กฎหมาย


พระราชบัญญัติการประมง
1.1 นิยามศัพท์สำคัญตามพระราชบัญญัติประมงฉบับใหม่    “สัตว์น้ำ” หมายความว่า สัตว์ที่อาศัยหรือมีวงจรส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ในน้ำทะเลหรือน้ำจืด เช่น ปลา กุ้ง หอย แมงดาทะเล เต่ากระ ตะพาบน้ำ จระเข้ สัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ ปะการัง กัลปังหา สาหร่ายทะเล พืชทะเล และพืชน้ำทั้งนี้รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำตามที่ประกาศใน กฎกระทรวง

 

    “การจับสัตว์น้ำ” หมายความว่า
     (1) การค้นหา การจับ นำ หรือพยายามที่จะจับหรือนำสัตว์น้ำ
     (2) วางหรือมีเครื่องมือทำการประมงในน้ำหรือใช้เครื่องมือนั้นบนบก
     (3) การเข้าร่วมในกิจกรรมอื่นใดที่เป็นการหาแหล่ง การจับหรือการนำเอาสัตว์น้ำขึ้นมา
     (4) การดำเนินการใดภายในน่านน้ำไทยหรือนอกน่านน้ำไทยในการเตรียมการสำหรับกิจกรรมใด
ที่กล่าวในวรรค (1)(2) (3)

 

    “เครื่องมือทำการประมง” หมายความว่า อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่สามารถใช้ในการจับสัตว์น้ำ เช่น ตาข่าย เบ็ด กับดัก เชือก ทุ่นลอย อวนลาก อวนล้อม และหมายความรวมถึงเครื่องมือช่วยทำการประมง ได้แก่ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก หรือช่วยในการจับสัตว์น้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น เครื่องกู้อวน เครื่องหาฝูงปลา ซั้ง ตะเกียง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและแสงไฟ

 

   “เรือประมง”หมายความว่ายานพาหนะทางน้ำที่ติดตั้งเครื่องมือทำการประมงหรืออุปกรณ์ในการทำการประมงหรือเรือที่ใช้สำหรับติดตั้ง เพื่อใช้สำหรับการทำการประมงหรือเป็นที่ปกติใช้สำหรับการจับสัตว์น้ำหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเรือขนส่ง หรือสนับสนุน หรือเรือแม่  และรวมถึงทั้งเรือประมงต่างประเทศและเรือประมงไทย

 

    “การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ”หมายความว่าการเพาะพันธุ์ การเลี้ยง การแพร่พันธุ์ หรือการทำฟาร์มสัตว์น้ำไม่ว่าโดยวิธีธรรมชาติผสมเทียม หรือด้วยวิธีอื่นใดตลอดช่วงหรือบางช่วงของวัฏจักรชีวิตสัตว์น้ำรวมถึงสัตว์น้ำที่เลี้ยงในป่า หรือนำเข้าประเทศโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือวิธีอื่นที่ใกล้เคียงกันไม่ว่าในน้ำจืดน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม

 

    “แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” หมายความว่า ตำแหน่ง แหล่งที่ตั้งและสถานที่ที่ใช้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

 

    “ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ” หมายความว่า สัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้สัตว์น้ำเป็นวัตถุดิบสำหรับการบริโภคของมนุษย์หรือสัตว์     “การแปรรูป” หมายความว่า การตัด การแยก การแยกส่วนเพื่อทำความสะอาด การแยกประเภท การบรรจุ การแช่แข็ง การทำเค็ม การบรรจุกระป๋อง หรือการหมักดอง ในส่วนที่สัมพันธ์กับสัตว์น้ำ

 

    “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด ประมงจังหวัด ประมงอำเภอ เจ้าพนักงานประมง หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประมง

 

     1.2 ความสำคัญของอุตสาหกรรมประมงต่อการพัฒนาประเทศ
เป้าหมายในการพัฒนาประเทศ คือ
     1. ให้คนในประเทศมีงานทำ
     2. สร้างเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
     3. ให้มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
     4. สร้างความมั่นคงทางอาหาร
บทบาทของอุตสาหกรรมประมงที่มีต่อการพัฒนาประเทศ
     1. ผลิตอาหารโปรตีนคุณภาพสูงให้แก่สังคมไทย
     2. นำเข้าเงินตราต่างประเทศจากการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำ
     3. ก่อให้เกิดการว่าจ้างแรงงาน
     4. สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
     5. ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

 

      1.3 โครงสร้างของอุตสาหกรรมประมง
โครงสร้างของอุตสาหกรรมประมง แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
    1. การผลิต คือ การสร้างผลผลิตสัตว์น้ำ ทำได้ 2 วิธี คือ
    a. การจับ (Capture) เป็นวิธีดั้งเดิมตั้งแต่ยุคแรกของการทำการประมง สามารถจับได้ทั้งจากทะเลและน้ำจืด ในประเทศที่มีการการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยมากจะมาจากการประมงทะเล
    b. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นส่วนที่พัฒนาขึ้นมาภายหลัง เมื่อทรัพยากรธรรมชาติเริ่มเสื่อมโทรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
       i. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
       ii. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
       iii. การเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเล (Mariculture) ในประเทศไทยการพัฒนาด้านนี้ยังไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
    2. การแปรรูป เกิดขึ้นด้วยเหตุผล 3 ข้อ คือ
     - เก็บเพื่อใช้บริโภคในอนาคต
     - เพิ่มมูลค่าของสินค้า
     - ให้ตรงความต้องการของผู้บริโภค
    3. การตลาด ประกอบด้วย
     a. ตลาดภายในประเทศ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนา ถ้าความต้องการ (Demand) ในประเทศแคบ การพัฒนาจะเกิดได้น้อยมาก การที่คนไทยนิยมบริโภคปลา ทำให้อุตสาหกรรมประมงไทยพัฒนาอย่างรวดเร็ว
     b. ตลาดต่างประเทศ เป็นตัวเร่งของการพัฒนา

ที่มา.http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/fisher/fi14/lesson1.htm

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17100เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2006 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 01:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท