กองทุนสุขภาพตำบล:เมื่องบส่งเสริมสุขภาพไปอยู่ที่ อบต.(ตอน 2เรียนรู้จาก อบต เขาเจียก)


การทำงานต้องทำให้ยั่งยืน การที่จะยั่งยืนได้ ทุกคนต้องมีความรู้สึกว่าเค้าเป็นเจ้าของ และมีส่วนร่วม

 

      จากบันทึกเมื่องบส่งเสริมสุขภาพไปอยู่ที่ อบต  ตอน 1 ทำให้เกิดการเรียนรู้ว่าการที่งบกองทุนสุขภาพตำบลจะช่วยเเหลือสุขภาพชุมชนได้นั้น ผู้นำจะต้องมีฐานคิดเรื่องสุขภาพที่ดี

อย่างอบต เขาเจียก นายกอบต คือ พท.คุณาสิน หอยนกคง

ซึ่งเป็นอบต นำร่องในเรื่องกองทุนสุขภาพตำบลตั้งแต่ปี 2549 และสามารถดำเนินงานได้เป็นที่ยอมรับ  จับใจความที่ท่านเล่า ท่านมีฐานคิด ดังนี้ท่านมองเห็นเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ เป็นทุกอย่างของชีวิต ไม่ว่าการเมือง เศรฐกิจ สังคม ล้วนส่งผลถึงสุขภาพได้ การที่อบต ขนาดเล็ก ต้องสมทบทุน 10 % ถือเป็นเรื่องน้อยมากๆ ส่วน อบต ของท่านสมทบทุน 100%

  • ท่านให้ความสำคัญกับชาวบ้าน เอาชาวบ้านเป็นที่ตั้ง โครงการต่างๆ ต้องมาจากการมีส่วนร่วม ของชาวบ้าน ชาวบ้านต้องมีความสุข
  • ท่านมองว่าการทำงานต้องทำให้ยั่งยืน การที่จะยั่งยืนได้ ทุกคนต้องมีความรู้สึกว่าเค้าเป็นเจ้าของ และมีส่วนร่วม ในกองทุนนั้นๆ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้วิธีไหนก็ได้ อาจจะเป็นการมีส่วนร่วมจ่าย สมทบคนละ บาท
  • การสร้างสุขภาพ ต้องขึ้นอยู่กับบริบท ของเรา ว่าสังคมเราเป็นอย่างไร
  • การทำงานต้องทำด้วยจิตอาสา
  • และท่านยังให้ความสำคัญกับการสื่อสาร ทั้งภายใน และ ภายนอกองค์กร ต้องเป็นไปในทางเดียวกัน

ส่วนกลไกการขับเคลื่อนท่านใช้ แผนสุขภาะ และการดำเนินการต้องสำรวจปัญหา บูรณาการในส่วนที่เกียวข้อง

สำหรับ ตำบลใด ที่ยังมีความกังวลว่า อบต ยังมีแนวคิดการทำงานแบบ เก่าๆ คือการสร้างถนน หนทาง กังวลว่า งานสร้างสุขภาพจะไม่เป็นดังที่หวังไว้ ให้เชื่อเถอะคะ ว่าเค้าอาจจะยังไม่เข้าใจข้อมูล ขอให้เรามอบ ข้อมูล และสื่อสารกันให้เข้าใจ เชื่อว่า กองทุนสุขภาพตำบลสามารถที่จะสร้างสุขภาพชุมชนได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น ขอเพียงเรามีความเชื่อ และช่วยกันทำ

หลังจบการประชุม หลาย คนบอกว่ามีความสุข มีความสุขแทน ชาวเขาเจียก

หมายเลขบันทึก: 175788เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2008 00:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผมเห็นด้วยว่าในปัจจุบัน ผู้บริหาร อบต. หลายแห่งมีแนวคิดเรื่อง "สุขภาวะ" ที่ดี ไม่ได้มุ่งเน้นที่งานโครงสร้างพื้นฐานเหมือนแต่ก่อน ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับนายก อบต. หัวดง จังหวัดพิจิตร เกี่ยวกับเรื่องนี้ ต้องยอมรับว่าท่านมีวิสัยทัศน์กว้างไกลมาก อยากให้เพื่อน ๆ ได้เห็นแนวการทำงานของที่นั่น ขนาดอาจารย์ประเวศ วะสี ถึงกับเอ่ยปากว่า นี่แหละ "สวรรค์บนดิน" จริง ๆ

ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ถ้าหาก ท่าน ปลัด หรือ นายก อบต.คนใดวิสัยทัศน์ก้าวไกล สามารถพัฒนากองทุนตำบลได้ดี แต่ส่วนใหญ่ที่เป็นอยู่ขณะนี้ความเข้าใจไม่ตรงกัน อบต.เข้าใจว่าเงินเป็นของเขาเขาจะให้หรือตัด เขาจะพิจารณาเอง

สวัสดีคะ คุณ วิสุทธิ บุญญะโสภิต

  • ขอบคุณคะ สำหรับแนวคิดสนับสนุน
  • คงต้องใช้เวลา ใช้ข้อมูลแสดงให้เห็น
  • ที่สำคัญ ให้เห็นความสำเร็จ ในแนวคิด เรื่องสุขภาวะ 

สวัสดีคะ  น้องเกี๊ยะ  สบายดีนะคะ

แต่ตามหลักของกองทุน เค้าจะมีคณะกรรมการกองทุนสุขภาพที่ต้องมาจาก ตัวแทนของหน่วยต่างๆ ที่สำคัญตามความคิดของพี่คือ เรา ในชุมชนต้องรวมตัวกันได้ และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ใช้ข้อมูล การมีส่วนร่วม มาเป็นตัวช่วย ก็น่าจะคานอำนาจกันได้

ในประเทศมีกี่อบต. มีกี่เทศบาล แต่ถ้าเรามองถึงความสำเร็จของงานก็มีไม่กี่อบต.หรือกี่เทศบาลเท่านั้น ส่วนใหญ่คนสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของงานคือ หัว(หมายถึงleader=ผู้นำขององค์กรดังกล่าว )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท