ประชุมคณะทำงาน "การจัดการความรู้แก้จนเมืองนครศรีฯ"ตอนที่ ๓


แนวคิดของโครงการ

บันทึกต่อในเรื่องราวการประชุมคณะทำงานเมื่อวันที่ ๑๕ ก.พ.เป็นตอนที่ ๓ ยังมีอีกหลายตอนจะทยอยมาเขียนให้อ่านกันนะคะ

จ่าจังหวัดนครศรีธรรมราช

หลักการจริง ๆ แล้วท่านผู้ว่ามีความคิดว่าแก้ความยากจนนั้นมีเป้าหมายที่ชัดเจนอยู่แล้ว คือ ผลจากการกรั่นกรองผู้ลงทะเบียนและ จปฐ. หลังจากนั้นก็จะทำอย่างไรกับตัวเลขที่ได้มา ๖๕,๕๕๓ โดยประมาณ อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ตัวตกเกณฑ์ จปฐ. ก็มีจำนวนมาก ๒ ตัวนี้ คือ ข้อมูลของความยากจนและเราจะต้องถอด โดยในปี  ๒๕๔๙ ต้องให้ได้ ๔๐ % เราก็จะแก้ตามนโยบาย ส่วนที่สองที่ท่านผู้ว่าคิด คือ ท่านมองว่าของเรามีบุคคลากรที่เป็นบุคคลระดับประเทศ ท่านประยค์ในทางสังคมสูงมาก และทุกภาคส่วนก็มองมาตรงนี้ ประการที่ ๒ เราก็ทำงานและมีแผนเกี่ยวกับชุมชนมาตลอด การที่ชุมชนเขาคิด เขาร่วมทำกันมามากมายแล้ว จุดของท่านผู้ว่า คือ เราจะแก้ปัญหาความยากจนอย่างไรให้เกิดความยากจนได้จริง ๆ มีภูมิคุ้มกันอย่างไรที่ไม่ให้ความยากจนหวนมาอีก ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับแผนของชุมชน ท่านให้นโยบายไว้ว่าให้ทำแผนชุมชนมาให้เสร็จสิ้น คื อปี ๔๘ เราได้ทดลองนำร่อง ๔๐๐ หมู่บ้าน ให้องค์กรเกิดความร่วมมือของภาคประชาชน ผู้นำตามธรรมชาติ ตามกฎหมายโดยเราใช้อัตราส่วนเท่า ๆกันผู้นำตามกฎหมายเราให้นำในเรื่องของการจัดประชุม ส่วนผู้นำตามธรรมชาติเราให้ทำกระบวนการ

 

ส่วนในเรื่องของการเก็บข้อมูลนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากหากคนต่างถิ่นไปเก็บและอีกอย่างเรื่องของเวลา ไม่ใช่ออกแบบสอบถามแล้วไปตั้งทิ้งไว้ให้เขาตอบให้ แต่เราใช้วิธีการเอาคนคุ้นเคยในพื้นที่ไปนั่งคุยแบบสนิทสนมตามกลุ่ม ท่านผู้ว่าบอกว่าให้ได้แผนชุมชนพึ่งตนเองตรงกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง นั่นคือประการที่ ๑ คือ เรื่องแผนเพื่อขจัดปัญหาความยากจน ที่เขาแก้ปัญหาความยากจนคือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อื่นเขาจะทำ Road Map ๒๕๔๙ ทำอะไร ๒๕๕๐ ทำอะไร แค่ ๔ ปีตาม Road Map แต่ผู้ว่าท่านคิดต่อเลยว่าหลังจากปี ๕๐ เราจะทำอะไรต่อท่านคิดเพื่อให้เกิดความยั่งยืน สร้างภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็ง ประการที่ ๒ เรื่องการจัดการความรู้ คือ นำเอาความรู้ที่มีภูมิปัญญาที่สถานที่เขามีอยู่มาช่วยกัน ผมก็ขอยอมรับในส่วนตัวผมเองเรื่องของ KM ผมรู้น้อยมาก

 

บทสรุปในเบื่องต้น

 

ในการแก้ปัญหาความยากจน ตามแนวทางของรัฐบาลเราเห็นด้วยแต่ก็อยากที่จะมาทำเพิ่มเติมอันที่ ๑ อันที่ ๒ เป็นแนวทางหลักในการแก้จนซึ่งทุกจังหวัดทุกประเทศต้องทำ ๒ อันนี้ และมีตัวชี้วัดว่าจะต้องบรรลุในปี ๒๕๕๑ โดยใช้ฐานของ จปฐ.และเกณฑ์ความยากจนเป็นตัววัดสิ่งที่น้าประยงค์กับทางปกครองจังหวัดได้มาทำเพิ่มเติม คือ โครงการสำรวจข้อมูลปัญหาความยากจนเพื่อจัดทำแผนชี้วัดชุมชนนำร่อง ๔๐๐ หมู่บ้านเป็นสิ่งที่เราเริ่มขึ้นของจังหวัดนครศรีธรรมราชและก็จะเป็นการวางแผนเพื่อจะแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนไม่ใช่แก้ปัยหาเฉพาะหน้าซึ่งตอนนี้เราได้ทำไปแล้วซึ่งจะมีเป็นแบบฟอร์มสมุดบันทึกครัวเรือนซึ่งจะมีรายละเอียดมากในแต่ละครัวเรือนแต่ละหมู่บ้านเราใช้กลุ่มตัวอย่าง ๑๐๐ ครัวเรือน และกระจายทั้งจังหวัด ทุกตำบลในจังหวัดแต่ละอำเภอ

 

โครงการที่น้ายงค์กับปกครองจังหวัดดำเนินการ ๔๐๐ หมู่บ้าน มีการดำเนินการต่อเนื่องปีนี้ ๖๐๐ หมู่บ้าน ปีหน้าอีก ๖๐๐ หมู่บ้านจะครอบคลุมทั้ง ๑,๖๐๐ หมู่บ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช ขณะที่เราสำรวจข้อมูลและทำการวิเคราะห์ปัญหาความยากจนแล้ว ท่านผู้ว้าก็มีแนวคิดในการจัดการความรู้ จะนำเอาความรู้มาใช้ในการแก้ปัยหาความยากจน


คำสำคัญ (Tags): #สรุปการประชุม
หมายเลขบันทึก: 17324เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2006 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท