นักวิจัยสิงห์คะนองนา (ถอดองค์ภูมิหลวงพ่อสมาน ตอน 2 ลงพื้นที่)


ปราสาทพระธาตุพนมอินทร์แปลง

 

     ทีมนักวิจัยสิงคะนองนาก็ยังไม่ทราบเหมือนกันว่าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายนั้นจะเป็นไปในทิศทางใด บอกตรงๆ ว่าหวั่นใจกันทุกรูป ทุกคน กระผมและพี่สถิตกับหลวงพี่ทั้งสามรูปจะทำอย่างไรในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเบื้องต้น โดยได้รับคำแนะนำจากคณาจารย์ที่มาในครั้งนั้น “ไปเก็บข้อมูลปัญหาทั่วไปของชาวบ้านที่จะเชื่อมโยงกับองค์ภูมิรู้ของหลวงพ่อ และค้นหาตัวบุคคลที่เคยติดตามหลวงพ่อ ที่พอจะถ่ายทอดองค์ภูมิรู้นั้นๆ ได้ จากนั้นก็นัดวันจัดเวทีใหญ่อีกครั้งหนึ่งทั้ง 4 หมู่บ้าน” ทีมนักวิจัยปรึกษากันเอาเป็นว่าทัวร์นกขมิ้นก็แล้วกันหนึ่งวันหนึ่งหมู่บ้าน

 

     ครั้งแรกของชีวิต...รู้สึกเสียวซ่าไปทั้งตัวทำอะไรไม่ถูก แห แห...กล่าวเปิดงานครับ กล่าวเปิดเหตุผลที่ทีมนักวิจัยมาในครั้งนี้ให้ชาวบ้านเข้าใจ หมู่บ้านเปิดชิง คือ บ้านนาเจริญ ครับ คริคริ...

    ได้ปัญหาต่างๆ มากมายเลยครับ งงจัง...แล้วเราจะแก้ปัญหาให้ชาวบ้านเขาได้ไหมนี้ชักงงๆ กับตัวเองแล้วครับ คุณพระช่วย...

   

 

 

     สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องชาวบ้านแก่นท้าวที่น่ารักทุกคน วันนี้กระผมซึ่งเป็นตัวแทนของ นักศึกษาในโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต ซึ่งได้รับมอบหมายจาก (สกว) หน่วยงานส่งเสริมการวิจัย จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นและบ้านของเรานั้นถือได้ว่าโชคดีที่มี “หลวงพ่อสมาน” นำพาพัฒนาเป็นต้นแบบ เช่น นำพาชาวบ้านปั้นฝายดิน,ทำถนนหนทาง เป็นต้น เราจะมาร่วมคิดร่วมทำด้วยกันจะทำอย่างไรให้องค์ภูมิรู้ของหลวงพ่ออยู่กับลูกหลานของเราไปนานๆ และพ่อแม่พี่น้องคิดว่าปัญหาใดภายในหมู่บ้านของเรานี้ที่พอจะเชื่อมโยงกับองค์ภูมิรู้ของหลวงพ่อได้บ้าง

 

     ชาวบ้านน่ารักมากครับ ช่วยกันคิดช่วยกันทำจริงๆ นอกจากปัญหาต่างๆ ที่คิดได้แล้วยังมีความหวังอยู่นิดๆ ว่าจะได้ คือ ถนนหนทาง,เบื่อยังชีพ,เมล็ดพันธุ์ข้าว,คลองส่งน้ำ... เอาแล้วไหมหละทีมนักวิจัยสิงห์คะนองนาเอ่ย...ดูเหมือนกับว่าเราเป็น “นายกรัฐมนตรี” ที่น่ารักและน่าเชื่อถือของชาวบ้านจริงๆ ไปเสียแล้วครับ คิคิ

 

     หัวค่ำวันที่สามแล้วกับการกลับบ้านดึกทุกวัน การบ้านก็ไม่ได้ส่งคุณครูชักเจ็บอาการไม่ค่อยจะอยู่ด้วยนะสิ  ตัวกระผมเองและทีมวิจัยก็เริ่มคิดถึงความยากลำบากในการทำงาน มันเหมือนกับว่าเราทำงานมีเงินเดือนเป็นพันเป็นหมื่น ทั้งที่เราไม่มีรายได้ซึ่งค่าใช่จ่ายที่ผ่านมากระผมได้มาจากการไปช่วยเป็นวิทยากรอบรม “กลุ่มคู่โบตม” ได้ค่าน้ำมัน 1,000 บาท ตอนนี้เหลือเงินติดกระเป่า 200 บาท คุณพระช่วยอีกแล้วเรา...

     ค่ำคืนนี้กับภารกิจนักวิจัยดำเนินต่อไปด้วยหัวใจสิงห์คะนองนาไอ้หนุ่มหน้ามนคนพอกระเทิน กับหมู่บ้านหนองดินสอในกลางคืนนี้ เหตุที่ลงพื้นที่ในตอนกลางคืนก็เพราะชาวบ้านเป็นคนเลือกเองหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมต่างๆ อาบน้ำอาบท่ากินข้าวกินปลาเสร็จ ก็ประมาณ 2 ทุ่มของทุกวัน ต่างคนก็ต่างมารวมกัน ณ จุดนัดหมายแบบสบายๆ เริ่มต้นด้วยการกล่าวความเป็นไปมาของทีมนักวิจัย แล้วชาวบ้านต่างก็ขุดค้นหาปัญหาซึ่งเป็นที่สังเกตว่าปัญหานั้นมันออกมาจากหัวใจของชาวบ้านเขาจริงๆ ครับ

 

     หมู่บ้านท้ายสุดคือ บ้านน้อยพัฒนา บรรยากาศเป็นไปด้วยความเฉียบขาย ทั้งตัวนักวิจัยเองและชาวบ้านดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การถามตอบการแสดงความคิดเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ร่วมคิดร่วมทำร่วมรับผิดชอบเพื่อวางรากฐานไว้ให้ลูกหลานต่อไปในภายหน้า

     “ผมคิดว่าการเริ่มต้นนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีของชุมชนเรา ที่มีหน่วยงานส่งเสริมการวิจัย (สกว) มาค้นพบแหล่งองค์ภูมิรู้ที่หลวงพ่อสมานและผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งเป็นบรรพบุรุษรากเหง้า ได้ทำทิ้งไว้นั้นเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ แล้วเราจะรักษาขุมทรัพย์อันนี้ให้อยู่กับลูกหลานและให้ลูกหลานมาคิดต่อยอดกันอย่างไร นี้แหละ คือ การบ้านที่เรามาร่วมคิดร่วมทำกันในวันนี้”   

หมายเลขบันทึก: 171863เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2008 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามมาให้กำลังใจ
  • ถ้าคำถามวิจัยชัด รับรองว่าทำได้
  • หลวงพี่อีกสามรูปไปเป็นเพื่อนใช่ไหมครับ

สวัสดีครับอาจารย์ ขจิต

  • หลวงพี่ทั้งสามรูป เป็นแบบอย่างของนักเรียนตัวจริงเสียงจริงครับ
  • ลุยพื้นที่ด้วยกันทั้ง 4 หมู่บ้านเลยครับ
  • ขอบพระคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท