รวมบริการประสานภารกิจ ตัวเดินเรื่องKMมวล.


คุณค่าและจิตวิญญาณของการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่ต้องหลอมสร้างให้เกิดขึ้นเป็นหนึ่งเดียวกัน

พักนี้ ผมมีเรื่องให้ข้องเกี่ยวกับกลไกการจัดการทั้งภาพใหญ่ที่แสดงความเห็นไว้ใน
การบริหารจัดการประเทศไทย
และภาพเล็กลงมาในเรื่อง "แนวทางในการจัดสวัสดิการสังคมเชิงพื้นที่"


เมื่อวานซืน ผมมีโอกาสเข้าร่วมหารือเพื่อเตรียมจัดประชุมชวนคิดชวนคุย ปัจจัยสำเร็จและเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการในการทำงานเพื่อให้บรรลุพันธกิจ4ด้านของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์       บนหลักการ
รวมบริการประสานภารกิจ
กับทีมงานของหน่วยพัฒนาองค์กร
โดยที่เมื่อวานเป็นการประชุมระดมความเห็นใน2ประเด็นดังกล่าว
ทีมงานเชิญผู้บริหาร อาจารย์และเจ้าหน้าที่จากทุกส่วนงานมาร่วมหารือกัน โดยมีอธิการบดีเปิดประชุมและให้หลักคิด/ความหมายของการ
รวมบริการประสานภารกิจ
จากนั้นจัดแบ่งเป็น5กลุ่มย่อย ผมเป็นทีมคุณอำนวยในกลุ่มที่2  ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภารกิจวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมจากสำนักเทคโนเกษตรฯ สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์บริการวิชาการ และสถาบันวิจัยพัฒนา ร่วมวงพูดคุยจำนวน 10 คน
ทีมงานกำหนดให้ใช้บัตรคำในการแสดงความเห็น โดยแบ่งเวลาช่วงแรก20นาที  ให้ทุกคนได้พูดถึงเรื่องราวว่าด้วย
รวมบริการประสานภารกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ก็นำเสนอให้เห็นอุปสรรคหรือข้อติดขัดในการทำงานร่วมกัน จากนั้นก็ให้แต่ละคนเขียนความคิดลงในบัตรคำในสิ่งที่ตัวเองเห็นว่าเป็นปัจจัยสำเร็จและเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการตามหลักการ รวมบริการประสานภารกิจ เพื่อให้มหาวิทยาลัยดำเนินพันธกิจ4ด้านที่มีต่อสังคมอย่างมีประสิทธิภาพคือประหยัดและมีคุณภาพ
ในกลุ่มผมเมื่อนำบัตรคำมาจัดหมวดหมู่สรุปได้เป็น4เรื่องคือ
1)คนทำงานต้องมีใจบริการ กล้าและเก่ง ทุ่มเททำงานเพื่อมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยต้องมีคนอย่างนี้ ต้องคัดคนแบบนี้หรือประเมินคนแบบนี้
2)ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองในหน่วยงาน รวมทั้งเข้าใจบทบาทของหน่วยงานและความเชื่อมโยงในภาพรวมทั้งระบบของมหาวิทยาลัยด้วย
3)ความเข้าใจต่อหลักการรวมบริการประสานภารกิจอย่างแท้จริง
4)ทบทวน รื้อฟื้นและปรับปรุง(จัดการ)กับระบบต่างๆให้ชัดเจน มีประสิทธิภาพ เช่น บทบาทของคณะกรรมการชุดต่างๆ การประชุม ระบบข้อมูล การสื่อสาร เป็นต้น
สุดท้ายที่เป็นภาพรวมของความเห็นคือ คุณค่าและจิตวิญญาณของการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่ต้องหลอมสร้างให้เกิดขึ้นเป็นหนึ่งเดียวกัน

ตอนหารือเตรียมประชุม ผมเสนอหน่วยพัฒนาองค์กรให้ทำกระบวนการโดยใช้ประเด็น "รวมบริการประสานภารกิจ"เป็นตัวเปิดงานKMเชิงการเปลี่ยนแปลงในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นความรู้ ทักษะการทำงาน ระบบงานและวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งผมเคยเสนอแนวคิดนี้ตั้งแต่เริ่มงานKMในมหาวิทยาลัย ให้เปลี่ยนจากtraining mode เป็น learning mode และเป็น learning mode ที่ผูกติดกับหน้างานของเจ้าหน้าที่สนับสนุนในส่วนงานต่างๆ หน้างานของอาจารย์ และหน้างานของผู้บริหารในระดับต่างๆ เพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จที่ตั้งเป้าหมายรายทางตามวิสัยทัศน์ที่วาดฝันไว้
มาคราวนี้ ช่วงทานข้าวเที่ยงหลังเสร็จสิ้นการประชุม ผมเสนอเมย์(น้องbloggerคนเก่งของมวล.             ที่ประสานให้ผมร่วมเป็นทีมคุณอำนวยด้วย)ให้ผลักดันการเคลื่อนงานอย่างไม่เป็นทางการในโครงสร้างหน้าที่เชิงระบบด้วย ซึ่งผมเคยเขียนเสนอไว้ในบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากสกว.คือ
ให้รองอธิการบดีทุกคนนำเสนอแผนงานขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ผ่านฐานการกำกับดูแลในส่วนงานของแต่ละรองฯ โดยให้แต่ละรองฯจัดกระบวนการเรียนรู้ตามฐานกำลังของตนเองโดยใช้ประเด็นรวมบริการประสานภารกิจเป็นตัวเดินเรื่อง เสมือนปฏิบัติการทอนวิสัยทัศน์เป้าหมายให้เห็นผลในเชิงการจัดการ โดยมีอธิการบดีเป็นประธานคุณเอื้อ
ถ้ามี4รองฯ ก็ให้4รองฯจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง(
learning)กับส่วนงานในสังกัด เปรียบเหมือนโมบายปลาตะเพียน ซึ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันต่างไปกันคนละทิศละทางโดยไม่รู้ว่าใครไปทางไหน มีเพียงธงชัยวิสัยทัศน์ที่เห็นลางเลือนว่ามหาวิทยาลัยจะเป็นองค์กรธรรมรัฐ เป็นหลักในถิ่นและเป็นเลิศสู่สากล
เราน่าจะใช้รูปแบบ/วิธีการจัดการที่เรียกว่า รวมบริการประสานภารกิจ เป็นตัวเดินเรื่อง เพราะให้ภาพพจน์ที่ดี เป็นศัพท์คุ้นชิน และที่สำคัญคือ เป็นประเด็นร่วมที่สามารถนำสู่การเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระดับกายภาพ จิตใจและลงลึกระดับจิตวิญญาณได้ดี

หมายเลขบันทึก: 176254เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2008 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คิดถึงพระอาจารย์ครับ

ลองว่าพระอาจารย์มาเป็นคุณอำนวยเอง ออกแบบการเรียนรู้เองอย่างนี้ ออกแบบเป็นวงเรียนรู้ต่างๆ มวล.ก็คงจะเห็นภาพรวมบริการประสานภารกิจอย่างแน่นอน แต่เอ วงเรียนรู้ต่างๆนี่เป็นของท่านพระอาจารย์เองที่ออกแบบให้โครงการชุมชนอินทรีย์จังหวัดนครศรีธรรมราชมิใช่หรือ....หรือจาก สกว. หรือส่วนไหนจาก สกว.

หากเข้าเมืองนครฯแวะจิบน้ำชาทานโรตีกันมั่งก็ดีนะครับ คิดถึง อยากปรึกษา

learning mode หรือ Mode อะไรก็ไม่ว่า แต่เอาให้จริงก็จะเอาด้วยช่วยกันครับ

learning mode หรือ Mode อะไรก็ไม่ว่า แต่เอาให้จริงก็จะเอาด้วยช่วยกันครับ

ระลึกถึงครูนงเช่นกันครับ

งานชุมชนอินทรีย์นครศรีธรรมราชมีข้อจำกัดในเชิงโครงสร้างและงบประมาณ เพราะจังหวัดไม่ใช่หน่วยจัดการ เป็นกองธุรการเสียมากกว่า

รัฐธรรมนูญปี2550และพรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฉบับที่7 พยายามแก้คอขวดตรงนี้ แต่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เนื่องจากยังติดที่พระราชกฤษฎีกาอีกขั้นตอนหนึ่ง

ตอนนี้เรามีศึกกลางเมืองภายใน3ด้านคือ การจัดแบ่งอำนาจที่เหมาะสมระหว่างภาคการเมือง ประชาชนและราชการ และในรายละเอียดก็ยังติดขัดกันเองภายในของแต่ละภาคส่วน เช่น ราชการส่วนกลางไม่อยากกระจายอำนาจมาที่ท้องถิ่นหรือมาที่จังหวัด เพราะอธิบดีก็จะมีอำนาจลดลง การเมืองก็แบ่งกันเป็น2ขั้ว ประชาชนก็แบ่งกันเป็นภาคนิยมดูถูกดูแคลนกัน

การบริหารจัดการของสกว.ให้ภาคีวิจัยเป็นหุ้นส่วนสำคัญ แม้ไม่ใช่คนของสกว.โดยตรง แต่ด้วยงบประมาณที่คล่องตัวและวัฒนธรรมการทำงานที่ไม่แสดงตัวเป็นเจ้าเงิน ก็สามารถขับเคลื่อนงานวิจัยให้เป็นโมบายปลาตะเพียนที่มีพลังได้

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นหน่วยจัดการเบ็ดเสร็จในตัวเอง น่าจะปรับเปลี่ยนได้ง่ายที่สุด

สวัสดีคะ พี่ภีม

-ขอบคุณสำหรับ ...ความร่วมมือ ที่จะร่วมสร้าง โดยไม่ลังเล

...ก้าวแรก ที่พี่ภีม ให้เกียรติร่วมเป็นทีมงาน

...คำแนะนะ ที่ชวนคิด ชวนเรียนรู้อยู่เสมอ

...บันทึกนี้ ที่ประมวลภาพของงานในวันนั้น และช่วยฝันภาพอนาคตที่เป็นประโยชน์มากที่จะก้าวต่อไป

-เม...เอาจริงแน่คะ พี่ภีม พี่เอก ร่วมด้วยช่วยกันนะคะ

-ช่วงนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล สรุปผล วางแผนต่อ และคงต้องขอคำแนะนำพี่ภีมอีกในครั้งต่อไปนะคะ

ขอบคุณคะ

น้องเม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท