นักวิจัยสิงห์คะนองนา (ถอดองค์ภูมิหลวงพ่อสมาน ตอน1)


ปราสาทพระธาตุพนมอินทร์แปลง

 

     บุคคลผู้ทรงภูมิปัญญาด้านหนึ่งด้านใด เป็นผู้สร้างสรรค์และสืบสานภูมิปัญญาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชนได้รับการยกย่อง ให้เป็น ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดภูมิปัญญา ในการจัดการศึกษาทั้งใน ระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ตามในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ครูภูมิปัญญา จึงเป็นบุคคลสำคัญในการถ่ายทอดความรู้เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการใช้ภูมิปัญญา ในด้านที่ตนได้ศึกษาค้นคว้าค้นพบ ทดลองจนประสบผลสำเร็จ แล้วนำไปเผยแพร่จนเกิดประโยชน์ให้แก่สังคมกระบวนการถ่ายทอดจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้จากชีวิตจริง จากการปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการซึมซับ สามารถนำวิชาความรู้ที่ได้รับไปแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง การเรียนรู้เช่นนี้ไม่ใช่การเรียนรู้เฉพาะเนื้อหาเท่านั้น หากแต่ได้เรียนรู้จิตวิญญาณของครู และพร้อมที่จะเป็นผู้ถ่ายทอด นำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์แก่คนในชุมชนต่อไป

     เป็นการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยอันได้แก่ความรู้ในการเข้าใจชีวิตธรรมชาติ ทรัพยากร สังคม และความรู้ในการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ มิได้หมายถึง ตัวอาคารสถานที่ หากหมายถึงสถานที่มีผู้รู้ ประสบการณ์ สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นที่วัด โรงเรียน สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล สถานีอนามัย ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน กำนัน หรือบ้านของผู้รู้ ของผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ครูภูมิปัญญากล่าวได้นัยหนึ่งก็คือ เป็นการจัดการที่เกิดขึ้นโดยชุมชน โดยผู้นำที่สามารถดำเนินการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม กับศักยภาพของชุมชนนั้นๆ นั่นเอง บทบาทและหน้าที่ของศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญา

  • เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ การศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย
  • เป็นศูนย์ขยายเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์กลางการแรกเปลี่ยนและพัฒนาการเรียนรู้ ทั้งในระบบท้องถิ่นไทย
  •  เป็นศูนย์คลังข้อมูลภูมิปัญญา

     จุดเริ่มต้นในการเดินตามรอย (ถอดองค์ภูมิหลวงพ่อสมาน) โดยได้รับความสนใจจาก คณะอาจารย์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (สกว) สถาบันส่งเสริมการวิจัย และ ดร.ศักดิ์พงศ์ หอมหวล อ.พยงค์ การิเทพ โรงเรียนบ้านเม็กดำ

ประเด็นถอดองค์ภูมิหลวงพ่อสมาน

  • ทำนาข้าวตัด
  • ปั้นฝายดินคั่นลุ่มน้ำลำพังซู
  • แก้ภัยแล้ง
  • ทำปุ๋ยชีวภาพ
  • ทำบ่อเลี้ยงปลา
  • ปลูกไม้ตามคันนา
  • สมุนไพร
  • พัฒนา เครื่องยนต์/คอมพิวเตอร์

     การทำงานวิจัยเดินตามรอยถอดองค์ภูมิหลวงพ่อสมาน ในครั้งนี้ได้ทีมนักวิจัยชุมชนจากนักศึกษาใน โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต ศูนย์เรียนรู้โรงเรียนบ้านเม็กดำ อ.พยัคฆ์ฯ จ.มหาสารคาม มีรายชื่อดังนี้

  1. หลวงพี่วิทยา ทองเทพ
  2. หลวงพี่สมชาย มหาสาโล
  3. หลวงพี่บุญชิด พวงภู่
  4. นายจิรศักดิ์ พรมวาส
  5. นายสถิต อนุกุล

     ที่จะเข้าไปลุยพื้นที่ทั้ง 4 หมู่บ้าน คือ บ้านนาเจริญ บ้านแก่นท้าว บ้านหนองดินสอ บ้านน้อยพัฒนา คลำคีง ผู้เฒ่าผู้แก่,ผู้นำชุมชน,เยาวชน ค้นหาผู้สืบทอดองค์ภูมิและความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับองค์ภูมิของหลวงพ่อสมาน

หมายเลขบันทึก: 171435เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2008 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับทุกท่าน

  • อ่านแล้วโปรดกรุณาช่วยกันแนะนำด้วยนะครับ
  • เพราะทีมนักวิจัยสิงห์คะนองนาล้วนแต่มือใหม่ทั้งนั้น
  • และการทำงานในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อชุมชนมหาศาล
  • ขอขอบพระคุณทุกๆ ท่านครับ
  • อิอิ ไม่มีข้อแนะนำมีแต่อยากตามอ่านต่อ
  • ตามอ่านเด้ออ้าย
  • ตามมาบอกว่า
  • พยายามเก็บรายละเอียดให้ครบทุกบริบทนะครับ
  • จะเป็นงานวิจัยที่มีคุณค่ามากๆๆ
  • ขอบคุณครับ

น่าสนใจและมีคุณค่ามากๆครับ

ขอให้ทำให้สำเร็จนะครับ

ภูมิปัญญามีอะไรมากกว่าที่คิดจริงๆ

สวัสดีครับครู ออต

  • ดีใจหลายที่ค่อยติดตามอ่านครับ
  • อย่างน้อยๆ ก็มีแฮงใจทำงานครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับอาจารย์ ขจิต

  • เป็นการเรียนรู้จริงที่ชุมชนเป็นทั้งครูและตำราครับ
  • ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ

สวัสดีครับพ่อครู ครูบา

  • งานอบรม กลุ่มข้าวอินทรีย์ ที่บ้านเก่าน้อย
  • ทีมวิทยากรหลักมี ดาบอุทัย,น้ำหนาน,ผู้ใหญ่แผง  เก็บเสื้อผ้าใส่กระเป่าไว้เรียบร้อยแล้วครับ
  • กระผมว่างก็จะไปเสริมอีกทีครับ
  • ขอบพระคุณครับ

สวัสดีครับคุณ น้องเอก

  • ขอบคุณครับที่มาเป็นกำลังใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท