Mr.rung
นาย รุ่งนิรัญ รุ่ง เที่ยงธรรม

การทำงานและการตรวจซ่อมพัดลมติดเพดาน


การทำงานและการตรวจซ่อมพัดลมติดเพดาน

 

การทำงานและการตรวจซ่อม
   

  

พัดลมแบบติดเพดาน   (Attic Fans)

 

 
 

 

 

 

 

 

 

 

จัดทำโดย

แผนกวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

โรงเรียนเทคโนโลยีไออาร์พีซี

 

 

 

 

ลักษณะของพัดลมแบบติดเพดาน

โดยทั่วไปพัดลมเพดานจะมีอยู่ 2 แบบ คือ พัดลมติดเพดานแบบธรรมดาและพัดลมติดเพดานแบบโคจรแต่ถ้าเรียกว่าพัดลมติดเพดานก็จะหมายถึงพัดลมติดเพดานแบบธรรมดา     พัดลมติดเพดานจะเป็นพัดลมที่ให้แรงลมที่สม่ำเสมอส่วนมากจะนิยมใช้ในอาคารบ้านเรือน  โรงเรียน สำนักงาน เป็นต้น ข้อเสียของพัดแบบนี้จะอยู่ตรงที่ว่า เมื่ออากาศที่เพดานเหนือพัดลมเป็นอากาศร้อน พัดลมดังกล่าวจะดูดอากาศร้อนและเป่าลงมาเป็นลมร้อนด้านล่าง ซึ่งจะเป็นผลให้ผู้ใช้จะมีความรู้สึกไม่สบายจากการได้รับลมร้อนดังกล่าว  สำหรับสวิทช์ควบคุมระดับความเร็วของพัดลมแบบนี้จะติดตั้งอยู่ในระดับที่ผู้ใช้สามารถใช้ได้อย่างสะดวก

 ส่วนประกอบของพัดลมแบบติดเพดาน

      1.แกนของพัดลม (Iron Pipe)     แกนดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นตัวโยงและยึดระหว่างตัวพัดลมกับเพดาน โดยแกนพัดลมจะมีรูเพื่อไว้สำหรับแขวนเข้ากับตะขอที่ยึดติดกับเพดาน และนอกจากนี้แกนพัดลมก็ยังเป็นท่อนำสายไฟเข้ามายังตัวพัดลมอีกด้วย สำหรับระดับความสูงต่ำของพัดลมก็จะสามารถทำได้โดยการตัดต่อแกนดังกล่าวตามระดับความสูงต่ำที่ต้องการได้

   2.ตัวพัดลม (Attic Motor Fan)   สำหรับตัวพัดลมของพัดลมเพดานจะประกอบด้วยเปลือกและตัวมอเตอร์โดยจะมีรูสำหรับขันสกรูเพื่อยึดใบพัด แต่สำหรับตัวมอเตอร์ของพัดลมแบบนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างจากมอเตอร์ธรรมดา กล่าวคือมอเตอร์แบบนี้จะมีส่วนที่อยู่กับที่หรือที่เรียกว่าสเตเตอร์(Stator) อยู่ตรงกลางของตัวมอเตอร์ซึ่งส่วนดังกล่าวนี้จะมีขดลวดพันอยู่ด้วย และสำหรับตัวหมุนจะเป็นแบบกรงกระรอก (Squirrel-Cage Rotor)  และจะอยู่ล้อมรอบตัวอยู่กับที่หรือสเตเตอร์อีกทีหนึ่ง ดังรูป

   3.ใบพัดลม  (Blades)  ใบพัดลมของพัดลมเพดานจะมี 3-4 ใบ และแต่ละใบจะแยกเป็นอิสระ ดังนั้นในการถอดประกอบจึงทำได้ทีละใบเท่านั้น

  4.สวิตช์ควบคุมระดับความเร็ว (Speed Control Switch)   สำหรับสวิทช์ดังกล่าวนี้จะติดตั้งในระดับที่ผู้ใช้สามารถใช้สวิทช์ดังกล่าวได้อย่างสะดวก และภายในสวิตช์ก็จะประกอบด้วยส่วนที่เป็นสวิตช์เลือกแบบโรตารี่ (Rotary Switch) และส่วนที่เป็นขดลวดระดับความเร็ว ซึ่งจะใช้แทนขดลวดระดับความเร็วในมอเตอร์เพราะถ้ามอเตอร์ที่ติดเพดานพันขดลวดนี้ไว้ภายในมอเตอร์ก็จะทำให้การเดินสายมาก ความสิ้นเปลืองของสายไฟมามากขึ้นโดยไม่จำเป็น(เพราะสายไฟที่ออกมาจากมอเตอร์จะมีประมาณ4-5เส้น)

คำสำคัญ (Tags): #พัดลมเพดาน
หมายเลขบันทึก: 173955เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2008 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท