บทคัดย่อ


การสอนตามแนวโคดาย

 


ชื่อผลงาน 

การพัฒนาทักษะการร้องเพลงและการร้องโน้ตสากลโดยใช้วิธีสอนตามแนวคิดของโคดาย  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1   โรงเรียนบ้านศาลา  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ     ปีการศึกษา  2551 

ชื่อผู้วิจัย

            นายนุรักษ์  สิงห์ศิลป์  ตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ    สาขาดนตรีสากล

โรงเรียนบ้านศาลา    อำเภอปรางค์กู่    จังหวัดศรีสะเกษ    สพท.ศรีสะเกษ  เขต  3

 

บทคัดย่อ

 

            

          วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งคือ  เพื่อพัฒนาทักษะในการร้องเพลงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  

โรงเรียนบ้านศาลา  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ  ปีการศึกษา  2551     เพื่อพัฒนาทักษะในการร้องโน้ตสากลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนบ้านศาลา  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ  ปีการศึกษา  255  และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้วิธีสอนตามแนวคิดของโคดายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โรงเรียนบ้านศาลา  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ  ปีการศึกษา  2551  วิธีการดำเนินการวิจัย  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง  มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน  ประชากร  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โรงเรียนบ้านศาลา  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ  ปีการศึกษา  2551 จำนวน  26  คน  กลุ่มตัวอย่าง  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านศาลา  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ  ปีการศึกษา  2551  จำนวน  24  คน  โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย(Simple  Random  Sampling)    การกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเล็กใช้สูตรของเครชซี่และมอร์แกน(Krejice  &  Morgan)เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้  แบบฝึกพัฒนาทักษะการร้องเพลงและร้องโน้ตสากลตามแนวคิดของโคดาย วิธีสอนร้องและอ่านโน้ตสากลตามแนวคิดของโคดาย แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระดนตรี  จำนวน    เนื้อหา  ดังนี้ คือ KEY  SIGNATURE,  PITCH,  TIME  SIGNATURE, NOTE,  REST , การเปรียบเทียบสัญลักษณ์แบบโคดายกับสัญลักษณ์ดนตรีสากล และเครื่องหมายหรือคำสั่งทางดนตรีที่พบในบทเพลง  แบบทดสอบความสามารถด้านการร้องเพลง  และร้องโน้ต  ใช้โน้ตเพลงสากลที่นักเรียนได้เรียนรู้แล้ว  จำนวน  10  เพลง  ได้แก่   เพลง ติ๊ดชึ่ง,  เพลงกรุ๊กกรู, เพลงแจวเรือ,  เพลงเจ้าวัวกระทิง,  เพลง สระภาษาอังกฤษ,  เพลงพบกันใหม่,   เพลง สระไอไม้มลาย ,  เพลงกบ   เพลงจากโมสาร์ท  เพลงสรรเสริญพระบารมี  การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้  มี  3  ตอน  ดังนี้    ตอนที่  1  วิเคราะห์ผลการพัฒนาทักษะในการร้องเพลงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โรงเรียนบ้านศาลา  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ  ปีการศึกษา  2551  ใช้วิธีการทดสอบปฏิบัติจริงโดยใช้โน้ตเพลงทั้ง  10  เพลงที่นักเรียนศึกษาแล้วแล้วนำคะแนนมาวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบก่อนและหลังใช้วิธีสอนตามแนวคิดของโคดาย    ตอนที่  2  วิเคราะห์ผลการพัฒนาทักษะในการร้องโน้ตสากลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โรงเรียนบ้านศาลา  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ  ปีการศึกษา  2551  ใช้วิธีการทดสอบปฏิบัติจริงโดยใช้โน้ตเพลงทั้ง  10  เพลงที่นักเรียนศึกษาแล้วแล้วนำคะแนนมาวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบก่อนและหลังใช้วิธีสอนตามแนวคิดของโคดาย  และ ตอนที่  3   วิเคราะห์ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้วิธีสอนตามแนวคิดของโคดายโดยใช้แบบทดสอบปรนัย  4  ตัวเลือกจำนวน  10  ชุด ๆ ละ  10  ข้อ รวมข้อสอบทั้งสิ้น  100  ข้อ  ทดสอบก่อนและหลังใช้วิธีสอนทุกแผนการสอน  แล้วนำคะแนนมาวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าความน่าเชื่อถือทางสถิติที่นัยสำคัญ  .01   โดยใช้ค่า t-test,  ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย  จากการวิจัยในครั้งนี้พบว่า  ผลการพัฒนาทักษะในการร้องเพลงของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โรงเรียนบ้านศาลา  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ  ปีการศึกษา  2551  ปรากฏว่า  นักเรียนสามารถร้องเพลงได้ถูกต้องตามจังหวะทำนองและคำสั่งทางดนตรี  ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ที่ยอมรับ(ร้อยละ 60)  โดยเฉลี่ย  20.6  คน  คิดเป็นร้อยละ  85.83  ไม่ผ่านเกณฑ์  โดยเฉลี่ย  3.4  คน  คิดเป็นร้อยละ  14.15   ผลการพัฒนาทักษะในการร้องโน้ตสากลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โรงเรียนบ้านศาลา   อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ  ปีการศึกษา  2551  ปรากฏว่า  นักเรียนสามารถร้องโน้ตสากล  ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ที่ยอมรับ(ร้อยละ 60)  โดยเฉลี่ย  19.40  คน  คิดเป็นร้อยละ  80.83  ไม่ผ่านเกณฑ์  โดยเฉลี่ย  4.6   คน  คิดเป็นร้อยละ  19.16  และผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้วิธีสอนตามแนวคิดของโคดายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โรงเรียนบ้านศาลา  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ  ปีการศึกษา  2551  ปรากฏว่า  ผลสัมฤทธิ์หลังใช้วิธีสอนตามแนวคิดของโคดายสูงกว่าก่อนสอนทุกแผนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   

 

หมายเลขบันทึก: 173660เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2008 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท