มูลนิธิโรคข้อฯ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข รักษานิ้วล็อคฟรี 54 ราย ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุม


“การรักษาโรคนิ้วล็อกเฉลิมพระเกียรติ” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดโดยมูลนิธิโรคข้อ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงสาธารณสุข
มูลนิธิโรคข้อฯ รักษานิ้วล็อกฟรี 54 รายเฉลิมพระเกียรติฯ

ม.มหิดล 2 เม.ย. - มูลนิธิโรคข้อฯ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข รักษานิ้วล็อคฟรี 54 ราย ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เตือนคนที่ใช้นิ้วมือทำงานหนักระวังเป็นโรคนิ้วล็อก ส่วนใหญ่พบในชายหญิงสูงอายุ แต่รักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการจัดงาน “การรักษาโรคนิ้วล็อกเฉลิมพระเกียรติเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดโดยมูลนิธิโรคข้อ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน พร้อมให้คำปรึกษาโรคแก่ประชาชน และให้การรักษาผู้ป่วยโรคนิ้วล็อก 54 ราย โดยไม่ต้องผ่าตัดและคิดค่าใช้จ่าย โดยมี นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.พงษ์ศักดิ์ วัฒนา ประธานมูลนิธิโรคข้อฯ ร่วมเป็นประธานเปิด

นพ.พงษ์ศักดิ์ กล่าวถึงโรคนิ้วล็อกว่า โรคนิ้วล็อก หรือโรคนิ้วเหนี่ยวไกปืน เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นที่มีหน้าที่งอเหยียดนิ้ว ซึ่งอยู่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว เกิดการหนาตัวขึ้น ทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนตัวลำบาก และมีการเสียดสี ทำให้เกิดอาการปวด หรือติดล็อกได้ ผู้ป่วยจะกำมืองอนิ้วได้ แต่เหยียดนิ้วออกไม่ได้ครบทุกนิ้ว เหมือนโดนล็อกไว้  อาจจะเป็น 2 หรือ 3 นิ้วพร้อมกัน ส่วนใหญ่ พบในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงอายุ 50-60 ปีพบถึงร้อยละ 80 ส่วนผู้ชายพบร้อยละ 20 ในกลุ่มอายุ 40-70 ปี ส่วนใหญ่พบว่าเป็นที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วกลาง และนิ้วนาง แต่อาการของโรคนิ้วล็อกนั้นต้องมีอาการปวดร่วมด้วยเสมอ

นพ.พงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า สาเหตุของโรคเกิดจากการใช้มือมากเกินไป หรือใช้นิ้วผิดวิธี และใช้ซ้ำ ๆ กัน อาชีพที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ้วล็อกคือ แม่บ้านที่ต้องหิ้วของหนัก ทำงานบ้าน รวมทั้งคนสวนที่ตัดแต่งกิ่งไม้ ช่างไฟฟ้า หมอนวดแผนโบราณ พนักงานพิมพ์คอมพิวเตอร์ ช่างตัดเสื้อ ช่างทำผม นักกอล์ฟ นักแบดมินตัน ทันตแพทย์ ครู เป็นต้น

นพ.พงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า การป้องกันโรคนิ้วล็อกนั้น ควรเลี่ยงการใช้งานมือและนิ้วอย่างหนักและซ้ำ ๆ ส่วนการรักษา ปัจจุบันมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็น หากเป็นระยะเริ่มแรก คือ มีการปวดเวลางอ หรือเหยียดนิ้ว หรือกำมือไม่คล่อง ควรพักการใช้งานมือ ให้แช่น้ำอุ่น หรือพบแพทย์เพื่อฉีดยาสเตียรอยด์ หากเป็นระยะรุนแรงจนนิ้วติดล็อก เหยียดไม่ออก งอนิ้วไม่เข้า นิ้วแข็งบวมเจ็บปวด รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิค การผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือทำฟัน เจาะรูเล็ก ๆ ขนาดเท่าเข็มเบอร์ 18 ที่มือ เพื่อสะกิดปลอกที่รัดเส้นเอ็นไว้ให้คลายตัว ไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ โดยแพทย์จะฉีดยาชาที่มือ ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที จากนั้นปิดแผลไว้ 7 วัน ระหว่างนั้นสามารถใช้มือทำงานได้ตามปกติ โดยทั่วไปหากผ่าตัดแบบนี้ในโรงพยาบาลรัฐเสียค่าใช้จ่ายรายละ 2,000 บาท โรงพยาบาลเอกชนรายละ 10,000 บาท ส่วนผู้ป่วยโครงการหลักประกันสุภาพถ้วนหน้ารักษาฟรี” นพ.พงษ์ศักดิ์ กล่าว.-สำนักข่าวไทย

หมายเลขบันทึก: 174868เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2008 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท