วันที่หมูขี่เสือ


จะขี่เสือได้อย่างสบายใจนั้น หมูอย่างฉันต้อง “รู้เท่าทันตัวเสือ” เสียก่อน

โอย…ตื่นเต้นจัง

วันนี้ฉันตื่นเช้าขึ้นมาด้วยความรู้สึกตื่นเต้น ในที่สุดวันที่รอคอยก็มาถึงจนได้หลังจากนับวันตั้งหน้าตั้งตารอ รอ..ร้อ..รอ

หลังจากที่ดูรายการกบนอกกะลา ทางช่องเก้า วันที่ “พี่กบ” ไปขี่จักรยานเสือภูเขา ท่องเที่ยวเมืองจีนและเมืองลาว เมื่อสองสามอาทิตย์ก่อน ฉันก็หวังไว้ในใจลึกๆว่า ถ้ากบขี่เสือได้แล้ว หมูน้อยๆกลอยใจอย่างฉันก็ไม่น่าจะพลาด น่าจะลองขึ้นบนหลังเสือดูเหมือนกันนา

ในที่สุดฝันของฉันก็เป็นจริง เมื่อโครงการสื่อสร้างสรรค์สุขภาพ ชุดโครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพ ร่วมกับมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ริเริ่มจัดกิจกรรมปั่นจักรยานและสรรค์สร้างของเล่นเพื่อสุขภาพ ณ จังหวัดลำพูนขึ้น นับเป็นโอกาสอันดีและเป็นครั้งแรกในชีวิตที่หมูอย่างฉันจะขึ้นขี่บนหลังเสือ ควบจักรยานเสือภูเขาไปไหว้พระและหัดทำของเล่นพื้นบ้าน

แต่เอ… ในเมื่อเป็นครั้งแรกที่หมูจะได้ขี่เสือ มีอะไรบ้างนะที่เราจะต้องมาทำความรู้จักกัน เพื่อไม่ให้หมูแสนสวยอย่างฉัน กลายเป็นหมูหกคะล้มคะเมนเพราะเจอกับอิทธิฤทธิ์ของเสือเข้า

เอาละก่อนที่จะได้ไปร่วมกิจกรรม ฉันต้องเตรียมตัวเองก่อน เริ่มต้นด้วยการนึกทบทวนย้อนเวลาหาอดีตถึงวันที่ฉันดูพี่กบขี่เสือ ประสบการณ์จากพี่กบนอกกะลา สอนให้ฉันเรียนรู้ว่า จะขี่เสือได้อย่างสบายใจนั้น หมูอย่างฉันต้อง รู้เท่าทันตัวเสือ” เสียก่อน อูย…รู้เท่าทันเสือนี่มันยังไงหนอ เสียก่อน อูย…รู้เท่าทันเสือนี่มันยังไงหนอ

อย่างแรกเลย ก่อนจะขี่เสือก็ต้องเลือกเสือตัวที่จะขี่ให้ดีๆเสียก่อน พี่กบนอกกะลาได้บอกไว้ว่า เวลาเลือกจักรยานมาขี่ก็เหมือนกับเวลาที่เราซื้อเสื้อแบบที่ต้องสั่งตัดนั่นแหละ ต้องมีการวัดสัดส่วนก่อน เสื้อผ้าออกมาจะได้พอดีตัวมากที่สุด ไม่โคร่ง ไม่คับ จะเลือกเสือมาขี่ก็ต้องวัดตัวเหมือนกัน ฉันต้องไปวัดความสูงของลำตัวและวัดความสูงของช่วงขา พี่คนขายเสือจะได้ปรับแฮนด์ปรับความสูงของเบาะนั่งให้พอเหมาะพอเจาะกับสัดส่วนของฉัน ไม่งั้นแล้ว เวลาขี่เสือขึ้นเขาหรือขี่ไปนานๆ ฉันอาจงั่กได้เหมือนกับเวลาใส่เสื้อไม่พอดีตัว

อย่างที่สอง พี่กบบอกว่า เวลาขี่ก็ต้องมีการวางท่าเหมือนกันนะ ทั้งท่าวางแขน ท่าลำตัวและท่าวางขา พี่กบยังบอกอีกว่า ท่าเหล่านี้ ถ้าจะให้ดีต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูให้ ว่าเราวางท่าได้ตามที่กำหนดและวางท่าได้ถูกหรือยัง เพื่อให้เราสามารถขี่เสือได้อย่างสบายๆ ไม่ต้องหล่นจากหลังเสือก่อนเวลาอันควร

ข้อที่สามสำหรับการรู้ทันเสือ ก็คือฉันต้องรู้จักวิธีการปฐมพยาบาลพี่เสือที่ฉันขี่เวลาที่เขาบาดเจ็บขึ้นมาด้วย ฉันจำได้ว่า ข้อนี้พี่กบย้ำมาก น้ำเสียงที่สุดแสนจะจริงจังของพี่กบยังดังก้องอยู่ในหัวของฉันว่า ก่อนขึ้นขี่เสือ น้องหมูคนดีของพี่ต้องสำรวจอุปกรณ์ต่อไปนี้ก่อน อุปกรณ์พร้อม ยางใน (มีค่ะ) ท่อสูบลม (มีค่ะ) โซ่สำรอง (มีค่ะ) น้ำมันหยอดโซ่ (มีค่ะ)” ที่สำคัญเมื่อมีอุปกรณ์พร้อมแล้ว ต้องปะต้องเปลี่ยนให้เป็นด้วยเน้อ.. ถ้าพี่เสือล้มเจ็บแล้วต้องอย่าทิ้งให้พี่เสือต้องเจ็บแต่เพียงลำพังนะ ต้องรักและดูแลพี่เสือด้วย เขาจะได้อยู่ให้เราขี่ไปนานๆ ที่สำคัญเมื่อมีอุปกรณ์พร้อมแล้ว ต้องปะต้องเปลี่ยนให้เป็นด้วยเน้อ.. ถ้าพี่เสือล้มเจ็บแล้วต้องอย่าทิ้งให้พี่เสือต้องเจ็บแต่เพียงลำพังนะ ต้องรักและดูแลพี่เสือด้วย เขาจะได้อยู่ให้เราขี่ไปนานๆ

ที่สำคัญเมื่อมีอุปกรณ์พร้อมแล้ว ต้องปะต้องเปลี่ยนให้เป็นด้วยเน้อ.. ถ้าพี่เสือล้มเจ็บแล้วต้องอย่าทิ้งให้พี่เสือต้องเจ็บแต่เพียงลำพังนะ ต้องรักและดูแลพี่เสือด้วย เขาจะได้อยู่ให้เราขี่ไปนานๆ

พี่กบยังเล่าให้ฉันฟังอีกว่า สามข้อแรกนะ..เป็นสามข้อที่น้องหมูต้องรู้ทันเสือ แต่สามข้อหลังนี้ที่พี่จะบอก เป็นข้อที่หมูน้อยกลอยใจของพี่ต้อง รู้เท่าทันตัวเอง”

ข้อหนึ่งพึงจำ คือ การรู้เท่าทันสภาพร่างกายของตนเอง ขี่มานานแล้วยังขี่ไหวหรือเปล่า บางทีต้องขี่เสือขึ้นเขาลงห้วย ถ้าไม่ไหวจริงๆก็ลงจูงพี่เสือเดินแทนก็ได้ ใครๆก็ทำกัน เพราะบางทีเรายังนึกว่าเราขี่ไหว แต่จริงๆ ร่างกายไม่ไหวแล้วก็มี

ข้อสองก็ต้องจำ คือ ต้องมีการเสริมพลังระหว่างขี่ด้วย เตรียมน้ำเปล่าใส่เป้ไว้เลย แล้วก็อาหารหวานๆช่วยเสริมพลังปั่นอย่างกล้วยตากแห้ง อาหารพื้นบ้านแต่ให้พลังสูงยิ่งกว่าอาหารเสริมที่มาจากเมืองนอกราคาแพงๆเสียอีก

สำหรับข้อสาม พี่กบบอกว่า นี่ยิ่งต้องจำและต้องรู้ก่อนขี่ก็คือ ต้องรู้กฎ กติมารยาทของการขี่เสือและกฎจราจรบนท้องถนน เราจะได้ขี่เสือกันอย่างปลอดภัย

เอาละ เอาละ… ตอนนี้หมูอย่างฉันก็เรียนรู้เท่าทันตัวเองและรู้เก่งจะขี่เสือแล้ว ตื่นเต้นจัง จั๊ง จัง… ตวัดกีบน้อยๆ อุ้ยไม่ใช่.. ตวัดเท้าก้าวคร่อมเสือ ยื่นสองแขนเกาะกุมมั่นที่แฮนด์ เอาก้นหมูวางลงที่หลังเสือเบาๆ วางลำตัวเอน 45 องศา เท้าแตะที่ปั่น ฉันพร้อมจะไปแล้วน้า…

แต่ว่าช้าก่อน… โชคดีของฉัน ที่พี่ๆจากโครงการสื่อสร้างสรรค์สุขภาพ ได้เชิญคุณลุงจันทร์ และคุณป้าพรพรรณ เขียวพันธ์จากชมรมหนูรักจักรยาน สองสามีภรรยาผู้รักจักรยานและฝันใฝ่จะใช้จักรยานสร้างเด็กให้เป็นคนดีมาสอนเพื่อนๆและฉันถึงสิ่งสำคัญเวลาที่เราจะขี่จักรยานด้วย

คุณลุงจันทร์บอกฉันว่า สิ่งสำคัญสำหรับหมูหน้าใหม่ผู้ริจะขี่เสือที่ต้องเรียนรู้ด้วยก็คือ การล้มให้เป็นนะหลาน… เวลารถจักรยานล้ม หลานต้องไม่เอาข้อมือลง ให้เอาหัวไหล่ หรืออวัยวะที่คิดว่าหนาของร่างกายลงแทน เผื่อจะได้บาดเจ็บน้อยลง แล้วถ้าเกิดหลานล้มจริงๆนะ หลานต้องล้มแบบเอียงตัวมาทางซ้ายมือเสมอ เผื่อเราไปขี่บนถนน รถใหญ่จะได้ไม่มาทับเราได้

สำคัญที่สุดคือ หลานหมูต้องมีสมาธิเวลาขี่จักรยาน ถ้าปั่นกันไปคุยกันไป ใจเราไม่อยู่คุมเสือ พี่เสืออาจจะถือโอกาสแผลงฤทธิ์ ดิ้นหลุดจากตัวเราจนเกิดอุบัติเหตุได้นะหลาน

เอาละ.. คุณลุงคุณป้าให้สัญญาณว่า หมูน้อยลองขี่พี่เสือดูได้แล้วลูก

สองตาของฉันมองมุ่งไปข้างหน้า สองมือเกาะกุมมั่นที่แฮนด์ เท้าค่อยๆปั่นให้จักรยานพี่เสือเคลื่อนตัวออกไป อุ้ย..มีการเซเล็กน้อย ตั้งสติดีๆนะเรา คุมใจที่กำลังตื่นเต้นตึ๊กตั๊กให้ได้ อืมม… สายลมที่โชยพัดผ่านขณะที่ฉันปั่นพี่เสือ มันช่างชื่นใจดีเสียจริงๆ

บ๊ายบาย ไปแล้วน้า…

 

นิษฐา หรุ่นเกษม

โครงการสื่อสรรค์สุขภาพ ชุดโครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพ

คำสำคัญ (Tags): #จักรยาน
หมายเลขบันทึก: 17634เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2006 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท