ก่อนที่ อัลเบิร์ต แบนดูร่าจะสร้างทฤษฎีการเรียนรู้


 

 

     เรื่องนี้ไม่ได้ต้องการเขียนอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social Cognitive Learning Theory) ของ อัลเบิร์ต  แบนดูร่า (Albert Bandura) เพราะมีผู้เขียนอธิบายไว้หลายที่แล้ว  แต่ที่จะเขียนสั้นๆวันนี้เป็นอีกมุมหนึ่ง  ที่ยังไม่ค่อยมีการเขียนถึงนั่นก็คือระเบียบวิธีวิจัยหรือเทคนิควิธีการวิเคราะห์ตัวแปรต่างๆที่กว่าแบนดูร่า จะสร้างทฤษฎีนี้ออกมาได้ ต้องทดลองและทดสอบหลายครั้งหลายครา กว่าจะสรุปออกมาได้ว่า  พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดขึ้นนั้น  ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 3 ด้าน คือ    1. ปัจจัยส่วนบุคคล ( Personal factor = p )    2. เงื่อนไขเชิงพฤติกรรม ( Behavior condition = B)  และ3. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ( Environment factor = E) ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้ส่งผลซึ่งกันและกัน

 

ดังแผนภาพ

 

Source: Pajares (2002). Overview of social cognitive theory and of self-efficacy. 12-8-04.

From http://www.emory.edu/EDUCATION/mfp/eff.html.

 

     เป็นที่น่าทึ่งมากทีเดียวว่าแบนดูร่า  ใช้สถิติอะไรมาวิเคราะห์ได้ถึงขนาดนี้  ที่สามารถชี้ออกมาได้ว่าปัจจัยทั้งสามด้านนั้นส่งผลย้อนกลับไปมาได้  

   พึ่งได้คำตอบเมื่อมาศึกษาเทคนิควิธีการวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้น (Structural Equation Modeling:SEM)  

                โดยย่อ SEM นี้เป็นการรวมเทคนิคทางสถิติหลายอย่างไว้ด้วยกัน ทั้งการวิเคราะห์การถดถอย (Multiple Regression) และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ทำให้สามารถศึกษาความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนระหว่างตัวแปรหลายตัวได้   ซึ่งเทคนิควิธีของ SEM นี้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างและทดสอบแบบจำลองเชิงสาเหตุ (Causal Model) ในงานวิจัยที่ต้องการตรวจสอบทฤษฎีทางสังคมฯ และงานวิจัยที่ต้องการสร้างและพัฒนาทฤษฎีด้วยการตรวจสอบซ้ำกับข้อมูลหลายๆครั้ง

                แล้วก็มาถึงที่มาของเรื่องที่จั่วหัวไว้ในตอนแรกๆว่า   แบนดูร่าก็ใช้วิธีการวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้น (Structural Equation Modeling:SEM) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตามแบบจำลองที่มีอิทธิพลย้อนกลับ (Reciprocal Model) นั่นเอง 

 

หมายเหตุ: “การวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้นหรือบางแห่งอาจเรียกว่าการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปร(Structural Equation Modeling : SEM หรือ LISREL)

 

 

ด้วยความเคารพในคุณูปการของท่าน

ภาพจาก:  http://news-service.stanford.edu/news/2007/december5/graw-120507.html

  

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 171047เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2008 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ อ.ศิริพร

  • เคยได้อ่านงานของอัลเบิร์ต แบนดูรา มาบ้างค่ะ
  • วันนี้ได้รู้ลึกซึ้งถึงความเป็นมา
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ อ.คนไม่มีราก 
  • ศาสตราจารย์อัลเบิร์ต แบนดูรา  เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่รู้สึกชื่นชมและทึ่งในความสามารถของท่าน

สวัสดีคะอาจารย์ ศิริพร ตอนนี้หนูทำวิทยานิพนธ์อยู่คะ

มีปัญหาในเรื่องของสถิติ SEM ไม่เข้าใจเลยคะว่าจะต้องใช้อย่างไร

มีข้อบังคับอะไรบ้าง การจะใช้สถิตินี้ต้องตั้งวัตถุประสงค์ และ สมมุติฐาน อย่างไร

ข้องความกรุณาอ.ให้คำแนะนำ หรือแนะนะหนังสือหน่อยคะ

[email protected] ขอบพระคุณอ.อย่างสูงคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท