดล่วงหน้าครับ

ปล. ส่งท้ายด้วยบทความเกี่ยวกับเรื่อง เล่าเรื่อง การจัดตั้งห้องสมุดอุดมศึกษา โดย Chelie M. harn Cooper ลองอ่านดูนะครับเป็นบทความของเว็บวิชาการ 2 หน้าที่พูดถึงเรื่อง การการดำเนินงานห้องสมุดในระดับสากล และ วิสัยทัศน์ ของผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับห้องสมุด

หมายเลขบันทึก: 176749เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2008 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาทักท้าย

สวัสดีครับ

อย่างว่าละครับเป็นของคู่กัน ต้องมาปรึกษาหา รือกัน เพื่อการพัฒนาการศึกษา งานของสถาบันต่อไป

สวัสดีค่ะ

เข้า G2K มา วันนี้ดีใจที่สุดค่ะ ที่เจอคุณ Projectlib in Gotoknow

อยากบอกว่าเป็นแฟนเว็บไซต์ความรู้ของคุณมาตลอดค่ะ ที่ http://projectlib.wordpress.com/

ไม่ได้เป็นบรรณารักษ์หรอกนะคะ ทำงานข้างๆ บรรณารักษ์ ได้เปิดมุมมองห้องสมุดที่ไม่น่าใช่ห้องสมุดแล้ว ได้เยอะมากจากคุณค่ะ ขอบคุณนะคะ

ก็ถูกของคุณ Projectlib in Gotoknow ที่บอกว่าผู้บริหารไม่เข้าใจระบบห้องสมุดว่าทำไมต้องซื้อมาใช้พัฒนาเองไม่ได้หรือ ครั้งแรกที่ผมเข้ามาทำงานที่ห้องสมุด(หมายเหตุในมุมมองของนักคอมพิวเตอร์ครับ) ก็คิดว่าโปรแกรมห้องสมุดก็คงมีอะไรไม่มากก็แค่ยืม-คืน เช็คหนังสือเข้า-ออกเท่านั้น มีเพื่อนๆในวงการคอมพิวเตอร์ก็บอกว่าทำไมไม่พัฒนามาใช้เองหละ พอได้เข้ามาสัมผัสก็รู้ว่ารูปแบบformat ที่เป้นมาตราฐานในระบห้องสมุดที่ใช้กันทั่วโลกนั้นของก็คือ MARC Format ทำให้ผมจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ กับมันอีกทั้งระบบห้องสมุดที่ทางมหาวิทยาลัยจัดซื้อมาให้ใช้ด้วย ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกับบางแห่ง เช่น INNOPAC, VTLS , HORIZON, ALIS FOR WINDOW หรือ อื่นๆ ที่รัฐบาลได้จ้างมหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นมา ผมเรียกว่า ระบบห้องสมุดแห่งชาติ เช่น ของ ม.วลัยลักษณ์ , ม.สงขลานครินทร์ และม.อื่นๆ (ตอนนี้ไม่ทราบว่าไปถึงไหนครับ) ลองเข้าไปดูความเคลื่อนไหวได้ที่ http://www.thailis.or.th/ ตอนนี้ไม่เฉพาะ Marc เท่านั้นที่ต้องเรียนรู้ Meta Data อีกที่ต้องรู้เพื่อจัดทำลงรายการวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม เออเอาเข้าไป ดีที่คุณจบบรรณารักษ์นะครับผมสิไม่รู้เรื่องใหญ๋เลยต้องทำหน้าที่เป็นล่ามค่อยอธิบายกับผู้บริหารที่ไม่ค่อยเข้าใจด้วย หากต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เข้ามาดูได้ที่ นี่นะครับhttp://library.psru.ac.th หรือที่ http://gotoknow.org/planet/e-library

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท