การจัดสวัสดิการสังคมของภาคส่วนต่างๆ


สวัสดการสังคม

การจัดสวัสดิการสังคมของภาคส่วนต่างๆ

ฐานคิด รูปแบบและวิธีการจัดการ

การจัดสวัสดิการสังคมของภาครัฐตามพรบ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมพ.ศ.2546และ2550
แนวคิด รูปแบบ/วิธีการ   ป้องกัน แก้ไขปัญหา พัฒนา ส่งเสริม  
มิติการจัดสวัสดิการ 7 มิติ การศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การทำงานและมีรายได้ บริการสังคมทั่วไป นันทนาการ กระบวนการยุติธรรม
เป้าหมาย (ประชาชน ชุมชน/สังคม)  ตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม
โครงสร้างคณะกรรมการ หน่วยงานรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ตามพรบ.
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ (ก.ส.ค.) อำนาจหน้าที่ (บางส่วน) 
นายกรัฐมนตรี  -เสนอแนะและให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพม. เกี่ยวกับนโยบายการจัดสวัสดิการสังคม
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  -เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีให้มีหรือแก้ไขกฏหมาย 
ปลัดกระทรวงการคลัง ระเบียบ ข้อบังคับหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับ
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การจัดสวัสดิการสังคม  
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  -เสนอแผนพัฒนางานสวัสดิการสังคมต่อคณะรัฐมนตรี
ปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่ออนุมัติเป็นแผนแม่บท  
ปลัดกระทรวงแรงงาน  -ให้ความเห็นชอบแผนงานและโครงการต่างๆในการ
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จัดสวัสดิการสังคมที่เสนอต่อคณะกรรมการตาม
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พระราชบัญญัตินี้  
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข    
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ    
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ    
อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ    
ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการก.ส.ค.    
ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์    
ผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชน    
ผู้ทรงคุณวุฒิ    
สำนักงาน ก.ส.ค. (อยู่ในสำนักปลัดฯพม.) จัดทำแผนพัฒนางานสวัสดิการสังคมเสนอต่อคณะกรรมการ
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัด(ก.ส.จ.) อำนาจหน้าที่ กลไกทำงาน
ผู้ว่าราชการจังหวัด (แผนจังหวัด) 1)เสนอนโยบาย มาตรการและแผนจัดสวัสดิการ  
รองผู้ว่าราชการจังหวัด สังคมของจังหวัดต่อคณะกรรมการระดับชาติ  
ปลัดจังหวัด(นายอำเภอ/กำนัน/ผญบ.) 2)ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน กรรมการหมู่บ้าน
(ท้องถิ่น)-แผนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมของจังหวัด ท้องถิ่น
 -แผนชุมชน 3)วางระเบียบเกี่ยวกับการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ชุมชน
 -เอสเอ็มแอล ของรัฐและภาคเอกชนทั้งในด้านข้อมูล ทรัพยากร และการ กรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน
 -กองทุนหมู่บ้าน ปฏิบัติงานในการจัดสวัสดิการสังคมของจังหวัด เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
แรงงานจังหวัด 4)วางระเบียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมของจังหวัด  
วัฒนธรรมจังหวัด ให้สอดคล้องกับระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด สภาวัฒนธรรมอำเภอ/จังหวัด
ผอ.สนง.ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ(สสว.) 5)กำกับดูแลหรือส่งเสริมและให้ความเห็นชอบแผนงานและ  
ผอ.ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด โครงการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมในเขตพื้นที่ของ  
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด จังหวัดเพื่อให้เป็นไปตามแผนการจัดสวัสดิการสังคม เครือข่ายอสม.
 -กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น     ท้องถิ่น/สปสช./อสม./ชุมชน
ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในเขตจังหวัด      
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัด(ก.ส.จ.) กลไกทำงาน
พัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด     เครือข่ายอพม.
 -ศูนย์พัฒนาสังคม(ศพส.)      
 -สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)     สภาองค์กรชุมชน
ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น      
ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์      
ผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชน      
ผู้ทรงคุณวุฒิ      
คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์    
อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  
สำนักงบประมาณ  
กรมบัญชีกลาง  
กทม.  
ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน  
 -ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์อย่างน้อย 2 คน  
 -ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างน้อย 1 คน    
คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัด อำนาจหน้าที่ 
ภาครัฐ 4 คน  1)พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนโครงการขององค์การสวัสดิการสังคมเฉพาะโครงการตาม
ภาคท้องถิ่น 3 คน หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นในการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมที่คณะ
ภาคประชาสังคม 3 คน กรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติกำหนด และอนุมัติจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการ
ภาคชุมชน 4 คน บริหารกองทุนตามความจำเป็นตามวงเงินที่ได้รับการจัดสรร  
พมจ. เป็นกรรมการและเลขานุการ 2)ส่งเสริมการจัดทำโครงการ รวมทั้งการติดตามและประเมินการดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับความ
  เห็นชอบจากคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการบริหารกองทุน
  3)ส่งเสริมให้เกิดการระดมทุน และจัดการระดมทุนเพื่อใช้ในการจัดสวัสดิการสังคม
  4)แต่งตั้งคณะทำงาน ที่ปรึกษา ผู้ช่วยเลขานุการของคณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายให้บุคคล สถาบัน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกลั่นกรองโครงการตามความเหมาะสม
   หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกลั่นกรองโครงการตามความเหมาะสม
  5)รายงานการดำเนินงานให้คณะกรรมการบริหารกองทุน และคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการ
หมายเลขบันทึก: 172894เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2008 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

ถ้าเข้าใจไม่ผิด กสจ. เป็นบอร์ดนโยบาย ส่วนอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมสวัสดิการเป็นบอร์ดบริหาร ใช่ไหมคะ

ทีมวิจัยทำงานกับสองส่วนนี้แตกต่างกันอย่างไร  (คือว่า ตอนนี้ตัวเองต่อไม่ติดแล้วค่ะ)

บอร์ดนโยบาย เห็นภาพรวมของปัญหาสวัสดิการในพื้นที่อย่างไร และจะเชื่อมต่อกับนโยบายสวัสดิการสังคมชาติอย่างไร

บอร์ดบริหารควรมีเครื่องมืออะไรในการพิจารณาว่าจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติงบประมาณ  เครื่องมือในการจัดลำดับความสำคัญของงาน 7 มิติในพื้นที่เป็นอย่างไร 

บอร์ดนโยบายกับบอร์ดบริหารเชื่อมต่อกันอย่างไร 

หน่วยปฏิบัติคือองค์กรชาวบ้านซึ่งมีอยู่หลายหมู่บ้านหลายตำบลจะเข้าถึงบอร์ดบริหารได้มากน้อยเพียงใด  

ภาคประชาสังคมกับภาคชุมชนจะเชื่อมต่อกันอย่างไร

ไม่ทราบโจทย์ในใจของทีมวิจัยจะตรงกับที่ list มาข้างต้นบ้างไหมคะ 

ก.ส.ค.เป็นบอร์ดนโยบายสวัสดิการสังคมระดับชาติ

ก.ส.จ.เป็นบอร์ดนโยบายจังหวัด

กองทุนสวัสดิการสังคม เป็นลูกบอลให้4ภาคส่วนในจังหวัดเข้ามาเล่น จำนวน300ล้าน เทียบกับงบสวัสดิการสังคมทั้งระบบประมาณ690,000ล้านถือว่าจิ๊บจ๊อยมาก

ผมเสนอให้ทีมวิจัยใช้ที่มาและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเป็นแนวทางในการเข้าไปช่วยทำงาน(จัดการความรู้)ให้เกิดผลตามที่ตั้งใจไว้ อาจเรียกว่าการพัฒนาโดยใช้ความรู้นำคือ เรียนรู้ และใช้ความรู้ในการเคลื่อนงาน คนที่มีอำนาจหน้าที่คือคณะกรรมการ จึงต้องทำงานกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดซึ่งมีที่มาหลากหลายจากกระบวนการต่างๆ ทีมวิจัยก็ตามดู เสริมการทำงานตามที่วาดไว้ในระเบียบ ข้อกฏหมาย ถ้าพบปัญหาก็เสนอแนวทางแก้ไขไปตามรายทาง สุดท้ายก็จะสรุปผลว่า มันเกิดอะไรขึ้น เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น และควรจะทำอย่างไรดีในขอบข่ายเรื่องราวทั้งหมดที่เราเกี่ยวข้องด้วย งานนี้ต้องการการคิดเชิงระบบ(ตานก) และการทำงานในลักษณะตาหนอนด้วยครับ

คำถามตานกของอาจารย์จะเข้าไม่ถึงตาหนอนด้วยข้อจำกัด เพราะมันมีรายละเอียดเฉพาะมากมายที่อาจารย์มีเวลาไม่พอที่จะตามให้ทัน แค่นี้ผมก็ซูฮกอาจารย์ให้เป็นซูเปอร์girlแล้วครับ

ตัวละครมีมากพอๆกับเรื่องสงครามและสันติภาพของตอลสตอย และรายละเอียด แม้เพียงนิดเดียวก็อาจเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ในพื้นที่ได้ แบบเดียวกับที่ตอยสตอยเชื่อ ผมไม่แน่ใจว่ารายละเอียดเล็กๆในพื้นที่จะทำให้เหตุการณ์ในภาพรวมเปลี่ยนไปได้แค่ไหน อย่างไร?

มันเหลือเชื่อจริงๆ ถ้าย้อนไปว่า นายกฯทักษิณจะถูกปฏิวัติด้วยขบวนการเล็กๆในเบื้องต้น แต่หลังจากนั้นอำนาจเดิมก็กลับมาอีก เป็นประเด็นอภิปรายว่าผลรวมของเหตุการณ์เล็กๆจะเปลี่ยนเป็นเรื่องใหญ่ได้แค่ไหน อย่างไร? แบบคาดเดาได้ในภาพใหญ่หรือไม่อาจคาดการณ์ได้?

ไม่ว่าอย่างไร ทำวันนี้ให้ดีที่สุดน่าจะดีที่สุดนะครับ here and now อนาคตช่างมัน!

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

ขอเสนอสิ่งที่อาจไม่เป็นประโยชน์ แต่เป็นมุมมองส่วนตัวที่เกี่ยวกับการทำวิจัยเรื่องสวัสดิการสังคม แบบคนตานก

ข้อแรก สวัสดิการไม่ใช่เรื่องใหม่ รัฐทำอยู่ก่อนแล้ว ชุมชนก็ทำ แต่จะครบถ้วนดีแค่ไหนก็อีกเรื่องหนึ่ง

สำหรับข้อแรก หากต้องการทราบบทบาทของรัฐในระดับจังหวัด การจัดพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างเดียว อาจจะดีที่่ได้เข้าใจปัญหา ข้อจำกัด รายละเอียดบางประการ แต่จากประสบการณ์ของตัวเอง พบว่าวิธีดังกล่าวมีข้อจำกัดคือ เจ้าหน้าที่บางคนมาใหม่ไม่ทราบข้อมูล หรือทราบแต่ก็ไม่มีทางที่จะสามารถให้ข้อมูลครบถ้วน เราจึงเห็นภาพไม่หมด

ทางหนึ่งที่จะเข้าใจบทบาทของรัฐให้ชัดขึ้น คือ การนำงบประมาณระดับจังหวัดมาพิจารณา งบประมาณระดับจังหวัด เท่าที่เคยเห็นมาบ้าง จะลงละเอียดระดับโครงการ แยกรายหน่วยงาน (ซึ่งช่วยในการพิจารณารายมิติหรือรายประเด็นได้)

ข้อดีของการดูงบประมาณคือ

  • ค่อนข้างครบถ้วนทุกโครงการ
  • สัดส่วนของขนาดของงบประมาณรายโครงการหรือรายหน่วยงานเทียบกับงบทั้งหมดของจังหวัด อาจจะช่วยบอกลำดับความสำคัญได้ว่า จังหวัดนี้เน้นงานสวัสดิการด้านไหน และ
  • หากงบรายโครงการบอกพื้นที่ทำงาน เช่น ตำบลไหนบ้าง อำเภอไหนบ้างก็จะเห็นภาพการทำงานชัดขึ้น
  • งบรายโครงการหรือแผนงาน จะช่วยบอกอย่างชัดเจนว่า มีหน่วยงานไหนบ้างทำงานร่วมกันในโครงการไหน พื้นที่ไหน
  • งบประมาณที่ลงในพื้นที่ต่างๆต่อจำนวนประชากรเป้าหมายในพื้นที่นั้นจะช่วยบอกคร่าวๆ เรื่อง ความทั่วถึง และความเพียงพอ เปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ได้

ข้อเสียคือ

  • ต้องใช้เวลาในการศึกษาทำความเข้าใจ
  • ตัวเลขงบประมาณที่ปรากฎมักไม่ได้บอกค่าจ้างเงินเดือนด้านบุคลากร
  • ไม่ได้บ่งชี้ถึง "ประสิทธิภาพ" และการประสานงานแต่อย่างใด

การดูตัวเลขงบประมาณและการจัดคุย จึงเป็นวิธีตานก ตาหนอนที่หนุนเสริมกัน

ส่วนของภาคประชาสังคมก็อาจมีข้อมูลบ้าง

ส่วนของชุมชนต้องจัดคุยและสังเกตอย่างเดียว อาจดูข้อมูลแผนชุมชนได้บ้าง

แผนชุมชน บอกสิ่งที่ชุมชนอยากมี แต่อาจไม่ใช่สิ่งที่ควรมีเสมอไป และสิ่งที่ควรมีก็อาจไม่ได้ปรากฎอยู่ในแผน (ประสบการณ์อนามัยลำสินธุ์) ด้วยเหตุผลหลายประการ

การนำแผนชุมชนมาศึกษา ประกอบการพูดคุยจัดการความรู้ นักวิจัยอาจช่วยบอกได้ว่า อะไรบ้างที่ขาดไป

ข้อสอง พรบ.สส.การจัดสวัสดิการสังคม เปิดพื้นที่ให้หลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม และหนุนเสริมกัน คิดว่าถ้าเห็นภาพในข้อแรกชัด ก็คงช่วยให้บอกได้ชัดขึ้นว่า ยังมีช่องว่างตรงไหนบ้างในระบบปัจจุบัน (ในมิติของเนื้อหาเชิงประเด็น นอกเหนือจากมิติของกลไกการบริหารจัดการ)

ในเวลาที่จำกัด  แม้จะผลักดันเชิงกลไกได้ไม่มากนัก  แต่อย่างน้อยถ้าบอกว่าได้ว่า  ใครทำอะไรอยู่  ยังขาดตรงไหน  ก็คงจะมีประโยชน์มากสำหรับการทำงานต่อ  (ตัวเองรู้สึกว่า ทีมวิจัยสนใจประเด็นว่าจะหนุนเสริมกันได้อย่างไร)

 

โจทย์ที่ตั้งไว้ในการแสดงความเห็นก่อนหน้านี้  จริงๆแล้วต้วเองไม่ได้ต้องการคำตอบ   แต่เขียนไว้ให้ผู้ประสานงานพิจารณา  เผื่อช่วยเป็นธงในการเคลื่อนงานของนักวิจัย    ไปถึงหรือไม่ ไม่เป็นไร แต่ไม่ควรหลงทิศ ...   

เขียนตามความเข้าใจ แต่ก็ไม่รู้ว่าตัวเองหลงประเด็นเสียเองหรือไม่ จึงเขียนทิ้งไว้ให้ผู้ประสานงานพิจารณา .. ก็เท่านั้นค่ะ

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

อ้อ อีกอย่างหนึงคือ ทีมวิจัยกำลังสนใจการบูรณาการโครงสร้างในแนวดิ่ง หมายถึง ระหว่างรัฐกับชุมชน

ที่จริงมีอีกแนวที่น่าสนใจและอาจทำงานได้ง่ายกว่าในบางพื้นที่ คือ การเชื่อมในแนวระนาบ ระหว่าง องค์กรภาคประชาสังคมกับชุมชน ตรงนี้จะไม่ติดขัดเรื่องกลไกเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการ บางที อาจเป็นรูปแบบที่มีพลังก็ได้ (ถ้าชุมชนไว้ใจภาคเอกชน) ทีมวิจัยก็เพียงแต่หาทางให้ภาคประชาสังคมจัดวงแลกเปลี่ยนร่วมกับชุมชน

แต่บางที ทีมวิจัยอาจทำอยู่แล้วก็ได้  ขออภัยที่เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนค่ะ

 

นกน้อยขอแลกเปลี่ยนอ่านแล้วอยากให้ความคิดขององค์กรชุมชนในเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาท ได้แลกเปลี่ยนกับหน่วยงาน เลยไม่แน่ใจว่าพวกเราทำงานที่ต้องการให้ถึงชาวบ้านแต่คนที่เคยทำงานในคำสั่งมากเกินเลยไม่ค่อยมองเห็นความาจำเป็นของชุมชนหรือไม่

จากที่ได้มีการจัดประชุมเครือข่ายร่วมคุณศุวัฒนา ศรีภิรมณ์ ถึงการส่งข้อมูลที่สามารถตรวจสอบและเป็นชุมชนที่ทำงานให้กับชาวบ้านที่แท้จริงไม่ใช่ กลุ่มที่หลอกตั้ง หรือตั้งหลอก ไม่รู้จะใช้ภาษาเขียนแบบไหนถึงจะถูก

จากที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับที่ปรึกษาหลายท่านแล้ว ว่าแนวทางที่ชุมชนอยากเห็นคือการบันทึ่กข้อมูลเวปของชุมชนจะรวมตัวกันคีย์ข้อมุลโดยใช้รหัสของแต่ละกลุ่ม แต่ยังหาเจ้าภาพในการจัดเก็บข้อมูลของชุมชนที่เป็นหน่วยงานช่วยชาวบ้านจริง ๆ เพราะประสบการณ์ที่ทำมามีความรู้สึกว่ามันจะไม่ค่อยจริงใจให้กันเลย

องค์กรชุมชนที่รวมตัวกันทำเรื่องนี้มีเยอะแต่รอบันไดที่จะไต่ขึ้นถึงที่หมายอยู่ หลายที่เห็นช่องทางแต่ไม่แน่ใจว่าหน่วยงานจะเอากับชุมชนหรือไม่ (รู้หน้าไม่รู้ใจ)

นกน้อยขอแลกเปลี่ยนอ่านแล้วอยากให้ความคิดขององค์กรชุมชนในเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาท ได้แลกเปลี่ยนกับหน่วยงาน เลยไม่แน่ใจว่าพวกเราทำงานที่ต้องการให้ถึงชาวบ้านแต่คนที่เคยทำงานในคำสั่งมากเกินเลยไม่ค่อยมองเห็นความาจำเป็นของชุมชนหรือไม่

จากที่ได้มีการจัดประชุมเครือข่ายร่วมคุณศุวัฒนา ศรีภิรมณ์ ถึงการส่งข้อมูลที่สามารถตรวจสอบและเป็นชุมชนที่ทำงานให้กับชาวบ้านที่แท้จริงไม่ใช่ กลุ่มที่หลอกตั้ง หรือตั้งหลอก ไม่รู้จะใช้ภาษาเขียนแบบไหนถึงจะถูก

จากที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับที่ปรึกษาหลายท่านแล้ว ว่าแนวทางที่ชุมชนอยากเห็นคือการบันทึ่กข้อมูลเวปของชุมชนจะรวมตัวกันคีย์ข้อมุลโดยใช้รหัสของแต่ละกลุ่ม แต่ยังหาเจ้าภาพในการจัดเก็บข้อมูลของชุมชนที่เป็นหน่วยงานช่วยชาวบ้านจริง ๆ เพราะประสบการณ์ที่ทำมามีความรู้สึกว่ามันจะไม่ค่อยจริงใจให้กันเลย

องค์กรชุมชนที่รวมตัวกันทำเรื่องนี้มีเยอะแต่รอบันไดที่จะไต่ขึ้นถึงที่หมายอยู่ หลายที่เห็นช่องทางแต่ไม่แน่ใจว่าหน่วยงานจะเอากับชุมชนหรือไม่ (รู้หน้าไม่รู้ใจ)

แลกเปลี่ยนเรื่องงานสวัสดิการครับ อ.ภีม ชี้ให้เห็นถึงตัวระบบโครงสร้างการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของแต่ละชุดทำงานในต่าง ๆ ระดับกัน (Multi level) และชี้ให้เห็นว่าถึงแม้ว่าจะมีความต่างระดับแต่ก็มีผลสะเทือนต่อกันได้เพราะนี้เป็น ระบบการจัดสวัสดิการของชาติ จากกรณีตัวอย่างเรื่องการปฏิวัติที่เข้ากับแนวคิดเรื่อง Chaos Theory ที่เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" หรือที่เรียกว่า Betterfly Effect

จากคำถามของ อ.ปัทมาวดี ซึ่งเป็นคำถามที่น่าสนใจตรงที่ทำให้เราได้กลับเอาไป "ตั้งหลัก" และคิดต่อกับงานสวัสดิการที่กำลังทำอยู่ที่ขอนแก่น

อ.ภีม ตั้งหลักธิบายเรื่อง "ตานก-ตาหนอน concept" ทำให้เห็นภาพชัดเจนครับ และ อ.ปัทมาวดีก็ตอกย้ำว่า "นกต้องอยู่อย่างนก หนอนต้องอยู่อย่างหนอน" จากที่อาจารย์ชี้เรื่อง Horizental Network

ผมคิดว่าในมุมมองของอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน กำลังมองว่าเห็นในเชิงของกระบวนการการทำงานที่ต่างแง่มุมกันคือ

1) การจัดการระบบสวัสดิการต้องมองเชิงระบบ และจัดการวางระบบในบทบาทหน้าที่ให้ดีอย่างเป็นระบบ ถ้ากลไกเล็กดีมีประสิทธิภาพทำงานได้ ก็จะนำไปสู่กลไกใหญ่ในต่างระดับทำงานได้เช่นกันหรือทำงานไปพร้อม ๆ กันตามระบบกลไก ผมเห็นว่า อ.ภีม ค่อนข้างเชื่อในแนวนี้ครับ (อาจเป็นเพราะฐานคิดที่เป็นวิศวกรที่เชื่อในระบบกลไก)

2) การจัดสวัสดิการที่ต้องมองความสัมพันธ์ในแนวราบ การจัดความสัมพันธ์บนฐานที่ Actor ต่าง ๆ สามารถทำงานได้ ในฐานะที่เท่าเทียมกันในเชิงของสถานภาพ (Status) อ.ปัทมาวดี ค่อนข้างเชื่อไปทางนี้

Neoliberalism-----------------------------Localism

State welfare----------------------community Welfare

Formal-------------------------------Informal

Aj Pem__________________________________Aj. Pat

อย่างไรก็ตาม อ.ทั้งสองท่านก็ยังไม่ได้ฟันธงว่าต้องให้นักวิจัยพื้นที่เดินไปในแนวใหน ซึ่งก็ยังเปิดโอกาสให้แต่ละพื้นที่ได้ลองคิด และจัดการให้งานเรื่องสวัสดิการสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ (หมายถึงความยั่งยืน ของ อ.ปัท หมายความคุ้มทุน คุ้มค่า ของ อ.ภีม)ข้อเสนอหรือสิ่งที่คนทำงานในพื้นที่มองคือ มองในเชิงของการจัดการในลักษณะที่ผสมผสานทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกัน คือ

1)ระบบสวัสดิการที่ต้องบูรณาการ

Mix welfare regime

ระบอบสวัสดิการที่อยู่ตรงกลางไม่ปฏิเสธรัฐแต่พึ่งพาแบบพึ่งตนเองซึ่ง ไม่ใช่เรื่องใหม่มีบทความตีพิมพ์เรื่องนี้มากมาย

2) ตานก-ตาหนอน อาจจะต้องตัดแว่นเพิ่มให้กับนกและหนอนได้มองเห็นทั้งในมุมกว้างและลึก (ให้คนสายตายาว ได้มองเห็นใกล้ ๆ คนสายตาสั้น มองได้ไกลขึ้น)ในแง่นี้คือ ในทางปฏิบัติเรื่อง

- การจัดระบบฐานข้อมูล สร้างฐานข้อมูล ที่ไม่ใช่เป็นเพียง Data แต่เป็น Informtion คือ ข้อมูลที่ย่อยแล้วนำไปใช้ในการทำงานหรือตัดสินใจได้ตรงนี้แต่ละจังหวัดที่ทำเรื่องสวัสดิการต้องทำ อย่างที่ อ.ตุ้มเสนอให้ใช้ Mapinfo ผมยืนยันว่าต้องทำครับ จังหวัดต้องทำ ต้องลงทุน

- การให้นกได้บินลงมาพื้นดิน เกาะอยู่ และนั่งนิ่งเฝ้ามองปรากฎการณืในพื้นที่บ้าง อันนี้จะทำให้นกได้เกิด จิตวิญญาน และทำงานในเรื่องนี้ด้วย ใจที่ติดิน รู้หัวอกหัวใจของคนที่เรียกว่าไม่มีความมั่นคงในชีวิต เป็นอย่างไร

3)ระบบการทำงานต้องการการผนึกกำลัง ที่อาจารย์หมอประเวศพูดมานานเรื่อง "Synergistic" แต่พึ่งมีคนได้ยินในเร็ว ๆ นี้เริ่มเอามาใช้ โดยเฉพาะการทำงานกับคน สังคม และโครงสร้างที่เป็นอยู่ที่ต้องระมัดระวังอย่างมากในเรื่องการชี้ถูก ชี้ผิด หรือภาษาสมัยใหม่เรียกว่า "ฟันธง" การทำงานกับคนสังคมความหยาบละเอียดต่างกันต้องระวังและรักษาระยะความสัมพันธ์ ประคับประคองเพื่อให้เกิด Movement ของงาน

คงพอแค่นี้ก่อนนะครับ คราวหน้าผมจะเสนอโครงสร้างและระบบงานพื้นที่ของขอนแก่นครับ ขอบคุณครับ

เรียนคุณหมอแคนเมืองขอนแก่น ...("แคน" กับ "รีเจนซี่" นี่บอกความสุนทรีค่ะ)

ชอบใจการแยกแยะของอาจารย์ค่ะ ชัดเจนดี

แต่ตัวเองก็ไม่ถึงกับ localism นะคะ ยังไงก็ยังคิดว่าทีมวิจัยคงต้องผสมทั้ง แนวคิดและวิธีการ ...เป็นงานยากทีเดียว แต่ก็ท้าทายค่ะ

รัฐมีจุดแข็ง จุดอ่อน ชุมชนก็มีจุดแข็ง จุดอ่อน เอกชนก็มีจุดแข็งจุดอ่อน คิดว่าถ้านักวิจัยและทีมงานในพื้นที่หาเจอ ก็จะเชื่อมต่อกันได้ลงตัว เหมือนเอาจิีกซอสองสามชิ้นที่มีส่วนยื่นส่วนเว้าต่างกันแต่มาเสริมต่อกันได้พอดี (พูดง่ายนะคะ)

หลักการกว้างๆ เช่น สิ่งที่มีผลกระทบในวงกว้างข้ามพื้นที่ รัฐเข้ามาทำ สิ่งที่มีผลกระทบเฉพาะพื้นที่ ชุมชนก็จัดการได้... อะไรทำนองนี้

กลไกจะเป็นประโยชน์ต่อเมื่อเรารู้ว่า จะเอากลไกนี้ไปทำอะไร คิดว่าการรู้โจทย์หรือปัญหาของพื้นที่ก่อนจึงเป็นสิ่งจำเป็น ปัญหาในที่นี้หมายถึง "ประเด็น" ค่ะ ส่วนปัญหาเรื่องการบริหารจัดการนั้น ถือว่าเป็นปัญหาเชิงกลไก

รู้สึกคล้ายๆกับว่า ทีมงานให้ความสำคัญกับปัญหาเชิงกลไกการบริหารจัดการ มากกว่าปัญหาเชิงประเด็น คือ "สวัสดิการอะไรที่พื้นที่ต้องการหรือควรจะมี แต่ขาดไป" หากใช้โจทย์ของพื้นที่เป็นตัวตั้ง ก็จะตั้งคำถามต่อว่า ทำไมจึงขาดส่วนนี้ไป เป็นปัญหาที่กลไกการบริหารจัดการ หรือเป็นเพราะปัญหาอื่นๆ.. จากนั้นจึงออกแบบการทำงาน

นกกับหนอนก็ต้องช่วยกัน ..การจัดการความรู้ การพูดคุย การมีส่วนร่วมคงช่วยได้ค่ะ

อาจารย์ภีมกับปัทมาวดีคิดต่างกันนั้นดีแล้วค่ะ เป็นความตั้งใจที่จะเสนอในส่วนที่คนอื่นอาจจะยังไม่ได้มอง ..ก็เผื่อจะช่วยกันเติมเต็ม .ตัวเองก็ทำได้แค่ในเชิงกรอบคิดแค่นั้นค่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท