ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

เสวนาภาษาหมอพื้นบ้านและสำรวจป่าสมุนไพร อำเภอทุ่งฝน


หมอพื้นบ้านได้มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง และเต็มที่

การดำเนินงานตามโครงการวิจัยเสวนาภาษาหมอพื้นบ้านและสำรวจป่าสมุนไพร  อำเภอทุ่งฝน  ระหว่างวันที่    14  กุมภาพันธ์   2551   โดย อ.ดร.อัจฉรา  ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้สรุปประเด็นจากการดำเนินการเบื้องต้น  ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล  ค้นหาองค์ความรู้ ความชำนาญ  และให้ลงประวัติคนไข้ (ตามแบบสัมภาษณ์คนไข้) และเรื่องสำรวจป่าสมุนไพร โดยประเด็นการประชุมครั้งนี้เกี่ยวกับผลดีในการรวมกลุ่ม   การกำหนดกฎระเบียบของชมรม   การพัฒนาองค์ความรู้การพัฒนาชมรมให้ยั่งยืน ว่าควรจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง    การถ่ายทอดองค์ความรู้ / ภูมิปัญญาให้แก่ลูกหลาน/เยาวชน   ซึ่งหมอพื้นบ้านได้มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง และเต็มที่  สุดท้ายมีการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่ครบถ้วน

- ในการประชุมครั้งต่อไป  ให้ช่วยกันคิดว่าจะทำกิจกรรมอะไร  ในเรื่องการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ประชุมเสนอให้มีการอบรมหมอพื้นบ้านรุ่นใหม่ให้แก่ลูกหลานหรือคนสนใจ  ซึ่งให้ไปขายความคิดก่อนแล้วประสานเจ้าหน้าที่อีกครั้งหนึ่ง   ในเรื่องการอ่านเขียนตัวอักษรธรรม เพื่อจะได้อ่านตำรับตำราได้นั้น  มีพ่อหนูเขน  ภูกิ่งพลอย  จะเป็นผู้ถ่ายทอดให้

หมายเลขบันทึก: 172050เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2008 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีคะ

อ่านบันทึกเล่าเกี่ยวกับการประชุมแล้วอยากอ่านบันทึกเล่าเรื่องกิจกรรมที่ได้ออกไปอบรมบ้างจังคะ หรือจะเป็นความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้านก็น่าจะดี เพราะดิฉันชอบอ่าน

ว่าแต่ ดิฉันขอมากไปไหมคะ :)

ไม่มากครับ แล้วจะมาเล่าให้ฟังนะครับ

อันที่ค้างคุณมะปรางเปรี้ยวไว้นะครับ เรื่องที่วางแผนว่าจะไปคุยกับทุ่งฝนนะ จริงๆแล้วผมไม่ได้รอให้เขาร้องขอมาหรอกในการที่จะเข้าไปช่วยทำกลุ่ม คาดหวังว่าจะให้พื้นที่คิดได้เอง อันนี้ผมคิดว่าเป็นบทเรียนหนึ่งที่ว่า เราคงไปเร่งให้เกิดการตกผลึกความคิดว่าจะให้กลุ่มเกิดเร็ว ๆ เกิดตามใจเราคงไปได้ยาก แต่พอเวลาผ่านมาจุดหนึ่ง ทุ่งฝนผ่าน 2 - 3 เวที ผ่านเวทีดูเพื่อน เห็นเพื่อน ก็เลยเกิดประเด็นว่าจะต้องทำอะไรจริงจังกันแล้ว น้องที่เป็นผู้ประสานงาน (น่าจะเป็นคุณอำนวยหรือเปล่าไม่ทราบ เพราะผมไม่มีวิชาการ) ก็ติดต่อมาว่า ทีมงานชุมชนเขาเริ่มก่อตัว ก่อความคิดกันแล้ว หลังจากเวทีแรก ๆ เป็น เวทีจัดตั้ง ก็ มีอยู่หลายประเด็นเมือนกันจะค่อย ๆ เล่านะครับ ตามที่พอจะคิดได้และจะได้นำความคิดนี้ไปจัด เพราะผมได้ประสบการณ์จากเวทีของทางบ้านดุง เลยคิดว่าน่าจะเอามาใช้ได้

แผนใหญ่ ๆ น่าจะมี เวที 2 ระดับคือ เวทีระดับแกนนำกับเวทีในพื้นที่โดยมีแกนนำเป็นผู้ประสาน โดย

เวทีระดับแกนนำ จะมี

1.เวทีทำความชัดเจนใน “เครือข่าย”

2.เวทีสรุปและถอดบทเรียนประสบการณ์ เล่าสู่กันฟัง เรื่อย ๆ

เวทีในพื้นที่โดยมีแกนนำเป็นผู้ประสาน

1.สำรวจ/รวบรวม/จัดการ ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ในพื้นที่

2.เวทีโสเหล่ “ร่วมเรียนรู้และค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ”

3.ติดตามเก็บข้อมูลที่บ้านหมอพื้นบ้าน

4.เวทีโสเหล่ “แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพของชุมชนกับคนท้องถิ่น”

5.ติดตามเก็บข้อมูลที่บ้านหมอพื้นบ้าน (ข้อมูลอะไร-เขากลับไปทำอะไร คิดยังงัย)

บางเวทีผมก็ทิ้งคำถามแบบนี้

การกำหนดแผนการเคลื่อนงานของชมรมหมอพื้นบ้าน

วิเคราะห์ชมรมเราซิ

• สมาชิกและกรรมการทราบวัตถุประสงค์ของชมรมเราแล้วหรือยัง

• เรามีการการกำหนดกิจกรรมเหมาะสมแล้วหรือยัง

• เรามีวิธีการทันสมัยแล้วหรือยัง

• สมาชิกและกรรมการทราบบทบาทและหน้าที่มีความรับผิดชอบแล้วหรือยัง

• สมาชิกและกรรมการทราบกฎระเบียบและเห็นคุณค่าแล้วหรือยัง

• ส่งเสริมควบคุมให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ

• สมาชิกและกรรมการมีความเข้าใจกันและกันแล้วหรือยัง

• เรามีระบบการสื่อความที่ดีแล้วหรือยังเรามีความร่วมมือกันแล้วหรือยัง

9 เวทีสำหรับก่อตั้ง เคลื่อนงาน ประสานเพื่อน

เวทีที่ 1

กิจกรรม ทำอะไร

• 1.สำรวจ/รวบรวม/จัดการ ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ในพื้นที่ โดยเจ้าหน้าที่

• (ค่าจ้างเหมาบันทึกข้อมูล วันละ 100 บาท / ผู้เก็บ 1 คน)

กลุ่มเป้าหมาย กับใคร

• หมอพื้นบ้าน

เพื่ออะไร / ความคาดหวัง

• นำข้อมูลมาวางแผนการจัดการ จากการที่

• -หมอพื้นบ้านต่างคนต่างอยู่ / ขาดเป้าหมายร่วมกัน / ขาดคุณอำนวยในการชี้เป้า

• -แหล่งเรียนรู้หดหายไปตามสภาพ ตามเหตุปัจจัย โดยไม่มีการสนใจ (ไม่มีใครจุดประกาย)

• -สังคม ชุมชน ให้คุณค่าแก่ภูมิปัญญายังงัย (ดี / ไม่ดี)

ทำยังงัย / ลักษณะกิจกรรม

• สำรวจ/รวบรวม/วิเคราะห์

9 เวทีสำหรับก่อตั้ง เคลื่อนงาน ประสานเพื่อน

เวทีที่ 2

กิจกรรม ทำอะไร

• 2.เวทีโสเหล่ “ร่วมเรียนรู้และค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ”

• (จัดเป็นการประชุมมีค่าใช้จ่าย

• -ค่าอาหาร / อาหารว่าง

• -ค่าพาหนะ 50 – 100 บาท

• -ค่าตอบแทนวิทยากร

• (ภาครัฐ / ภาคประชาชน ชม.ละ300 บาท)

• -ค่าจัดทำเอกสาร)

กลุ่มเป้าหมาย กับใคร

• หมอพื้นบ้าน 10 คน

• อสม 10 คน

• จนท.สธ 5 คน

เพื่ออะไร / ความคาดหวัง

• -หมอพื้นบ้านได้รู้จักกัน แล้วเกิดอะไรขึ้น

• ? เมื่อหมอพื้นบ้านมาเจอกัน เขาฝันอะไร แล้วเขากลับไปทำอะไร

• -คนอื่น ๆ นอกวงหมอพื้นบ้านได้เรียนรู้ร่วมไปกับตัวหมอพื้นบ้านเองที่ได้รู้จักกัน

ทำยังงัย / ลักษณะกิจกรรม

• เวทีพูดคุย เริ่มจากการแนะนำตัวแต่ละคน โดยหมอพื้นบ้านแนะนำว่าตนเองเชี่ยวชาญการปัวอะไรบ้าง ไม่ต้องลงลึกว่าใช้ยาอะไร วินิจฉัยอะไร เพราะบางคนอาจจะยังไม่พร้อมในการพบกันครั้งแรก

• จากนั้นแบ่งกลุ่มย่อย อาจจะเป็น2 – 3 กลุ่ม ให้มี อสม.,หมอพื้นบ้าน , เจ้าหน้าที่ กระจายกันแต่ละกลุ่มเท่าๆ กัน ตั้งประเด็นคำถาม (เน้นความคิดเห็นของหมอพื้นบ้าน)

• ประเด็น – หมอพื้นบ้านในพื้นที่ยังจำเป็นหรือไม่ เพราะอะไร ยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม

• ประเด็น – สถานการณ์ของหมอพื้นบ้านในพื้นที่ตอนนี้เป็นอย่างไร

• ประเด็น – แล้วหมอพื้นบ้านในพื้นที่คาดหวังว่าอยากให้เป็นอย่างไร

• ประเด็น – ถ้าจะให้เป็นอย่างนั้นแล้วจะต้องทำอะไรบ้าง

• แล้วนัดประชุมคราวต่อไป

9 เวทีสำหรับก่อตั้ง เคลื่อนงาน ประสานเพื่อน

เวทีที่ 3

กิจกรรม ทำอะไร

• 3.ติดตามเก็บข้อมูลที่บ้านหมอพื้นบ้าน (ข้อมูลอะไร-เขากลับไปทำอะไร คิดยังงัย กับการที่ได้เจอกัน ) - ทำการบ้าน

• ค่าใช้จ่ายตาม 1

กลุ่มเป้าหมาย กับใคร

• หมอพื้นบ้าน 10 คน

เพื่ออะไร / ความคาดหวัง

• -นำข้อมูลที่ได้มาเตรียมการเพื่อเล่าสู่กันฟังในเวทีโสเหล่ครั้งหน้า

• -เพื่อให้รู้ว่าจริง ๆ แล้วเขาคิดยังงัย เกิดประกายความต้องการอะไรบ้างมั้ย

ทำยังงัย / ลักษณะกิจกรรม

• สัมภาษณ์เชิงลึกในประเด็น

• -ไปโสเหล่กันแล้ว คิดว่ายังงัย

9 เวทีสำหรับก่อตั้ง เคลื่อนงาน ประสานเพื่อน

เวทีที่ 4

กิจกรรม ทำอะไร

• 4.เวทีโสเหล่ “แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพของชุมชนกับคนท้องถิ่น”

• ค่าใช้จ่ายตาม 2

กลุ่มเป้าหมาย กับใคร

• หมอพื้นบ้าน 10 คน

• อสม+กลุ่มแม่บ้าน 10 คน

• ตัวแทนเยาวชน 10 คน

• จนท.สธ 5 คน

• ผู้นำท้องถิ่น อปท 5 คน

เพื่ออะไร / ความคาดหวัง

• -ได้ผลการโสเหล่ นำไปสู่การกำหนดบทบาทหน้าที่ ของแหล่งเรียนรู้

• -ได้ทราบว่าชุมชนให้คุณค่ากับ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ อย่างไร

• -วางหลักการ บทบาท กิจกรรมของแหล่งเรียนรู้โดยชุมชน

• (คนอื่นคิดกับหมอพื้นบ้านยังงัย แล้วหมอพื้นบ้านเองทำอะไรต่อ หลังจากรู้ว่าเขาคิดยังงั้น)

ทำยังงัย / ลักษณะกิจกรรม

• เวทีพูดคุย เริ่มจาก

• เจ้าหน้าที่สรุปสถานการณ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพในพื้นที่ว่าเป็นอย่างไร มีกี่คน เชี่ยวชาญการปัวโรคอะไรบ้าง คร่าว ๆ ไปคุยอะไรกันมา แล้วคิดยังงัย อาจถอดคำพูดเจาะใจมาเป็นสีสันชีวิตชีวาของเวทีก็ได้

• ให้ความหมายของคำว่าแหล่งเรียนรู้ชุมชนให้ชัดเจนว่าไม่ได้หมายถึงโครงสร้าง อาคาร แต่เป็นแหล่งที่จะให้โอกาสแก่ผู้อื่นได้รู้จัก ได้ศึกษา อาจจะเป็นบ้านของหมอพื้นบ้านเอง

• จากนั้นแบ่งกลุ่มย่อย เป็น 4 กลุ่ม คือ ผู้นำท้องถิ่น+จนท.สธ , อสม.+ กลุ่มแม่บ้าน , กลุ่มเยาวชน , หมอพื้นบ้าน ตั้งประเด็นคำถาม

• ประเด็น – ตามความคิดของกลุ่ม คิดว่า หมอพื้นบ้านในชุมชน จะสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้หรือไม่ (เป็นการแสดงให้เห็นว่ากลุ่มให้คุณค่ากับหมอพื้นบ้านอย่างไร)

• ประเด็น – ตามความคิดของกลุ่ม คิดว่า ถ้าเป็นได้ แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพของชุมชน ควรจะทำอะไรได้บ้าง

• ประเด็น – เมื่อคาดหวังอย่างนั้นแล้ว ตามความคิดของกลุ่ม คิดว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมได้ยังงัยบ้าง

• แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการโสเหล่

• (เจ้าหน้าที่ (คุณอำนวย) ติดตามผลจากการโสเหล่คราวนี้นำเข้าที่ประชุมของชุมชน

9 เวทีสำหรับก่อตั้ง เคลื่อนงาน ประสานเพื่อน

เวทีที่ 5

กิจกรรม ทำอะไร

• 5.ติดตามเก็บข้อมูลที่บ้านหมอพื้นบ้าน (ข้อมูลอะไร-เขากลับไปทำอะไร คิดยังงัย) - ทำการบ้าน

• ค่าใช้จ่ายตาม 1

กลุ่มเป้าหมาย กับใคร

• หมอพื้นบ้าน 10 คน

เพื่ออะไร / ความคาดหวัง

• -นำข้อมูลที่ได้มาเตรียมการเพื่อเล่าสู่กันฟังในเวทีโสเหล่ครั้งหน้า

• -เพื่อให้รู้ว่าจริง ๆ แล้วเขาคิดยังงัย เกิดประกายความต้องการอะไรบ้างมั้ย

• -ล๊อบบี้บางคนไว้ก่อน

ทำยังงัย / ลักษณะกิจกรรม

• สัมภาษณ์เชิงลึกในประเด็น

• - คิดว่ายังงัยกับแหล่งเรียนรู้ คิดว่าจะทำได้มั้ย

9 เวทีสำหรับก่อตั้ง เคลื่อนงาน ประสานเพื่อน

เวทีที่ 6

กิจกรรม ทำอะไร

• 6.เวทีโสเหล่ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้นำสู่การจัดตั้ง”

• ค่าใช้จ่ายตาม 2

กลุ่มเป้าหมาย กับใคร

• หมอพื้นบ้าน 10 คน

• อสม 10 คน

• จนท.สธ 5 คน

เพื่ออะไร / ความคาดหวัง

• -หมอพื้นบ้านส่วนหนึ่ง เสนอตัวเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ เปิดตัวแหล่งเรียนรู้ ให้ภายในกลุ่มรู้จักกันดี ๆ ก่อน

• -แหล่งเรียนรู้เองได้เข้าใจในบทบาท หน้าที่

• -มีข้อมูลของแหล่งเรียนรู้ในรายละเอียดมากขึ้น

ทำยังงัย / ลักษณะกิจกรรม

• เวทีพูดคุย เริ่มจาก

• ผู้ประสานงานเครือข่ายสรุปบทบาท หน้าที่ ความต้องการของชุมชนที่มีต่อแหล่งเรียนรู้

• แยกเป็น 2 – 3 กลุ่มตามความเชี่ยวชาญ ถอดบทเรียนจากหมอพื้นบ้านแต่ละท่าน ในประเด็น

• -ความเชี่ยวชาญ

• -แนวทางการวินิจฉัย

• -แนวทางการรักษา / แผนการรักษา

• -ค่าครูคาย

9 เวทีสำหรับก่อตั้ง เคลื่อนงาน ประสานเพื่อน

เวทีที่ 7

กิจกรรม ทำอะไร

• 7.-ติดตามเก็บข้อมูลที่บ้านผู้นำชุมชน – ชาวบ้าน ได้รับผลกระทบอะไร

• -ติดตามข้อมูลที่บ้านหมอพื้นบ้านว่าได้รับผลกระทบอะไรบ้าง)

• ค่าใช้จ่ายตาม 1

กลุ่มเป้าหมาย กับใคร

• หมอพื้นบ้าน 10 คน

• ผู้นำชุมชน – ชาวบ้าน 10 คน

เพื่ออะไร / ความคาดหวัง

• ผู้นำชุมชน – เรียนรู้และเข้าใจเครือข่าย

ทำยังงัย / ลักษณะกิจกรรม

• สัมภาษณ์เชิงลึกในประเด็น

• - ชุมชนได้รับผลกระทบอะไร

• - หมอพื้นบ้านได้รับผลกระทบอะไรบ้าง

9 เวทีสำหรับก่อตั้ง เคลื่อนงาน ประสานเพื่อน

เวทีที่ 8

กิจกรรม ทำอะไร

• 8.เวทีคืนความรู้สู่ชุมชน ตลาดนัดภาคีสุขภาพในพื้นที่

• ค่าใช้จ่ายตาม 2

กลุ่มเป้าหมาย กับใคร

• หมอพื้นบ้าน 10 คน

• อสม+กลุ่มแม่บ้าน 10 คน

• ตัวแทนเยาวชน 10 คน

• จนท.สธ 5 คน

• ผู้นำท้องถิ่น อปท 5 คน

เพื่ออะไร / ความคาดหวัง

• - ให้เกิดภาคีเครือข่ายสุขภาพของชุมชน

• - ให้เกิดชมรมย่อย ๆ ในภาคี โดยมีโครงสร้างชัดเจน

• - เปิดประเด็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

ทำยังงัย / ลักษณะกิจกรรม

• เวทีนำเสนอ สรุปงาน อาจจะมีการจัดตั้งเป็น ภาคีเครือข่ายสุขภาพของชุมชน โดยมีกลุ่มชมรมต่าง ๆ เช่น

• ชมรมหมอพื้นบ้าน มีการเลือกตั้ง คณะกรรมการและประธาน

• แยกกลุ่มประชุมในประเด็น ชมรม....... จะทำอะไรให้แก่ชุมชนได้บ้าง แล้วนำมานำเสนอ (ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร)

• ข้อตกลงร่วมกันของชุมชน “ศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ของชุมชน”

9 เวทีสำหรับก่อตั้ง เคลื่อนงาน ประสานเพื่อน

เวทีที่ 9

กิจกรรม ทำอะไร

• 9.จัดทำแผนงานพัฒนาชมรมต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย กับใคร

เพื่ออะไร / ความคาดหวัง

• พัฒนาองค์กร – ข้อบังคับชมรม – บทบาทหน้าที่ของกรรมการชมรม

ทำยังงัย / ลักษณะกิจกรรม

• ดูงาน

• ประชุมกลุ่มย่อย กำหนดทิศทาง การเคลื่อนงาน

การเติมพลังความรู้ให้แก่กรรมการชมรม (องค์ความรู้ใดบ้างที่กรรมการชมรมควรมี ใครควรทำในส่วนไหน 4 M)

• องค์ความรู้ในการจัดการด้านบุคลากร

• องค์ความรู้ในการบริหารจัดการ

• องค์ความรู้ในการจัดการด้านการเงินและงบประมาณ

• องค์ความรู้ในการจัดการด้านเครื่องไม้เครื่องมือ

7 ข้อเสนอกิจกรรมของชมรมเพื่อการเคลื่อนงานอย่างเป็นรูปธรรม

• ประชุมเป็นประจำ

• คุณภาพบริการ

• คุณภาพวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์

• การบอกรับสมาชิกเพิ่ม

• การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

• การจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน / ตลาดนัดสุขภาพพื้นบ้าน

• ศูนย์เรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน

7 ข้อเสนอกิจกรรมของชมรมเพื่อการเคลื่อนงานอย่างเป็นรูปธรรม

• ประชุมเป็นประจำ

• คุณภาพบริการ

• คุณภาพวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์

• การบอกรับสมาชิกเพิ่ม

• การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

• การจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน / ตลาดนัดสุขภาพพื้นบ้าน

• ศูนย์เรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน

ทำอะไร

• คุณภาพบริการ

ทำทำไม

• มีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพบริการเพื่อสร้างการยอมรับให้แก่ประชาชน

ทำยังงัย

• วางข้อกำหนดเบื้องต้น ถ้าหมอพื้นบ้านให้บริการแล้วให้แนบไปรษณียบัตรติดตามประสิทธิภาพการบริการให้แก่คนไข้ไปด้วย

• รับรู้ร่วมกัน หมอพื้นบ้านทุกคนร่วมรับรู้และ ทำร่วมกัน โดยทำตามข้อกำหนดนั้น

• ติดตามร่วมกัน ฝ่ายพัฒนาคุณภาพบริการ รวบรวมประมวลผล ทั้งคุณภาพและปริมาณ (โดยภาครัฐน่าจะเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และนำเข้าที่ประชุมกรรมการ)

ใครทำ/ถ้าจะทำต้องมีความรู้อะไร

• ฝ่ายติดตามและพัฒนาคุณภาพบริการ

7 ข้อเสนอกิจกรรมของชมรมเพื่อการเคลื่อนงานอย่างเป็นรูปธรรม

• ประชุมเป็นประจำ

• คุณภาพบริการ

• คุณภาพวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์

• การบอกรับสมาชิกเพิ่ม

• การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

• การจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน / ตลาดนัดสุขภาพพื้นบ้าน

• ศูนย์เรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน

ทำอะไร

• คุณภาพวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์

ทำทำไม

• มีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างการยอมรับให้แก่ประชาชน

• (ประชาชนเชื่อในผลิตภัณฑ์ที่มีสติ๊กเกอร์ของชมรม)

• ชมรมมีข้อมูลการแจกจ่ายผลิตภัณฑ์ออกไปของสมาชิก

• มีข้อกำหนดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของชมรม

ทำยังงัย

• กำหนดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ว่าจะเอาขนาดไหน ยังงัย จะเอาแบบ อย.หรือแบบข้อกำหนดเบื้องต้น โดยชมรมจะออกสติ๊กเกอร์สัญลักษณ์ของชมรมให้

• สมาชิกซื้อสติ๊กเกอร์จากชมรมเพื่อไปติดที่ผลิตภัณฑ์ (ทำออกกี่ชิ้น ก็ติดสติ๊กเกอร์เท่านั้น)

• ชมรมวางแผนและออกติดตามคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของสมาชิกในท้องตลาด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสร้างความเชื่อถือให้แก่ประชาชน

• นำผลการออกสติ๊กเกอร์เข้าวาระการประชุมทุกครั้ง

• ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ

ใครทำ/ถ้าจะทำต้องมีความรู้อะไร

• ฝ่ายติดตามคุณภาพผลิตภัณฑ์

7 ข้อเสนอกิจกรรมของชมรมเพื่อการเคลื่อนงานอย่างเป็นรูปธรรม

• ประชุมเป็นประจำ

• คุณภาพบริการ

• คุณภาพวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์

• การบอกรับสมาชิกเพิ่ม

• การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

• การจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน / ตลาดนัดสุขภาพพื้นบ้าน

• ศูนย์เรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน

ทำอะไร

• การบอกรับสมาชิกเพิ่ม

ทำทำไม

• เพื่อขยายสมาชิก

ทำยังงัย

• จัดทำบัตรสมาชิก

• กำหนดประเภทสมาชิก

• ผู้สมัครยื่นแบบสมัครสมาชิก

• ฝ่ายบอกรับสมาชิกออกสอบถามประชาชนและผู้นำชุมชนในพื้นที่ผู้สมัครเพื่อออกการรับรอง

• นำเข้าวาระการประชุมเพื่อการรับรองสมาชิก

• ออกบัตรสมาชิกให้แก่สมาชิกที่ผ่านการรับรอง ลงนามโดยประธานชมรม

ใครทำ/ถ้าจะทำต้องมีความรู้อะไร

• ฝ่ายบอกรับสมาชิก

7 ข้อเสนอกิจกรรมของชมรมเพื่อการเคลื่อนงานอย่างเป็นรูปธรรม

• ประชุมเป็นประจำ

• คุณภาพบริการ

• คุณภาพวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์

• การบอกรับสมาชิกเพิ่ม

• การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

• การจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน / ตลาดนัดสุขภาพพื้นบ้าน

• ศูนย์เรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน

ทำอะไร

• การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ทำทำไม

• เพื่อให้สมาชิกรู้เท่าทันสถานการณ์ปัจจุบัน

ทำยังงัย

• เตรียมข้อมูลจากฝ่ายคุณภาพบริการอย่างน้อยหกเดือน

• เตรียมข้อมูลจากฝ่ายคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างน้อยหกเดือน

• จัดทำเอกสาร สื่อเพื่อการนำเสนอ

• จัดเวทีประชุมสามัญใหญ่ เพื่อเตรียมการจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน

ใครทำ/ถ้าจะทำต้องมีความรู้อะไร

• ฝ่ายเลขา

7 ข้อเสนอกิจกรรมของชมรมเพื่อการเคลื่อนงานอย่างเป็นรูปธรรม

• ประชุมเป็นประจำ

• คุณภาพบริการ

• คุณภาพวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์

• การบอกรับสมาชิกเพิ่ม

• การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

• การจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน / ตลาดนัดสุขภาพพื้นบ้าน

• ศูนย์เรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน

ทำอะไร

• การจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน / ตลาดนัดสุขภาพพื้นบ้าน

ทำทำไม

• เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันสถานการณ์ปัจจุบันของการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน

ทำยังงัย

• นำข้อมูลจากเวทีแลกเปลี่ยนมาใช้

• จัดทำเอกสาร สื่อเพื่อการนำเสนอ

• ประสานงานกับท้องถิ่น (อบตสอ. พช) เพื่อการประชาสัมพันธ์โดยแจ้งวัตถุประสงค์ ลักษณะกิจกรรมให้พื้นที่ทราบ

• นำเสนอผลงานให้แก่ประชาชนเรียนรู้ร่วมกัน

ใครทำ/ถ้าจะทำต้องมีความรู้อะไร

• ฝ่ายเลขาและคณะทำงานจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน

7 ข้อเสนอกิจกรรมของชมรมเพื่อการเคลื่อนงานอย่างเป็นรูปธรรม

• ประชุมเป็นประจำ

• คุณภาพบริการ

• คุณภาพวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์

• การบอกรับสมาชิกเพิ่ม

• การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

• การจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน / ตลาดนัดสุขภาพพื้นบ้าน

• ศูนย์เรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน

ทำอะไร

• ศูนย์เรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน

ทำทำไม

• สร้างศรัทธา และปรับกระบวนทัศน์ของประชาชนให้เข้าถึงและเข้าใจระบบการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน

ทำยังงัย

• รวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดการความรู้ (TACIT -> EXPLICIT)

• ทำความเข้าใจกับภูมิปัญญาเกี่ยวกับการเป็นศูนย์เรียนรู้

• เติมความรู้ส่วนขาดเกี่ยวกับการเป็นศูนย์เรียนรู้ให้แก่ภูมิปัญญาท้องถิ่น

• ประสานงานกับท้องถิ่นเพื่อนำเข้าหลักสูตรท้องถิ่น

• นำเข้าวาระการประชุม

ใครทำ/ถ้าจะทำต้องมีความรู้อะไร

• ฝ่ายศูนย์เรียนรู้

ขอบคุณมากนะค่ะที่ช่วย ผลักดันซุกยู้ ทีมชมรมหมอพื้นบ้าน อ.ทุ่งฝน ถ้าจะไม่มีอะไรให้ดำเนินการรอ

ทีมทุ่งฝนฝากความหวังไว้กับหัวหน้าต้นนะค่ะ พร้อมจะร่วมมือเต็มที่

บาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท