การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพของคนพิการ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง


ชุมชนเองเมื่อทราบข้อมูล ก็เกิดพลังในการดูแลซึ่งกันและกันมากขึ้น เกิดเป็นพลังเคลื่อนไหวในชุมชน

 


       ด้วยแรงสนับสนุนจากนโยบายหลักประกันสุขภาพ ในเรื่องสิทธิของคนพิการ  แรงสนับสนุนจากงบประมาณหลักประกันสุขภาพในเรื่องการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายคนพิการ  ทุนเดิมที่เกิดจากการรณรงค์การขึ้นทะเบียนคนพิการ เมื่อปี 2547(การทำงานแบบไตรภาคีย์ ฯ ในระดับจังหวัดพัทลุง ช่วงหลังได้ขยายตัวในระดับภาคใต้(ศวพถ.) )ของอำเภอเขาชัยสน การจัดตั้งชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการอำเภอเขาชัยสน ซึ่งเกิดการรวมกลุ่มขึ้นแบบหลวม ยังไม่มีกิจกรรมอะไรร่วมกันยังไม่ได้ หมุนเกลียว ทำให้คนพิการเริ่มตื่นตัว แต่ยังไม่ทราบเรื่องหลักประกันสุขภาพเท่าที่ควร ทราบเพียงว่าเมื่อขึ้นทะเบียนสิทธ์ไปรักษาที่รพ ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยใช้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพ ในขณะเดียวกันยังพบคนพิการบางส่วนที่ยังไม่ทราบข้อมูล ยังไม่ขึ้นทะเบียน หรือบางคนยังอายที่จะยอมรับว่าเราป็นคนพิการ 
ในส่วนของเจ้าหน้าที่เองยังทำงานแยกส่วนกัน ยังไม่มีใครที่จะกล้ารับในการดูแลโดยภาพรวม ด้วยความกังวลว่าจะ หนัก ไม่เข้าใจในเนื้องาน และ การไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและ กัน การเชื่อมโยงข้อมูลให้กับหน่วยงานอื่นๆ ในองค์กร หรือนอกองค์กร เช่น องค์กรส่วนท้องถิ่นให้ทราบและการมีส่วนร่วมยังมีน้อย
         วิธีการในการจัดการข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาเริ่มจากสูญกลาง คือ ผู้รับบริการ เพราะทุกหน่วยบริการ มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้รับบริการ  โดยดึงชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการมามีบทบาทร่วมกับโรงพยาบาล ในการจัดเสวนา สิทธิของคนพิการในพื้นที่ และสร้างโจทย์ ให้เค้าวิเคราะห์ตนเองร่วมกัน ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารสุขในพื้นที่ และ ผู้นำชุมชน การเมืองท้องถิ่น ในเวทีนี้ก็จะเกิดประเด็นในการพูดคุยเรื่องงานคนพิการ แต่ละ หน่วยงานก็สามารถให้ข้อมูลซึงกันและ กันมากขึ้น ทำให้รู้จักกันมากขึ้น และ ประเมินเวทีโดยวิธีการ AAR
ส่วนในโรงพยาบาลเจ้าหน้าที่ที่ไม่ค่อยทราบ ว่างานคนพิการทำอะไรกัน เริ่มสงสัยและตั้งคำถาม จึงได้มีการนัดประชุม หน่วยงานบริการทุกหน่วยงานมาทราบข้อมูล บอกถึงสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และเปิดเวทีให้แต่ละหน่วยงาน บอกกันและกันว่า ตัวเองทำอะไรในงานคนพิการ ส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร อยากทำอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่
          เมื่อแต่ละหน่วยงานได้เข้าใจ และ ทราบข้อมูลซึ่งกันและกันก็จะเริ่ม การทำงานแบบประสานซึ่งกันและกันมากขึ้น เสริมส่วนที่ขาดกันมากขึ้น มีการทำงานเป็นทีมกันมากขึ้น เช่นการเยี่ยมบ้านเดิม จะ มีเฉพาะ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบหมู่บ้าน ไปเยี่ยมบ้าน แต่ปัจจุบันจะมี ทั้งเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทย พยาบาลตึกผู้ป่วยนอก พยาบาลตึกผู้ป่วยใน เจ้าหน้าที่งานประกันสุขภาพ ไปเป็นทีมตามสมควร หลายคนอาจถามว่าพยาบาล ผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในไปทำไม แต่เมื่อกลับไปถามคนที่ได้ไปเยี่ยมบ้านเอง เค้ากลับบอกว่าดี เราได้เข้าใจ บริบท ของผู้รับบริการมากขึ้น
ในส่วนของการเมืองส่วนท้องถิ่นหรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ยังไม่ได้เกิดการทำงานเป็นทีมกันอย่างชัดเจน เนื่องจากความไม่เข้าใจในเนื้องานของกันและกัน ความซับซ้อนที่จะต้องประสานงาน จึงต้องใช้วิธีการประสานแบบไม่เป็นทางการกับหน่วยงานที่มีความพร้อม และ เต็มใจในการร่วมทีมด้วยวาจา และเล่าเรื่องงานให้ฟัง ผลปรากฏว่าทีมงาน เห็นผลดีของการทำงานร่วมกันมากขึ้นได้ทราบข้อมูลผู้รับบริการมากกว่าที่เรารู้ ได้แก้ปัญหาให้กับคนพิการได้อย่างครบวงจร เพราะมีบางเรื่องที่เรารู้ แต่เราไม่มีงบประมาณในขณะที่องค์กรส่วนท้องถิ่นมีงบประมาณ และ มีบุคลากรเพียงพอในการทำงาน เมื่อทีมงานเห็นผลดีเช่นนี้น ก็จะพยายามที่จะประสานกับส่วนปกครองท้องถิ่นอื่นๆ เอง คนพิการเองก็จะได้รับการดูแล แบบองค์รวมโดยปริยาย ชุมชนเองเมื่อทราบข้อมูล ก็เกิดพลังในการดูแลซึ่งกันและกันมากขึ้น เกิดเป็นพลังเคลื่อนไหวในชุมชน และสานต่อมายังส่วนราชการ
         จากการทำงานครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้ว่า
1. การพัฒนางานหากพัฒนางานอะไรเราต้องศึกษาข้อมูล ศึกษาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนได้ส่วนเสียให้รอบด้าน และ การให้เกียรติ  เจ้าของพื้นที่เจ้าของงานเป็นสิ่งสำคัญ
2. เริ่มจากพื่นฐานงานประจำ หรือ หน้างานของตัวเอง  จะได้ไม่รู้สึกว่าต้องไปแบกรับภาระงานของคนอื่นหรือกังวลว่ามันจะหนักเกินไป
3. มีผู้จัดการที่ชัดเจน คอยเชื่อมโยงข้อมูล หรือ จัดเวทีให้ได้มาพบกัน เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน
4. ต้องมีการหนุนเสริมพลังจากผู้บังคับบัญชา อาจจะเป็น เพียงการพูดถึง ถามถึง หรือ การให้นโยบาย

หมายเลขบันทึก: 172825เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2008 06:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

     สำหรับงานคนพิการซึ่งถือว่าเป็นงานครูของเราในการทำงานเครือข่ายฯ เรียนรู้ เราพบคำสำคัญ (Key Words) ว่าการที่จะให้คนพิการ หรือคนชายขอบอื่นใด ได้เข้าถึงสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเขาเองนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องยากเย็นอะไรเลย หากแม้ว่าเราซึ่งเป็นผู้ให้บริการและเป็นผู้ที่มีหน้าที่คอยสนับสนุนส่งเสริมงานนั้น ๆ ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้เข้าถึงคนพิการ (หรือคนชายขอบอื่น) และความพิการ (หรือความเป็นคนชาบขอบของเขา) ให้ได้เสียก่อนครับ

ขอบคุณคะ คุณชายขอบ

ดังพระราชดำรัส พ่อหลวงไทย เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

ขอเบอร์โทรติดต่อหน่อยครับ ทั้งของประธานชมรม ผู้ประสนงาน และเจ้าของบล็อก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท