การจัดการองค์ความรู้ เชิง พุทธศาสนา


KM เชิง พุทธศาสนา

KM เชิง พุทธศาสนา

ตอน หัวใจนักปราชญ์ กับ การจัดการองค์ความรู้
บทความโดย ฉสุภ  ตั้งเลิศลอย 
บทความนี้ข้าพเจ้าได้เขียนขึ้นเองด้วยแนวทางพุทธศาสนา
ได้ใช้การอ้างอิงเท่านั้นมิได้คัดลอกมาจากที่ไดทั้งสิ้น  

 

     เป็นเวลา 2500 กว่าปีล่วงมาแล้วที่พุทธศาสนาบังเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ศาสนาที่เต็มไปด้วยคำสอนและพร้อม
ที่จะให้พิสูจน์ทราบอยู่ได้ทุกเวลา  ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่าใน 84,000 ธรรมขันต์ เพียงพอแล้วในการใช้บริหาร  

โลกทุกวันนี้ เพราะหลาย ๆ ครั้งหลาย ๆ คราวแล้ว เมื่อฝรั่งต่างชาติคิดทฤษฏีการบริหารหรือปรัชญาใหม่ ๆ แล้ว  

เมื่อนำมาลองเทียบเคียงกับพระไตรปิฏก หลายครั้งก็พบอยู่แล้วและอธิบายได้อย่างลึกซึ่งกว่าเป็นอย่างมาก ในกรณี  

การจัดการองค์ความรู้นี้ก็เช่นกัน หากพิจารณาอย่างดีแล้วเราจะพบว่า หลายทฤษฏีนั้นก็มีอยู่แล้วในพระไตรปิฏก  

ซึ่งในวันนี้ข้าพเจ้าจะขอกล่าวถึงหลักธรรมซึ่งถือเป็น "หัวใจนักปราชญ์" หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม สุ-จิ-ปุ-ลิ นั้น  

มีความสัมพันธ์กับการจัดการองค์ความรู้อย่างไร  

     ก่อนอื่นเราก็ต้องรู้เสียก่อนว่า "หัวใจนักปราชญ์"  นี้คืออะไร หัวใจนักปราชย์นี้ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ  

ด้วยกันอันได้แก่ "สุตะ" คือการฟัง, "จินตนะ" คือการคิด, "ปุจฉา" คือการถาม, "ลิขิต" คือการเขียน หรือที่  

เขานิยมเรียกย่อกันว่า สุ-จิ-ปุ-ลิ นั่นเอง  

     ทีนี้เราก็ลองมาพิจารณาว่าเพราะเหตุไดข้าพเจ้าจึงได้อาจหาญนำมากล่าวว่ามันเกี่ยวข้องกับการจัดการองค์ความรู้  

ก็ต้องชี้แจงว่าเป็นสิ่งที่ "ข้าพเจ้าคิดเองว่ามันเกี่ยว" ทีนี้ถ้าจะมีใครบอกว่ามันไม่เกี่ยวนั้น หากมีเหตุมีผล มาคะคานได้  

ข้าพเจ้าก็ขอน้อมรับโดยดี  

     พอบอกว่ามันเกี่ยวนั้นก็ต้องอธิบายต่อว่า "มันเกี่ยวอย่างไรระดับใหนและจพนำมาใช้อย่างไร" จึงจะได้ผล  

ซึ่งก็จะขออธิบายว่าที่ข้าพเจ้าคิดว่ามันเกี่ยวนั้นคือ  เกี่ยวในระดับการจัดการคงค์ความรู้ระดับบุคคล ที่บอกว่าระดับ  

บุคคลนั้น  จริง ๆ ใจของข้าพเจ้านั้นคิดว่าเกี่ยวได้ถึงระดับองค์กรเลยทีเดียว เพียงแต่ว่าถ้าอาจหาญลากไปเกี่ยวกับ  

การจัดการองค์ความรู้ระดับองค์กรณ์นั้นปัญญาของข้าพเจ้าคงไม่พอจะอธิบายเป็นแน่  

     คราวนี้ก็มาต่อว่าที่ว่าเกี่ยวกับระดับบุคคลนั้นเพราะเหตุได ก็ด้วยเหตุว่าหากเรานำ "หัวใจนักปราชญ์" นี้  

ไปประยุกต์ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันแล้ว เราก็จะสามารถเป็นผู้ที่สามารถจัดการองค์ความรู้ของเราได้เป็นอย่างดี  

ยกตัวอย่างเช่นหากเราเป็นผู้ฟังที่ดีได้คือใช้ "สุตะ" นั้น ในวันหนึ่งหนึ่ง เราจะพบว่ามีความรู้ใหม่ ๆ ผ่านเข้ามาให้เรา  

ตักตวงอย่างมากมาย อย่างที่เรียกได้ว่ามหาศาลเลยทีเดียว แต่ครั้นจะฟัง ๆ ไปอย่างเลื่อนลอยนั้นมันก็จะทำให้เรา  

ได้ขยะกองใหญ่(ข้อมูล)มาอยู่ในหัว มันก็เลยต้องตามมาด้วยการคิดหรือก็คือ "จินตะ" นั่นเอง  แล้วทีนี้จะคิดอย่างไร  

ข้าพเจ้าก็ต้องขอเสนอหลัก “กาลามสูตร” หรือที่ฝรั่งเรียกว่า การคิดเชิงวิจารณ์ (critical thinking)
ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับการจัดการองค์ความรู้อีกเช่นกัน  

ซึ่งหากใครสนใจให้ไปลองหาอ่านดูได้ แต่ถ้าใจเย็นนิดนึงข้าพเจ้าจะได้นำมาอธิบายแบบภาษาสบาย ๆ อีกครั้งหนึ่ง  

วกกลับมาเข้า "จินตะ" หรือการคิด เมื่อเราคิดไคร่ครวญในข้อมูลแล้วนั้นทีนี้มันก็อาจเกิดปัญหาอีกว่า บางอย่างนั้น  

เราก็ไม่รู้จริง ๆ มันก็ต้องอาศัยการถามหรือก็คือ "ปุจฉา" นั่นเอง ถามเพื่อให้ได้ออกมาซึ่งความถูกต้อง ถามผู้รู้จริง  

แล้วก็ถามอย่างฉลาดที่จะถาม เมื่อได้คำตอบแล้วก็สุดท้ายอยู่ที่การจด "ลิขิต" ซึ่งหมายรวมถึงการบันทึกต่าง ๆ ด้วย  

ก็เป็นการจัดการองค์ความรู้ที่สมบูรณ์สำหรับบุคคล  

     ทีนี้ท่านผู้อ่านอาจจะเห็นว่ามันก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วไม่เห็นต้องมาบอกกันเลย  ก็ขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่า  

ใครที่ทำอยู่เป็นปกติประจำวันอยู่แล้วนั้นข้าพเจ้าก็ขอนิยมยินดีด้วย  แต่ที่นำมากล่าวนี้เนื่องจากที่เห็น ๆ ในประจำวันนั้น  

ส่วนมากคนสมัยนี้มักมีไม่ค่อยครบ 4 หลักนี้  บางคนก็ไม่ฟังอะไรใครเสียเลย เอาแต่คิด เอาแต่ถามแล้วมีคำตอบ  

ตั้งอยู่ในใจแล้ว  ไอ้ที่ถามก็สักแต่ได้ถามพอแสดงว่าสนใจเท่านั้นเอง พวกนี้มี(จินตะ กับ ปุจฉา) ทีนี้มาถึงบางพวก  

ที่ฟัง ๆ ๆ ฟังมาก ๆ เลยแล้วก็ไม่เอามาคิด อย่างงี้เขาเรียกให้แรงหน่อยก็คือโดนจูงจมูก(มีแต่ สุตตะ) หรือไม่ก็ฟัง  

เอาแต่เรื่องชาวบ้านเขาไปเรื่อย  มาถึงบางพวกฟังด้วยคิดด้วยแต่ไม่กล้าถาม(หมายรวมถึงการค้นข้อมูล)จริงไม่จริง  

ไม่รู้ก็คิดว่ารู้ไปเรื่อยสุดท้ายก็เป็นภัยเพราะรู้ผิด ๆ แล้วคิดว่าถูก(มี สุตตะ กับ จินตะ) คาวนี้ถึงพวกที่ดีขึ้นนิดนึง  

ซึ่งต้องบอกว่าข้าพเจ้าเองก็เป็นพวกนี้คือ ฟังด้วยคิดตามด้วยพออะไรไม่รู้ไม่แน่ใจก็ถามก็ค้นหาเพิ่มเติม แต่ดันไม่จด  

ไม่บันทึกไว้คือรู้แล้วก็แล้วไป อะไรที่ใช้บ่อย ๆ มันก็อาจจำได้ แต่อะไรที่นาน ๆ ใช้ที  มันก็หลงก็ลืมได้ง่าย คือพวกนี้  

มี(สุตตะ-จินตะ-ปุจฉา)เท่านั้น  

     ทีนี้ก็เลยอยากเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อเตือนความจำสักเล็กน้อยว่าเรายังมีหลักของ "สุ-จิ-ปุ-ลิ" อยู่  

หากใครใช้ครบแล้วก็เชื่อได้ว่าท่านก็เป็นหยนึ่งที่จัดได้ว่าเป็นนักปราชญ์อยู่แล้ว ข้าพเจ้าคงชื่นชมด้วย แต่ถ้าใคร  

ยังใช้ไม่ครบนั้นก็ลองรื้อ "หัวใจนักปราชญ์" นี้มาลองปัดฝุ่นใช้ดู  เชื่อว่าแค่ไม่นานนักก็จะเห็นผลได้เป็นอย่างดี  

แล้วได้ความอย่างไรก็มานำเสนอกันบ้าง  

     สุดท้ายนี้ก็ขอจบบทความเรื่อง "หัวใจนักปราชญ์ กับ การจัดการองค์ความรู้" เพียงเท่านี้ ในโอกาศหน้า  

จะได้นำเรื่อง "กาลามสูตร" มาอธิบายแบบภาษาสบาย ๆ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้หมดเรื่องการจัดการองค์ความรู้  

ระดับบุคคล แล้วค่อยมาขึ้นสู่การจัดการองค์ความรู้ระดับองค์กรณ์ต่อไป
หมายเลขบันทึก: 172604เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2008 00:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จัดว่าเป็นองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วแต่สามารถนำมาปรับปรุงและ

ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

 

ขอบคุณครับสำหรับบทความดีๆ

 

หมาน้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท