สอนดนตรีอย่างไรให้สนุกถูกหลักวิชาการ


การสอนดนตรีตามแนวคิดของโคดาย

การสอนดนตรีตามแนวคิดของโคดายเป็นที่นิยมมากทั่วโลก   เขามีหลักการสอนอย่างไร ?

หลักการสอนแบบง่าย ๆ  ของโคดาย คือ

1.  สอนร้องเพลงง่าย ๆ ให้นักเรียนร้องได้จนขึ้นใจ ร้องได้ถูกต้องตามระดับเสียง  ฝึกซ้ำ ๆ  จนสามารถ

ขับร้องเสียงไม่เพี้ยน  ก่อนสอนเพลงต่อ ๆ ไป  และสอนสัญลักษณ์ดนตรี

       ตัวอย่างที่ 1  "เพลง ติ๊ดชึ่ง"

นี่ แม่น หัว  นี่ แม่น ไหล่  ยื่น ออก ไป เรียก  สอง     แขน
มี เร    โซ               มี เร    โด        มี    โด   เร  มี  โซ      โซ 
↓  ↑     ↓   ↑ ↓   ↑     ↓   ↑ ↓      ↑    ↓   ↑   ↓  ↑     ↓  ↑
ti  ti     ta ti   ti    ta ti      ti   ti   ti   ta        ta
ต  ย     ต ย ต   ย    ต  ย ต     ย    ต   ย ต  ย     ต ย
อัน แบน แบน เรียก ว่า สะ โพก        เอา ไว้ โยก ตึ๊ด        ชึ่ง ตึ๊ด ชึ่ง
เร   เร     เร    มี มี   เร   มี  เร    มี  มี   โซ  โซ โซ โซ 
ti    ti     ti     ti tim-ri   ta      ti     ti  ti    ti  ti    ti   ta  

หมายเหตุ          ↓ =จังหวะตก=ต ,  ↑ =จังหวะยก=แยกมือ/ย

แนวทางการฝึก :

        ฝึกร้องเนื้อร้องพร้อมตบมือให้ถูกจังหวะ  ทำนอง  ออกเสียงอย่าให้เพี้ยน เวลาที่ใช้ มากน้อยตามศักยภาพของผู้เรียน 

         เมื่อคล่องแล้ว  จึงฝึกออกเสียงเป็นโน้ตสากล แล้วแบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่มแล้วร้องพร้อมๆ กัน  โดยมอบหมายให้ กลุ่มที่ 1 ร้องเนื้อร้อง  กลุ่มที่ 2 ร้องโน้ตสากล  ผู้เรียนจะได้ทักษะการขับร้องเพลงประสานเสียงแบบง่าย ๆ อย่างไม่รู้ตัว 

         แล้วร้องออกเสียงตามแนวการสอนของโคดายคือ ta=ทา=ตัวดำ  ti=ที=ตัวเขบ็ต 1 ชั้น  tim-ri=ทิม-ริ = ตัวเขบ็ต 1 ชั้นประจุด +ตัวเขบ็ต 2 ชั้น  ให้เป็นจังหวะและทำนองเช่นเดียวกัน

         เมื่อผู้เรียนเรียนรู้หรือฝึกขับร้องเพลง "ตึ๊ดชึ่ง"  จบ  ท่านทราบหรือไม่ว่า  ผู้เรียนเขาได้ทักษะและความรู้ทางทฤษฎีดนตรีอะไรบ้าง?

          1.  ความรู้เรื่อง จังหวะ(BEAT) จังหวะ 1  จังหวะจะประกอบด้วยจังหวะตก(↓)และจังหวะยก(↑)  ยิ่งท่านฝึกซ้ำ ๆ มากเท่าใดผู้เรียนจะมีความแม่นยำในเรื่องจังหวะมากเท่านั้น  ท่านสามารถพลิกแพลงเทคนิคการสอนของท่านอย่างไรก็ได้ที่ทำให้เด็กไม่เบื่อ  อย่าลืมการสอนดนตรีเป็นการสอนโดยใช้กระบวนการปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ 4  ขั้นตอนหลัก ๆ  คือ  สังเกต/รับรู้   ทำตามแบบ   ทำด้วยตนเอง  และทำซ้ำๆ  จนเกิดทักษะและความชำนาญ

          2.  ลักษณะตัวโน้ต(NOTES)  ผู้เรียนได้เรียนรู้สัญลักษณ์ และวิธีปฏิบัติโน้ต  2  ชนิด คือ ตัวเขบ็ต  1  ชั้น (EIGHTH  NOTE) เช่น  เนื้อร้อง "ยื่น/ออก/ไป/เรียก" ใช้  EIGHTH NOTE บันทึกทั้งหมด  และ ตัวดำ(QUATER  NOTE) เช่น  เนื้อร้อง  "สอง/แขน"  ใช้  QUATER  NOTE  บันทึกทั้งหมดเช่นกัน

         3.  นักเรียนได้ฝึกกระบวนการคิดเปรียบเทียบโน้ตสากลกับสัญลักษณ์ตามแนวคิดของโคดาย คือ โน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น : โน้ตสากลจะมีหัวกลมระบายทึบทั้ง 2 ตัว   แต่เริ่มเรียนใหม่ ๆ โคดายใช้สัญลักษณ์เส้นตรงเส้น  2  เส้น ขนานกันแนวตั้งแล้วขีดเส้นตรงเชื่อมด้านบนของเส้นตรงให้ต่อกันแทนตัวเขบ็ต 2 ชั้น 2 ตัวที่หางต่อกัน  ออกเสียงเป็น ที-ที(ti-ti)    ส่วนโน้ตตัวดำ โน้ตสากลใช้เส้นตรง 1 เส้นแล้วระบายหัวกลมให้ทึบ  แต่โคดายใช้เส้นตรงเพียงเส้นเดียวแทนตัวดำ ออกเสียงเป็น ทา(ta)สอนนักเรียนให้เข้าใจก่อนจึงสอนโน้ตสากล

         4.  ระดับเสียงดนตรี(PITCH) นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกออกเสียงดนตรีทั้งหมด  4  เสียง ได้แก่เสียงโดกลาง(Middle C)  เร(D)  มี(E)  โซ(G) ซึ่งเป็นเสียงที่ออกเสียงได้ง่าย ฟังแล้วรื่นหูเหมาะสำหรับใช้ฝึกออกเสียงในเบื้องต้นเป็นอย่างดี

          5.  นักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 1-2  เรียนรู้แค่ ข้อ 1-4  ก่อน  ส่วนนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 ขึ้นไปสามารถเรียนรู้ทฤษฎีดนตรีได้ลึกซึ้งไปอีก เช่น KEY  SIGNATURE, TIME  SIGNATURE, FORM, CHORD, HARMONY,  INTERVAL  เป็นต้น  

2.  เขาสอนสัญลักษณ์ตามแนวคิดโคดาย(ออกเสียงตัวดำ= ทา=ta  ตัวเขบ็ต 1 ชั้น =ทีที=ti-ti)ก่อนสอนสัญลักษณ์ดนตรีสากล(ออกเสียง โด  เร  มี)

3.  เลือกเพลงที่มีตัวโน้ตหรือระดับเสียงน้อย ๆ (2-3 ตัว) ฝึกร้องให้ได้ก่อน

แล้วจึงเพิ่มเพลงที่มีตัวโน้ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นโน้ต  4, 5, 6,7......ตามลำดับ

4.  เขาใช้สัญญาณมือประกอบการสอนออกเสียงโน้ตและขับร้องเพลงโดยดูสัญญาณมือ

                                                            เพลง "ติ๊ดชึ่ง"

     นี่        แม่น      หัว

      นี่       แม่น    ไหล่                  ยื่น   ออก    ไป    เรียก               สอง            แขน      เนื้อร้อง      

     l____l           l 

      l____l          l              __l    __l     __l     l                l       โคดาย      

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 175503เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2008 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นการเล่าเรื่องของการสอนดนตรีได้อย่างกระชับ 

 

ขอชื่นชมครับ

 

หมอสุข

ขอขอบคุณ คุณหมอสุข ที่แวะเยี่ยมให้กำลังใจครูดนตรีบ้านนอก ให้มีพลังที่จะพัฒนาการสอนดนตรี ให้กับนักเรียนที่ด้อยโอกาสในชนบทต่อๆ ไป

pitch ของดนตรีไทยนี่ อยู่ที่เท่าไรครับ

(อย่างของดนตรีสากลจาอยู่ที่ 440)

กำลังสนใจเรื่องของโคดาย ปกศ.หน้าจะเอาลงมาสอนแบบเต็มๆดู

ไม่รู้จะเป็นไง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท