โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ความกลัว...สิ่งที่ยากจะเพชิญ


"เราไม่สามารถเปลี่ยนอดีตได้ และเราก็มักคาดการอนาคตอย่างกังวล แต่สิ่งสำคัญคือการอยู่กับปัจจุบันให้ดีที่สุด พี่ทำดีที่สุดแล้ว ผมเชื่อว่าคุณแม่เข้าใจ และคุณแม่เป็นห่วงคุณมาก ท่านเข้าใจทุกอย่าง หากคุณจะช่วยคุณแม่ได้ คือทำให้แม่สบายใจ โดย หยุดร้องไห้และใช้เวลาที่เหลือให้คุ้มค่า และผมเชื่อว่า คุณจะไม่ต้องรู้สึกผิดอีก"

เมื่อวานผมได้พบกับเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับชื่อเรื่อง คือ "ความกลัว" จากครอบครัวของผู้ป่วย 2 ครอบครัว ที่มีความกลัวที่ เหมือน แต่ แตกต่าง

ครอบครัวแรก

เป็นผู้ป่วยหญิงอายุ 68 ปี เป็นมะเร็งเต้านมระยะสุดท้ายและโรคดื้อต่อทุกการรักษา เรื่องราวของเธอถูกเล่าไว้ก่อนแล้วในตอน รักนิรันดร์ ผู้ป่วยมีสามีคู่ทุกคู่ยากที่อยู่กันมากว่า 50 ปี เราเยี่ยมเยียนผู้ป่วยหลายครั้ง อาการผู้ป่วยแย่ลงเรื่องๆ และสิ่งที่พบคือ ผู้ป่วยทุกข์ทรมานมากจากความกลัว ถึงแม้ผู้ป่วยจะมีครอบครัวที่ดีมาก-สามีดูแลตลอด (จนไม่ยอมหลับยอมนอน)

ทุกวันศุกร์ที่ผมไปเยี่ยม แกจะพูดว่า "ขอหมอจ่วยเตอะ" ผู้ป่วยบอกเล่าถึงความทรมาน เล่าถึงความทุกข์ (ผมให้การรักษาอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะยาแก้ปวดหรือยาบรรเทาอาการใด ๆ แต่ดูเหมือนมันจะไม่สามารถลบความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยลงได้) แกบอกว่าแกเฝ้ารอผมทุกวันศุกร์ หลังจากผมตรวจคนไข้เสร็จก็จะไปเยี่ยมแก

คำถามที่ผมถามประจำคือ "ป้ากลัวไหม" และ "ป้ากลัวอะไร" คำตอบเป็นแบบเดิมมา 2 เดือนแล้ว คือ "กลัวที่สุด" และ "กลัวตายละลูกละผัว" ผู้ป่วยร้องขอชีวิตจากผม ขอให้ผมช่วยให้แกไม่ต้องตาย

ดูจะเป็นคำขอที่สร้างความ สั่นสะเทือน เข้ามาใน ตัวตน ของผมอย่างแรง

"แล้วถ้าเป็นท่านผู้อ่านเจอเหตุการณ์นี้ ท่านจะตอบคุณป้าอย่างไร?"

ส่วนผมเองเลือกที่จะตอบว่า "ผมจะดูแลป้าอย่างเต็มที่" และจับมือป้าไว้

จนในสัปดาห์ที่แล้วคุณป้าร้องไห้ออกมาด้วยแกจับมือผมแน่น ผมคิดว่าคงไม่มีอะไรดีไปกว่าโอบไหล่แก แล้วบอกว่า "ไม่เป็นไร"(นัยว่า แกไม่ได้อยู่คนเดียว)

ในใจผมได้เรียนรู้จากคุณป้าว่า ความกลัวนั้นแท้จริงยากจะเพชิญ คุณป้ามิได้กลัวความตายแต่อย่างใด

สิ่งที่กลัวจริง ๆ คือการต้องสูญเสียตัวตนไป และ การร้องขอชีวิต เป็นเพียงเสียงเรียกแห่งความโดดเดี่ยว (ทั้งที่อยู่ท่ามกลางผู้คนที่รักและปราถนาดี) เป็นเสียงแห่งความยึดมั่นในอัตตาอย่างเหนียวแน่นชนิดที่ ถึงแม้มัจจุราชมายืนเบื้องหน้าก็ยังมิสามารถปล่อยวาง

ครอบครัวที่ 2

เป็นคนต้นเรื่องจาก จะรักษาต่อดีไหมคะหมอ? (medical ethical issue) ตอนที่ 1 และ จะรักษาต่อดีไหมคะหมอ? (medical ethical issue) ตอนที่ 2 

คุณป้าอายุ 64 ปี เป็นมะเร็งปอดและตัดสินใจหยุดยาเคโมมาได้ 3 เดือน ปรากฏว่า หน้าบวม+แขนขวาบวมอันเกิดจากก้อนมะเร็งปอดและต่อมน้ำเหลืองกดเส้นเลือดดำที่รับเลือดจากคอและแขน (SVC syndrome) ทีมเราถามคุณป้าอีกครั้งว่า จะไปเคโม/ฉายแสงอีกครั้งหรือไม่ ผู้ป่วยปฏิเสธ ตอนนี้เราใช้ยาขับปัสสาวะและสเตียรอยด์ ก็ไม่ได้ผม คุณป้าเข้าใจโรคของตัวเองดี และรับได้ "ถ้าไม่หายก็ไม่เป็นไร" เป็นประโยคที่แกใช้ แต่คุยยายห่วงลูกสาวคนที่ 2 ที่ร้องไห้ตลอดเมื่อเจอหน้าคุณป้า แกห่วงลูกสาวมาก ว่าเขาจะทำใจได้หรือไม่ พี่สาวคนโตและน้องชายคนที่ 3 ก็พยายามบอกให้น้องสาวทำใจแต่ก็โดยน้องสาวต่อว่า ว่าแช่งคุณป้า

แล้วสุดท้ายผมเสนอความว่าลองให้ลูกสาวคนรองมาคุยกับผม (ผมคุ้นเคยกับครอบครัวนี้ ) การสนทนานี้เกิดขึ้นในคลินิกส่วนตัวของผม

ลูกสาวคนป้า " แม่แย่ลงเร็วมาก และหน้าตาเปลี่ยนไปมาก"

ผม "พี่รู้สึกยังไง"

ลูกสาวป้า "ถ้า 2 ปีที่แล้วตอนที่ตรวจพบจุดที่ปอดแม่ แล้วผ่าตัด+เคโม เหตุการณ์คงไม่เป็นอย่างนี้ เราไม่น่าเชื่อหมอว่าเป็นแค่แผลเป็นในปอด (เธอพาแม่ไปตรวจที่พิษณุโลกเพื่อตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจพบจุดที่ปอด) ถ้าวันนั้นเรายืนยันให้หมอดูให้ละเอียด แม่คงไม่เป็นอย่างนี้" (หลังจากนั้นเธอก็ร้องไห้สักพัก)

ผม "พี่รู้สึกว่าเป็นความผิดของพี่"

ลูกสาวป้า "ถ้าเราพาแม่ไปตรวจละเอียดคงไม่เป็นอย่างนี้"

ผมย้อนถาม "ถ้า 2 ปีที่แล้วเกิดตรวจพบมะเร็งแล้วรักษา แต่ผ่าตัดแล้วเกิดความผิดพลาดคุณยายเป็นอะไรไปตอนนั้น พี่จะเป็นอย่างไร"

สีหน้าเธอดูนิ่ง และเธอเงียบไป

ผมถามต่อ "2 ปีที่ผ่านมา แม่มีความสุขไหม"

เธอตอบ "เราดูแลแม่อย่างดี กินข้าวด้วยกันทุกเย็น แม่มีความสุขมาก"

ผม "แล้วในเวลานั้น พี่ทำดีที่สุดแล้วหรือยัง การรักามะเร็งในผุ้สูงอายุมีความเสี่ยงสูง และ เป็นไปได้ไหมว่าหากรักษามะเร็งในวัย 62 ปี(สองปีก่อน) อาจทำให้ความสุขในสองปีนี้หายไป" เธอนิ่งเงียบ แต่หยุดร้องไห้

ผม "เราไม่สามารถเปลี่ยนอดีตได้ และเราก็มักคาดการอนาคตอย่างกังวล แต่สิ่งสำคัญคือการอยู่กับปัจจุบันให้ดีที่สุด พี่ทำดีที่สุดแล้ว ผมเชื่อว่าคุณแม่เข้าใจ และคุณแม่เป็นห่วงคุณมาก ท่านเข้าใจทุกอย่าง หากคุณจะช่วยคุณแม่ได้ คือทำให้แม่สบายใจ โดย หยุดร้องไห้และใช้เวลาที่เหลือให้คุ้มค่า และผมเชื่อว่า คุณจะไม่ต้องรู้สึกผิดอีก"

ทั้งสองครอบครัวเจอถานการณ์ที่แตกต่างกันแต่เพชิญกับสิ่งเดียวกันคือ ความกลัว ต่างกันแค่ว่า คนที่กลัวคือใคร ผมคิดว่า สิ่งสำคัญในเวลาแห่งการเพชิญความกลัว คือ การเดินเคียงข้าง (ไม่ใช่วิ่งนำ) และ บ่งเพาะปัญญาของเราเองให้เข้าใจความจริงของโลก เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาโดยที่เราอ่อนแอ และยิ่งเราขาดปัญญา(wisdom) เราจะช่วยลดทุกข์เขาได้อย่างไรหากใจเรายังทุกข์อยู่

ส่วนที่เหลือ ชีวิตจะจัดการตัวเอง ตาม สติ-ปัญญา ของปัจเจกบุคคล แต่เหนือสิ่งอื่นใด "รับฟังโดยไม่ตัดสิน" เป็นเครื่องมืออันทรงพลังแห่งการเยียวยา

หมายเลขบันทึก: 176583เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2008 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 23:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

     เข้ามารายงานตัวและสัญญาว่าจะตามอ่านบันทึกที่มีคุณค่าของหมอโรจน์ต่อไปไม่ให้ขาดครับ และขออนุญาตที่จะนำไปถ่ายเพื่อเป็นคน/เรื่องต้นแบบ ของการเล่าเรื่องนะครับ 

สวัสดีครับพี่ชายขอบ

สวัสดีวันสงกรานต์ครับ

เป็นบันทึกที่น่าสนใจและมีประโยชน์ครับ

ขอนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อใน Planet ครับ

สวัสดีปีใหม่ไทยครับคุณหมอโรจน์

ผม อ.ป๊อป เชี่ยวชาญทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคมครับ

สวัสดีวันสงกรานต์

P

ยินดีแลกเปลี่ยนครับอาจารย์
P
 Ajarn Dr. Pop
ผมแวะเข้าไปเยี่ยมใน blog อาจารย์เช่นกันครับ

·     วันสงกรานต์ ชวนให้ สำราญจิต

·     ชวนลิขิต ให้มวลมิตร คิดสร้างสรรค์

·     สงกรานต์นี้ ชวนทำดี  ดีทุกวัน

·     ร่วมสร้างสรรค์ ร่วมกันสร้าง พลังใจ

·     สุขสันต์วันสงกรานต์ค่ะ

สวัสดีคะ คุณหมอโรจน์

อ่านแล้ว สะท้อนหลายแง่มุมของชีวิตเหลือเกินคะ

ขอบคุณมากคะ ที่นำมาแบ่งปัน

สวัสดีครับ

P

คุณ มะปรางเปรี้ยว  ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท