ผลการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพเท้าที่โรงพยาบาลเทพธารินทร์ วันที่หก


ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง Vaccum Dressing

       19กพ.49 วันนี้คาดหวังไว้จะได้ฝึกปฏิบัติการขูด Callus  การตัดเล็บ การลดแรงกดที่แผล และเท้า การดูแลแผลการทำความสะอาดแผล  ฝึกการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการดูแลเท้าแก่ผู้ป่วยวันนี้ก็เป็นอีกวันที่หวั่นว่าจะไม่มี case ให้ฝึกปฏิบัติ พอมาตอนเช้ามี Case มารับรองเท้า2 case พอดีคุณกิ่งเพชรติดต่ออาจารย์ นพ.ทวีศักดิ์ให้นัดไปเรียนรู้เรื่องการทำแผลโดยวิธี vaccum dressing เวลา 09.00น. ไปพบท่านที่ ER (มีผู้มารับบริการค่อนข้างมาก) ท่านอาจารย์กรุณาให้ความรู้เกียวกับเรื่อง Vaccum dressing อาจารย์ได้อธิบายวิธีการทำก็เพื่อวัตถุประสงค์คือ การ drain เอาของเสียออกจากแผลเพื่อไม่ให้มี Discharge ขังอยู่ โดยแผลยังมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา  และลดความถี่ในการทำแผลลง ซึ่งแล้วแต่สภาพของแผล วิธีการทำมีดังนี้
1.       ทำแผลแบบ Wet dressing
2.       ปิดแผลชิ้นแรกด้วยฟองน้ำละเอียดที่ผ่านการ Sterilization แล้ว 2 ชิ้น
3.       วางสาย NG. tube  No. 14-16 ระหว่างฟองน้ำทั้ง 2 ชิ้น
4.       ปิดแผลทั้งหมดให้เป็นระบบ Close system โดยใช้ Ioban ปิด ให้เป็นสุญญากาศ
5.       ต่อปลาย NG. tube อีกข้างเข้ากับ Contineous  vaccum ใช้ Pressure 100-120 mmH2o ให้ดูต่อเนื่อง ยกเว้นลุกไปห้องน้ำ ห้ามแผลเปียกน้ำ
6.       เปิดทำแผลและประเมินทุก 3-5 วัน และ/หรือตามสภาพของแผล
  การทำ Vacuum dressing ฟังจากที่อาจารย์เล่าให้ฟังคาดว่าจะสามารถทำได้ง่ายในทุกโรงพยาบาลพุทธชินราช และทราบว่าทางหอผู้ป่วยศัลยกรรมของเราก็เริ่มนำไป ปรับใช้แล้ว ซึ่งมีประโยชน์ในการลดระยะเวลาทำแผล ไม่ต้องเปิดทำแผลบ่อย อาจสามารถเปลี่ยนได้ทุก 3 วัน ที่สำคัญเพื่อให้เป็นการ  healing ที่รวดเร็ว อุปกรณ์ประกอบด้วย   NG tube ที่ทุกโรงพยาบาลมีอยู่แล้ว  ฟองน้ำ  แผ่น Ioban ที่ใช้คลุมแผลเป็น close system(อาจหาอุปกรณือื่นประยุกต์แทน)เครื่อง  suction ทีมีในโรงพยาบาลอยู่แล้ว ขวด Vaccum drain ก็มีใช้ในการผ่าตัดศัลยกรรมอยู่แล้ว 
         เวลา10.30-12.00นได้ไปฟังวิชาการที่ถ่ายทอดจากรพ.ภูเก็ตมายังรพ.เทพธารินทร์ และรพ.ร้อยเอ็ด เรื่อง กินอย่างมีกึ๋น โดย ศ.นพ.เทพ หิมะทองคำ ,อ.ศัลยาและคณะ (ได้ความรู้และยังเห็นเทคโนโลยีใหม่ๆด้วย ) และยังได้หนังสือปณิธานของศ.นพ.เทพ  หิมะทองคำ มาด้วยซึ่งเนื้อหาสาระมีคุณค่ามาก
        ช่วงบ่ายมี case เล็บขบ และ Callus มารับบริการอีก 3 ราย มีแผลใต้ Callus ด้วยได้สังเกตการณ์ การทำหัตถการ เกี่ยวกับเรื่องการตัดเล็บขบ การขูด Callus การทำแผล การ off loading ด้วย Felted foam ทั้งคุณกิ่งเพชรและคุณกวาง ได้ให้ความรู้ คำแนะนำเป็นรายๆ ไปตามปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ ทั้งเรื่องเกี่ยวกับการดูแลเท้า การดูแลเล็บ การทำแผล การดูแลแผลที่เท้า พร้อมทั้งความรู้เกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติตัวด้านอื่นๆไปด้วยโดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน  แม้ว่าจะไม่ได้ฝึกให้การแนะนำด้วยตนเอง แต่ก็ได้แนวคิดใหม่ๆ วิธีการ หรือเทคนิคการให้ความรู้แก่ผู้รับบริการ เพื่อนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้
        วันนี้แม้ว่าไม่ได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองแต่ก็ได้เห็นรูปแบบ ตัวอย่าง จากพี่ๆ และอาจารย์ก็นับว่าเป็นไปตามความคาดหวังส่วนหนึ่ง  ซึ่งบางส่วนต้องอาศัยการเรียนรู้อีกมาก  ส่วนทีเกินความคาดหวังคือการได้รับรู้เกี่ยวกับวิชาการ ที่ Update อยู่ตลอดเวลา  ทำให้ต้องตระหนักว่าจะต้องศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาถ้ามัวหยุดอยู่กับที่ก็จะทำให้ไม่ทันโลกในปัจจุบันเสียแล้วโดยเฉพาะเทคโนโลยีต่างๆ จำเป็นต้องเรียนรู้เสียแล้ว

    ทับทิม   ผู้บันทึก

หมายเลขบันทึก: 17639เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2006 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 03:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ดีนะทับทิม บันทึกไว้แบบนี้ไม่ลืมแน่ บางคนคิดว่าจำได้อยู่ในหัว พอเอาเข้าจริงก็เรียกคืนมาไม่ได้ ทำต่อไปเรื่อยๆจ้ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท