นักเขียนละตินอเมริกา "กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ "


กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ

          วันนี้หลังเลิกประชุมครู ผมแวะไปที่ห้องสมุดโรงเรียน หยิบวารสาร ศิลปวัฒนธรรมมาอ่าน พบคอลัมม์วรรณกรรมนักเขียน จึงเอามาฝากให้อ่านกัน ดังนี้ 

          กาเบรียล  การ์เซีย  มาร์เกซ  ( Gabriel  Garcia  marquez )  นักเขียนแนวเมจิคัล  เรียลลิสม์  (Magical  Realism )  เกิดเมื่อวันที่  ๖ มีนาคม  ค.ศ.๑๙๒๗  ที่อราคาทาคา

 ( Aracataca )  เมืองเล็กๆทางภาคเหนือของประเทศโคลัมเบีย  เขาได้รับการเลี้ยงดูจากตาซึ่งเป็นอดีตนายทหารในสมัยสงครามกลางเมือง  ผู้ผ่านการต่อสู้อย่างลูกผู้ชายและผ่านการเผชิญหน้ากับความตาย  และยายผู้เชื่อเรื่องจิตวิญญาณ  สิ่งลี้ลับและตำนานปรัมปรา  ในวัยเด็กมาร์เกซเติบโตมากับสภาพที่ขัดแย้งระหว่างความจริงกับความฝัน  ความนำสมัยและความเชื่อแบบดั้งเดิม

       หลังจากที่ตาเสียชีวิตไปในปี ค.ศ. ๑๙๓๕  ขณะที่มาร์เกซอายุเพียง ๘ ขวบ  ยายของเขาเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับสายตาเขาจึงต้องย้ายไปอยู่กับบิดามารดาที่เมืองซูครีและเริ่มเรียนหนังสือและเริ่มฉายแววการเป็นนักเขียนและนักวาดการ์ตูน ขณะกำลังศึกษาที่โรงเรียนของนักบวชนิกายเยซูอิต  จากนั้นศึกษาต่อคณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยโบโกตา เมื่อ ค.ศ. ๑๙๔๖ แต่กลับพบว่าไม่ใช่หนทางที่เขาต้องกันเส้นทางนักเขียนของเขาได้เริ่มต้นหลังจากการอ่านงานเขียนชิ้นเยี่ยมเรื่อง เมตามอร์โฟซิส   ( Metamorphosis )   ของฟรานซ์  คาฟค่า ( Frank  kafka )  นักเขียนผู้แหกขนบเก่าและปลดปล่อยจินตนาการของตนออกมาได้อย่างอิสระ

       หลังจากนั้นมาร์เกซทุ่มเทเวลากับการอ่านมากขึ้น  เขาศึกษางานของนักเขียนชื่อดังหลายคน  เช่น  เออร์เนสต์  เฮมิ่งเวย์ ( Ernest  Hemingway )  เจมส์ จอยซ์ ( James Joyce )  ฯลฯ  หลังจากการเรียกร้องสิธทิเสรีภาพของนักเขียนในโคลัมเบียในช่วงทศวรรษ ๑๙๔๐  มาร์เกซเขียนคอลัมน์ให้กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหลายฉบับ  จนในที่สุดก็ตัดสินใจยุติชีวิตนักศึกษา  และหันมาทุ่มเวลาให้กับงานเขียนอย่างเต็มที่ 

     ชีวิตนักเขียน  นักวิจารณ์  และนักหนังสือพิมพ์ของมาร์เกซซัดขึ้นลงเช่นเดียวกับกระแสคลื่น  เขามีทั้งช่วงรุ่งเรืองซึ่งงานเขียนได้รับการตีพิมพ์ หรือช่วงตกต่ำสุดขีด  ต้องอาศัยนอนในซ่องโสเภณีและโดนเผ่งเล็งจากรัฐบาลเผด็จการซึ่งปกครองอยู่ในเวลานั้นในปี ค.ศ. ๑๙๕๕  มาร์เกซต้องเดนทางออกนอกประเทศเพราะเขาเขียนข่าววิจารณ์รัฐบาลอย่างรุนแรง  เขาระหกระเหินไปตามประเทศต่างๆทั่วยุโรป  แต่ก็ได้วัตถุดิบมากมายในการนำมาเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายเช่น No-  One wrtes  to  the  Colonel  ( ๑๙๖๑ )  , In  Evil  Hour ( ๑๙๖๒ ) ฯลฯ

      ในปี ค.ศ.๑๙๖๕  มาร์เกซเกิดแรงบันดาลใจในการเขียนเรื่อง One Hundred Years - of  Solitude  ( หนึ่งร้อยปีแห่งความโดเดี่ยว-สำนักงานสามัญชน ) โดยทุ่มเทเวลากว่าปีครึ่ง  ขังตัวเองอยู่ในบ้านไม่พบปะผู้คน  ในที่สุดผลงานที่มีความหนากว่า ๑,๐๐๐ หน้า ก็ได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. ๑๙๖๗  โดยสำนักพิมพ์ในบัวโนสไอเรส  คว้ารางวัลด้านวรรณกรรมทั้งในและต่างประเทศมากมาย ส่งผลให้มาร์เกซได้รับรางวัลโนเบล  ในปี ค.ศ๑๙๘๒ และคาดว่าหนังสือเล่มนี้ขายได้กว่า ๓๖ ล้านเล่ม  และแปลไปกว่า  ๔๐  ภาษาทั่วโลก

        ปัจจุบัน  กาเบรียล  การ์เซีย  มาร์เกซ   วัย  ๘๑  ปี  ใช้ชีวิตอย่างสมถะในเมืองแม็กซิโกซิตี  และยังคงเขียนหนังสืออย่างต่อเนื่อง

 

หมายเลขบันทึก: 170737เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2008 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 12:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะอาจารย์

    

 เข้ามาเยี่ยมเยือน เข้ามาอ่านบันทึกของอาจารย์  มีแต่เรื่องน่า

สนใจทั้งนั้นเลย  แล้วจะรออ่านเรื่องใหม่ของอาจารย์อีกนะคะ

                         ขอให้หายป่วยเร็วๆนะคะ 

   

สวัสดีค่ะ พี่วิช แวะมาเยี่ยม อ่านแล้วสะดุด เกิดวันเดียวกับนักเขียนดังเลยสิเรา เอ๊ะ!หรือว่าเราจะมีแวว ดวงชะตาน่าจะคล้ายๆกันนา..กว่าจะมาเป็นนักเขียนก็ต้องเป็นนักอ่านตัวยงมาก่อนทั้งนั้น..(อ้อ!มีคนบอกว่าช่วงนี้พี่หยิ่งๆ ไม่ค่อยรับไหว้ใคร..55 ดูแลตัวเองดีๆ มีแต่คนเป็นห่วงค่ะ ไม่อยากให้เป็นนางกวักนาน)

สวัสดีครับ อาจารย์นฤมล อาจารย์อรลิสา และครูแก้วตา

              ขอบคุณมากครับที่ส่งข่าวมาถึง หากมีโอกาสจะไปเที่ยวหา ครับ อาจารย์อาจารย์นฤมล อาจารย์อรลิสา และครูแก้วตา  เขียนบล็อกส่งอาจารย์กิตตินันท์ ได้เยอะหรื่อยังครับ ขอเป็นกำลังให้ ส่วนผมพยายามเขียนด้วยมือขวา ส่วนมือซ้าย ยังต้องรักษาอยู่ครับ

                ขอให้มีความสุขในการเขียนบล็อก ครับ

 

 

สวัสดีครับ อาจารย์นฤมล อาจารย์อรลิสา และครูแก้วตา

              ขอบคุณมากครับที่ส่งข่าวมาถึง หากมีโอกาสจะไปเที่ยวหา ครับ อาจารย์อาจารย์นฤมล อาจารย์อรลิสา และครูแก้วตา  เขียนบล็อกส่งอาจารย์กิตตินันท์ ได้เยอะหรื่อยังครับ ขอเป็นกำลังให้ ส่วนผมพยายามเขียนด้วยมือขวา ส่วนมือซ้าย ยังต้องรักษาอยู่ครับ

                ขอให้มีความสุขในการเขียนบล็อก ครับ

 

 

สวัสดีครับ อาจารย์นฤมล อาจารย์อรลิสา และครูแก้วตา

              ขอบคุณมากครับที่ส่งข่าวมาถึง หากมีโอกาสจะไปเที่ยวหา ครับ อาจารย์อาจารย์นฤมล อาจารย์อรลิสา และครูแก้วตา  เขียนบล็อกส่งอาจารย์กิตตินันท์ ได้เยอะหรื่อยังครับ ขอเป็นกำลังให้ ส่วนผมพยายามเขียนด้วยมือขวา ส่วนมือซ้าย ยังต้องรักษาอยู่ครับ

                ขอให้มีความสุขในการเขียนบล็อก ครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท