ถอดเทป....กรมส่งเสริมการเกษตร คุยกันเรื่อง KM (จบ)


      ถอดเทปวงเสวนาในงาน "สรุปบทเรียนการจัดการความรู้ 1 ปีและแนวทางการดำเนินงานในอนาคต"   ต่อจากเมื่อวานนี้นะคะ (Link เมื่อวาน

นายณัฐวัตร  เตชะสาน  :       

ไม่มีคำถามแต่จะแสดงความรู้สึกก็ได้นะครับ เมื่อกี้ก็มีอยู่ 1 ข้อ  อาจารย์ทรงพลคงจำได้ที่อาจารย์บอกว่าจะต้องยิ้มแย้ม ลักษณะที่ควรจะต้องทำจากการแสดงความรู้สึกเมื่อกี้นี้นะครับ แต่ในสองวันนี้มันหล่นหายไป รู้สึกเราจะเคร่งเครียดกันเกินไป มีคำถามอีกสัก 1 หรือ 2 คำถามไหมครับ หรือแสดงความรู้สึกหลังจากที่เราได้ฟังมุมมองต่าง ๆ อาจารย์ทั้งสองท่าน ท่านหนึ่งพาเราขึ้นจักรยาน มีอีกหลายจังหวัดที่ยังไม่ใช้สิทธิ์ อุบลราชธานีจะใช้สิทธิ์ไหมครับ นครนายกไม่เบา ฝีไม้ลายมือ ผมเรียน อ.ทรงพลนิดหนึ่งครับ นครนายกเล่นเล็กแต่ลงลึก แต่ทำไมไม่ยอมแสดงความรู้สึกไม่ทราบ เล่นเล็กอย่างที่อ.ว่า Action แยะครับ มีไหมครับนครนายกเชิญครับ ความรู้สึกก็ได้นะครับ
นายมนตรี  เรืองพันธุ์  :
จริง ๆ แล้วจังหวัดนครนายกทำกันทุกระดับ โดยทำกับเจ้าหน้าที่ก่อน แล้วปรากฏว่าเรายึดติดกับธารปัญญา ได้ธารปัญญาออกมา ผมคิดว่าเจ้าหน้าที่ยอมรับตัวเองค่อนข้างน้อย ไม่ค่อยจะแสดงออกเท่าไหร่นัก และธารที่ออกมาก็แคบ เมื่อธารแคบก็เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดยาก แล้วนำวิธีการทดลองทำไปทดลองกับกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเล็ก ๆ ปรากฏว่า เมื่อเราไปศึกษาข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกรเราได้อะไรมากมายจากตรงนั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกษตรได้แลกเปลี่ยนกันเยอะมาก ซึ่งเราก็ทำต่อ โดยผลที่ได้จากการเรียนรู้ ขออนุญาตเล่าให้ฟังว่าเราเอาไปเชื่อมโยงอะไร เรามีโรงเรียนเกษตรกรอยู่แล้ว โรงเรียนเกษตรกรเราจะบริหารจัดการโดยใช้เวทีประชาคม แต่ปัญหาจากเวทีประชาคมไม่ชัดเจน แต่พอเราเอา KM เข้าไปใช้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรากระตุ้นให้เขาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละหมู่บ้าน แต่ละคน ปรากฎว่าจากกลุ่มปลูกส้มโอที่มีรายได้แตกต่างกันมากตั้งแต่ 3,000-70,000 บาท/ต่อไร่ ซึ่งมีความแตกต่างกันสูงมาก เราก็ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า คนที่ได้รายได้น้อย เป็นเพราะปฏิบัติไม่ถูกต้องเหมือนคนที่มีรายได้มาก หลังจากนั้นก็เอาคนเหล่านี้มาแยกกลุ่ม แล้วให้กลุ่มคนเหล่านี้ไประดมความคิดเห็นในส่วนที่ตัวเองปฏิบัติ เมื่อนำมาเปรียบเทียบจัดเข้าธารจะเห็นได้ว่าธารกว้างมาก ในหลาย ๆ จุดหลาย ๆ ส่วนพอธารกว้างมาก หลังจากเราข้าทำ KM 3 ครั้ง  เกษตรกรเริ่มเชื่อมโยงกันระหว่างกลุ่ม ระหว่างหมู่บ้าน คนที่ได้ผลผลิตต่ำเริ่มไปหาคนที่ได้ผลผลิตสูง ตรงนี้เราคิดว่าเป็นความสำเร็จของโครงการ ผมคิดว่าสิ่งที่จังหวัดนครนายกทำน่าจะเข้า KM ได้  หลังจากที่ฟัง ๆ มาในวันนี้ น่าจะพอใช้ได้ ขอบคุณครับ
ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด  :
เราใช้กับชุมชนให้ชุมชนประเมินว่าชุมชนอยู่ในระดับไหน หรือว่าเราใช้กับหน่วยงานดูสิว่าหน่วยงานอยู่ในระดับไหน 1,2,3,4,5 อันนี้ใช้ได้ แต่ถ้าประเมินรายบุคคลแล้วดูว่าไม่ work เพราะคน...ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือตัวเจ้าหน้าที่หรือตัวผมเองก็ไม่ประเมินตัวเองว่าระดับ 1,2  ผมก็ยังแปลกใจว่านครนายกประเมินเป็นตัวบุคคลเกษตรกรเลย  เขาก็ยังทำได้แสดงว่าเขาไม่คิดอย่างที่ว่า เขาก็ว่ากันไปเลยตรงนั้น ไม่คิดอะไรมาก ถ้าท่านฟังจากตัวอย่างที่ผมว่าโรงพยาบาลอะไร จะเห็นได้ว่าผมไม่เคยพูดถึงตัวบุคคลเลยนะ เพราะผมพยายามให้เราเห็นศักยภาพของหน่วย พอเป็นหน่วยเรารู้สึกว่าไม่เสียหน้า เพราะไม่ใช่เราแต่ถ้านครนายกใช้ได้ก็ไม่เป็นไร ก็ถือว่าเป็นกรณีที่เราไม่ค่อยเจอกัน เครื่องมือนี้ไม่เหมาะกับการประเมินตัวบุคคล ถ้าเป็นยาก็ต้องเขียนข้างขวดว่าไม่ควรใช้ แต่ถ้าใช้ได้ดีก็ใช้ไป แต่จริง ๆ แล้วไม่สมควรใช้กับตัวบุคคล
อ. ทรงพล  เจตนาวณิชย์   :
ก็คงเป็นช่วงของการเรียนรู้ของพวกเรา ซึ่งผมเองก็เป็นการเรียนรู้ โดยพยายามไปประยุกต์ใช้ KM กับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย อย่างที่ผมเรียนครับ อบต. สหกรณ์ บางพื้นที่ก็ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานให้เข้าไปสนับสนุนแล้วผมที่พบว่า เราก็ต้องมีกุศโลบายในการมีวิธีเข้ากลุ่มที่ต่างกัน บางกลุ่มเป้าหมายเราเอา KM เข้าไปเลยไม่ได้เราไม่สามารถเอา Model ปลาทูเข้าไปพูดได้เลย แต่เราจะเข้าไปดูในลักษณะที่ว่า ตอนนี้คุณทำงานอยู่  คุณมีปัญหาอะไรแล้วปัญหาที่คุณพบบ่อยครั้งจากการทำงานคืออะไร แล้วเราก็พยายามที่จะเริ่มต้นจากตัวปัญหาของเขา แล้วพยายามพูดในรูปแบบที่ไม่ยึดติดกับศัพท์หรือภาษา แต่จากความคิดของเราเรารู้ว่าจะคลี่คลายปัญหาได้ ต้องใช้ปัญหาและความรู้เพียงแต่ว่าทำให้เขาชัดเจนว่าความรู้อะไรที่เขาต้องการแล้ว  เราจะช่วยสนับสนุนให้เขาหาความรู้ และจัดการความรู้แล้วให้ความรู้ตัวนั้นเกิดผลความเปลี่ยนที่ชัดเจนไปที่เขาสัมผัสได้อย่างไร ผมยึดหลักตัวนั้นพอเราเข้าไป ผมคิดว่าทุกคนทำงานต้องมีปัญหาอยู่แล้วเขาต้องการเพื่อน เขาต้องการความเป็นเพื่อนช่วยเหลือผมคิดว่าถ้าเราเข้าไปในลักษณะเข้าใจเค้า แล้วเริ่มคุยจากฐานของเค้าไปใช้ฐานของเราก็ค่อยได้ แล้วบ้างทีเราก็ไม่อาจสามารถเร่งัดหรือเร่งรับได้ เราไม่สามารถเอาเวลามาเป็นข้อจำกัดว่าบางเวลาน่าจะได้ บางเวลาน่าจะไม่ได้อันนี้เป็นประสบการณ์การทำงานกับชุมชน  อย่างที่อาจารย์ประพนธ์ว่าชุมชนกับองค์กรไม่เหมือนกัน วัฒนธรรมของชุมชนเป็นวัฒนธรรมที่อิสระ วัฒนธรรมที่อยู่ในภาคการเกษตร วัฒนธรรมที่เขาไม่ดูนาฬิกา แต่เป็นวัฒนธรรมที่ดูไก่ขันดูพระอาทิตย์หรืออะไรต่าง ๆ แล้วที่บางท่านบอกว่าบางทีท่านอาจจะหลงทิศหลงทาง แต่จริง ๆ แล้วผมว่าไม่นะแต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ บริบท เงื่อนไข เค้าอยู่รู้เค้าอยู่ตรงนี้ รู้จักดีสุด แล้วเข้ารู้อยู่ว่าเขาจะเข้าประตูไหน แล้วเมื่อเข้าไปแล้วจะเดินต่อไปสู่จุดหมายปลายทางทางอย่างไร เพราะปัญหาที่เขาไม่มีประตูเดียว ถ้าเราไม่มีรูปแบบก็เราจะไม่ยึดติดวิธีการเอาเป้าหมายเป็นตัวตั้ง เราก็จะมีวิธีการหลาย ๆ วิธีการที่จะไปถึงเป้าหมายนั้น อันนี้ที่ผมเข้าไปทำงานกับหลาย ๆ องค์กรที่มีความต่างกันก็จะทำให้สอนผมด้วยว่าไปครั้งนี้ผมพูดแบบนี้ไม่ได้นะ ผมจะต้องใช้ภาษาอีกภาษาหนึ่งอย่างนี้เป็นต้น ผมอยากจะกระตุ้นให้พวกเราใช้โอกาสบทเรียนในการเริ่มต้นที่จะไปทำความเข้าใจปูพื้น เพราะช่วงนี้คือช่วงที่สำคัญ
นายสุทธิชัย  ยุทธเกษมสันต์  :
ผมในฐานะตัวแทนของผู้เข้าร่วมสัมมนาขอพูดว่า พวกเราขอร้อยใจเป็นหนึ่งเดียว ขอบคุณท่านอาจารย์ ผมคิดว่าหาโอกาสที่สำคัญอย่างนี้หายากและผมคิดว่าสิ่งที่จะตอบแทนอาจารย์ได้ดีที่สุด       คือน้ำใจจากพวกเรา ขอให้ทุกท่านมีความสุข ความเจริญคิดสิ่งใดขอให้สมปรารถนาทุกท่าน  ขอคุณครับ

     

 

หมายเลขบันทึก: 17262เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2006 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท