การบริหารจัดการประเทศไทย


ปัญหาอยู่ที่ตัวช่วยที่เป็นหัวขบวนราชการทั้งกำนันผญบ.และนายอำเภอว่าจะยังคงกระบวนทัศน์แบ่งแยกปกครองหรือเปลี่ยนเป็นเอื้ออำนวยให้ชุมชนและท้องถิ่นสมานฉันท์เพื่อการพัฒนาอย่างจริงจังเพียงไร?

                การออกแบบการบริหารประเทศในระบอบประชาธิปไตยของรัฐไทย เริ่มจากการเลือกตั้งเพื่อให้ได้อำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ โดยระบอบพรรคการเมือง โดยมีกรรมการกลางคือกกต.เป็นผู้ดำเนินการ ผ่านระบบการเลือกตั้งตามเขตในระดับจังหวัดและเลือกตัวแทนพรรคตามภูมิภาค

                เมื่อได้รัฐบาลเสียงข้างมากเข้ามาบริหารประเทศแล้ว รัฐบาลได้ใช้นโยบายตามกรอบรัฐธรรมนูญ กฏหมาย กฏกระทรวง ระเบียบ ฯลฯรองรับการทำงานซึ่งมีระบบราชการเป็นกลไกหลัก

                ในการบริหารจัดการต้องมีรายได้ หนี้สินและรายจ่ายในการดำเนินงาน การหารายได้และสร้างหนี้สิน รวมทั้งการจ่ายเงินเพื่อการพัฒนาจึงเป็นนโยบายของพรรคการเมืองและการเลือกปฏิบัติกับบางกฎหมายเพื่อสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขหรือที่ประชาชนชื่นชอบ

                แนวทางในการพัฒนาประเทศมีหน่วยงานหลักทำหน้าที่จัดทำแผนพัฒนาระดับชาติ (ฉบับที่10 ปี2550-2554) เป็นกรอบใหญ่กำหนดทิศทางการเดินของประเทศ ซึ่งการจัดสรรงบประมาณกำหนดให้สอดคล้องกับแผน10และนโยบายของรัฐบาล
(ในปี2551กำหนดไว้1,660,000ล้านบาท)   
                ซึ่งระบุไว้ใน6ยุทธศาสตร์32แผนงบประมาณ ลักษณะงาน4ประเภทจำนวน14ด้าน คือ

1)ประเภทบริหารงานทั่วไป

2)บริการชุมชนและสังคม

3)การเศรษฐกิจ

4)อื่นๆ

                 โดยกระจายลงไปตามหน่วยงานและกระทรวงดังนี้

1)งบกลาง                                                         

2)สำนักนายกรัฐมนตรี

3)กระทรวง19กระทรวง

4)ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี

5)หน่วยงานอิสระของรัฐ

6)รัฐวิสาหกิจ

7)กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน

    ใน7รูปแบบของการกระจายเงินงบประมาณ ได้แบ่งเป็น3ลักษณะสำคัญคือ

1)ราชการบริหารส่วนกลาง อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลางระดับกระทรวง ทบวง กรม

2)ราชการบริหารส่วนภูมิภาค อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด

3)ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่ตำบล เชื่อมโยงกับส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ(ในส่วนของอบต.)และเชื่อมโยงกับส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด(ในส่วนของเทศบาลและอบจ.)

                 ในส่วนท้องถิ่นได้ใช้กระบวนการเลือกตั้งผู้แทน คล้ายคลึงกับระดับชาติ โดยเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นและเลือกนายกฯโดยตรง แต่ไม่อยู่ในกฎหมายพรรคการเมือง

                 ประชาชนจึงมีส่วนร่วมในการเลือกผู้แทนเข้ามาบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดินใน2ระดับคือระดับชาติและระดับท้องถิ่น รวมทั้งร่วมเป็นคณะกรรมการในกฎหมายและแผนพัฒนาต่างๆอีกทางหนึ่งด้วย

                  นอกจากนี้ประชาชนยังมีบทบาทในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาเพื่อเข้ามาช่วยออกกฎหมายและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลจังหวัดละ1คนด้วย (อีกครึ่งหนึ่งมาจากการสรรหา)

                  การจัดการงบประมาณในส่วนของระบบราชการใน7รูปแบบมีความซับซ้อนมาก เนื่องจาก

แต่ละกระทรวง(กรม)ต่างมียุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของตนเองเพราะเป็นหน่วยจัดการที่สามารถตั้งงบประมาณดำเนินการได้ แต่การกำหนดกลยุทธ์ของกรมต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ตามกรอบ  ยุทธศาสตร์ในแผน10และนโยบายของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันได้แถลงไว้ 8 นโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่18กุมภาพันธ์2551 คือ

1)นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

2)นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

3)นโยบายเศรษฐกิจ

4)นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5)นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

6)นโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

7)นโยบายความมั่นคงของรัฐ

8)นโยบายการบริหารจัดการที่ดี

        เมื่อหน่วยงานกำหนดแผนงานโครงการในฐานะหน่วยจัดการ7รูปแบบหลักแล้ว             การกระจายงบประมาณลงมาตามแขนขาก็มีความแตกต่างกัน แต่ที่เป็นหลักคือขอบเขตการจัดการในระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและสำนักงานจังหวัดเป็นศูนย์ประสานงานกลาง ที่มีแผนงานโครงการของแต่ละหน่วยงานมาออกัน ซึ่งในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่๗) กำหนดให้จังหวัดเป็นหน่วยจัดการที่สามารถเสนอของบประมาณโดยตรงจากสำนักงบประมาณ     โดยผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาชาติและความต้องการของชุมชนในท้องถิ่นผ่านกระบวนการที่มาจากการมีส่วนร่วมของภาครัฐทั้งหมดในจังหวัด   ภาคท้องถิ่นทั้งหมด ภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจเอกชนในจังหวัด

เมื่อแผนพัฒนาจังหวัดประกาศใช้แล้ว หน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นทั้งหมดจะต้องดำเนินกิจกรรมสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด โดยนายอำเภอต้องทำหน้าที่ประสานกับชุมชนและท้องถิ่นเพื่อจัดทำแผนชุมชน เป็นแนวทางในการรองรับงบประมาณจากท้องถิ่นและส่วนราชการต่างๆในจังหวัดอีกทางหนึ่งด้วย

             ในระบบการจัดสรรงบประมาณของหน่วยจัดการ3ระดับคือ ระดับชาติ จังหวัดและท้องถิ่นนั้น หน่วยจัดการระดับชาติในรัฐบาลไทยรักไทยได้ใช้แนวทางต่อตรงกับชุมชนในโครงการกองทุนหมู่บ้านและงบเอสเอ็มแอล ซึ่งข้ามผ่านหน่วยงานภูมิภาค หน่วยจัดการระดับจังหวัดและท้องถิ่นในลักษณะของการสร้างหน่วยจัดการระดับหมู่บ้าน(จำลอง) โดยกระจายเงินกองทุน1ล้านบาทเท่ากันในทุก       หมู่บ้าน และตามขนาดของหมู่บ้านในโครงการเอสเอ็มแอล โดยให้หน่วยงานภูมิภาคทำหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมคณะกรรมการระดับหมู่บ้านซึ่งทำหน้าที่จัดการงบประมาณที่ได้รับเท่านั้น

            อย่างไรก็ตาม  ภายใต้กลไกสนับสนุนส่งเสริมดังกล่าวรัฐบาลได้ใช้กลไกปกครองเป็นเครื่องมือสำคัญ ซึ่งกองทุนหมู่บ้านระบุชัดเจนให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นเพียงที่ปรึกษา แต่ในกรณีเอสเอ็มแอล   ถือเป็นบทบาทสำคัญของกำนันผู้ใหญ่บ้านภายใต้ชื่อ
โครงการอยู่ดีมีสุข ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์   ซึ่งที่จริงเป็นแนวคิดเดิมของไทยรักไทยที่กำหนดให้โครงการมาจากเวทีประชาคมภายในหมู่บ้าน          ที่เรียกว่าอาจสามารถโมเดล
             แนวทางการจัดการงบประมาณที่ต่อตรงถึงหมู่บ้านดังกล่าวได้สร้างกลไกเชื่อมโยงกับอำนาจรัฐ(พรรคการเมือง)ส่วนกลาง แทนที่จะกระจายอยู่ในมือของระบบราชการหรือกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นเป็นหน่วยจัดการ ซึ่งเป็นอำนาจที่ประชาชนเข้าถึงได้โดยตรงมากที่สุด รวมทั้ง30บาทรักษาทุกโรค       จึงเป็นพลังที่ประชาชนหวงแหนและเรียกร้องให้กลับคืนมา(อีกครั้ง)

              อำนาจที่ซ้อนทับกันเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบของฝ่ายต่างๆตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ว่าไปแล้วโครงการที่สร้างหน่วยจัดการระดับหมู่บ้านในรูปกองทุนหมู่บ้านและงบเอสเอ็มแอลถือเป็นรูปแบบ/วิธีการที่กระจายอำนาจให้ชุมชนสูงสุด โดยหากถือตามกฎหมายใหม่ๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งบทบาทของกำนัน/ผญบ.ที่กำหนดให้มีความเป็นข้าราชการมากยิ่งขึ้นในฐานะผู้ช่วยนายอำเภอ และกฎหมายสภาองค์กรชุมชนที่ให้องค์กรชุมชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาชุมชนอย่างชัดเจนมากขึ้น กลไกแผนชุมชนที่เชื่อมโยงกับแผนท้องถิ่น  รวมทั้งแผนพัฒนาจังหวัดน่าจะช่วยคลี่คลายความซ้อนทับของงบประมาณที่มีหน่วยจัดการระดับชาติเป็นแกนกลางได้เป็นอย่างดี

               ข้อเสนอ

               กำนัน/ผญบ.ถือเป็นข้าราชการปลายสุดของระบบ ทำหน้าที่ประสานสภาองค์กรชุมชนกับ ท้องถิ่นเพื่อร่วมกันจัดทำแผนแม่บทชุมชนในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจและการเงินชุมชน            ด้านสังคมและสวัสดิการชุมชน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านสุขภาวะ  เป็นต้น  ที่มาจากการระดมเงินทุนภายใน พึ่งตนเองและพึ่งพาช่วยเหลือกันเป็นสำคัญ   โดยมีงบประมาณสมทบการดำเนินงานตามแผนชุมชนจากกองทุนหมู่บ้าน เอสเอ็มแอล งบท้องถิ่นและงบประมาณจากส่วนราชการอื่นๆเป็นแรงเสริม

               โดยทิศทางรัฐบาลควรเพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านให้เป็นกองทุนเอนกประสงค์เพื่อสร้างสวัสดิการชุมชน และงบเอสเอ็มแอลเป็นเงินพัฒนาหมู่บ้านโดยปรับลดงบประมาณของหน่วยจัดการระดับกรม โดยประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและเอสเอ็มแอลอย่างจริงจัง ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้พัฒนาจากรูปแบบที่ดีขยายผลอย่างกว้างขวางจากฐานรากระดับหมู่บ้านอย่างแท้จริง เมื่อฐานรากระดับหมู่บ้านมีความเข้มแข็ง ย่อมส่งผลให้ตำบล จังหวัดและระดับชาติมีความเข้มแข็งขึ้นด้วย ปัญหาคือคุณภาพของกองทุนหมู่บ้านในฐานะกองทุนกลางของชุมชนและแนวทางในการพัฒนาให้มีคุณภาพ รวมทั้งโครงการเอสเอ็มแอลที่มิใช่เพียงการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้ฐานรากเป็นเครื่องมือ

โดยโครงสร้างภาพรวมน่าจะดีขึ้น ปัญหาอยู่ที่ตัวช่วยที่เป็นหัวขบวนราชการทั้งกำนันผญบ.และนายอำเภอว่าจะยังคงกระบวนทัศน์แบ่งแยกปกครองหรือเปลี่ยนเป็นเอื้ออำนวยให้ชุมชนและท้องถิ่นสมานฉันท์เพื่อการพัฒนาอย่างจริงจังเพียงไร?

หมายเลขบันทึก: 172674เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2008 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนนท่าน ภีม วันนี้ที่จังหวัดยโสธร ทีม UKM ในนามที่ปรึกษาจังกวัดบูรณาการ เรา "ลปรร" ทั้งภาครัฐ ประชาชน และ พี่เลี้ยง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ครับ

 

  • มาทักทายพี่ภีม
  • บ่นถึงก็มา
  • เข้าใจว่า เรื่องนี้
  • เมื่อฐานรากระดับหมู่บ้านมีความเข้มแข็ง ย่อมส่งผลให้ตำบล จังหวัดและระดับชาติมีความเข้มแข็งขึ้นด้วย ปัญหาคือคุณภาพของกองทุนหมู่บ้านในฐานะกองทุนกลางของชุมชนและแนวทางในการพัฒนาให้มีคุณภาพ รวมทั้งโครงการเอสเอ็มแอลที่มิใช่เพียงการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้ฐานรากเป็นเครื่องมือ
  • เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆๆ ทำอย่างไรดีครับ
  • จะตกยอดยออกไปได้

อ.JJครับ ที่จริงสกอ.วางกลไกการจัดการตามภารกิจ4ด้านของอุดมศึกษาในภูมิภาค น่าจะนำแนวคิดห้องเรียนจังหวัดมาใช้ในการเสริมหนุนงานระหว่างกัน คือ ใช้พื้นที่จังหวัดเป็นแหล่งเรียนรู้ภาคปฏิบัติและสร้างความรู้ใหม่จากพื้นที่ ทำให้การเรียนการสอนเชื่อมโยงกับการวิจัยและพัฒนาพื้นที่ UKMน่จะเป็นหัวหอกหารือกัยสกอ.นะครับ

สวัสดีครับอ.ขจิต

ยังขยันขันแข็งเหมือนเดิมนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท