เปิดโลกการเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมืองโลก


เมื่อวันที่ 3-7 มีนาคม ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสไปประชุมตามโครงการของBritish Council  ที่เรียกว่า Asian Dialogues ที่เมืองหลวงของรัฐซาราวัค มาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะบอเนียว

รายละเอียดเป็นอย่างนี้

เปิดโลกการเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมืองโลก

(Opening the Learning World Toward Global Citizen)

ความเป็นมา และวัตถุประสงค์

เมื่อวันที่ 3 - 7 มีนาคม 2551 มีการสัมมนาตามโครงการของ British Council ที่เรียกชื่อว่า Asian Dialogues ณ เมือง Kuching เมืองหลวงของรัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะบอเนียว

ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากประเทศไทย ในครั้งนี้ได้แก่ ผู้แทน 3 เขตพื้นที่การศึกษาจากประเทศไทย 3 เขตพื้นที่การศึกษาจากรัฐซาราวัค และ 3 เขตพื้นที่การศึกษาจากสหราชอาณาจักร แต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย ผู้ประสานงานโครงการ ครูใหญ่ และ ครู รวม 3 คน

3 เขตพื้นที่การศึกษาจากประเทศไทย ได้แก่ เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 และ นครศรีธรรมราช เขต 1

โครงการ Asian Dialogues มุ่งหวังที่จะสร้างกลุ่มพันธมิตรทางสถาบันการศึกษา ให้แก่คนรุ่นใหม่ในฐานะพลเมืองโลก และเปิดมุมมองในระดับนานาชาติในกลุ่มพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนในสหราชอาณาจักร และโรงเรียนจาก 7 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไต้หวัน ทั้งนี้โดยมี

วัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เปิดมุมมองสากลให้แก่คนรุ่นใหม่ เสริมสร้างความเข้าใจ แลความตระหนักถึงมุมมอง และวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน ในแต่ละประเทศ และสหราชอาณาจักร ผ่านพันธมิตรทางสถาบันการศึกษา

2. เปิดมุมมองสากลให่แก่ครู เสริมสร้างความเข้าใจ และความตระหนักถึงมุมมองและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ผ่านพันธมิตรทางสถาบันการศึกษา

3. สนับสนุนการจัดการศึกษาของแต่ละชาติ เพื่อให้ความรู้แก่คนรุ่นใหม่ในฐานะพลเมืองโลกผ่านพันธมิตรทางการศึกษา

4. เพิ่มความสำคัญให้แก่มุมมองสากลของหลักสูตรการเรียนรู้ผ่านพันธมิตรทางสถาบันการศึกษา

5. สร้างเครือข่ายระหว่างประเทศที่เข้าร่วม ผ่านเขตพื้นที่การศึกษา หรือพันธมิตรที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการสนับสนุนการพัฒนาพันธมิตรทางสถาบันการศึกษาระหว่างประเทศ

กระบวนการดำเนินงาน

1. แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมโครงการส่งใบสมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการ ในใบสมัคร กำหนดให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษา เสนอโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นเครือข่ายในเขตพื้นที่การศึกษาเข้าร่วมโครงการ เขตพื้นที่การศึกษาละ อย่างน้อย 10 โรงเรียน รวมทั้งโรงเรียนที่มีผู้แทนไปเข้าร่วมสัมมนาตามโครงการ Asian Dialogues

2. แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาของแต่ละประเทศรับเชิญเข้าร่วมสัมมนาเบื้องต้น

จาก British Council สำหรับประเทศไทย British จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2551 ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพมหานคร

3. ผู้แทน 3 คน จากเขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ ผู้ประสานงานจากเขตพื้นที่

การศึกษา 1 คน ผู้บริหารโรงเรียน 1 คน และครู 1 คน ไปเข้าสัมมนาเพื่อพบปะผู้แทนจากประเทศที่เข้าร่วมสัมมนาอีก 2 ประเทศ เพื่อวางแผนและโครงการ กิจกรรมต่างๆ ภายใต้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายของ British Council

4. หลังการสัมมนากลุ่มประเทศ ตามข้อ 3 เสนอโครงการแก่ ทีมผู้รับผิดชอบ

โครงการ Asian Dialogues เพื่อพิจารณาอนุมัติ และพิจารณาเงินทุนสำหรับการประชุมร่วมกับโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาละ 10 โรงเรียน

4. แต่ละเขตพื้นที่การศึกษา โดยผู้แทนที่เข้าสัมมนาตามโครงการ Asian

Dialogues วางแผน และดำเนินการให้โรงเรียนเครือข่ายนำนักเรียนเข้าร่วม

กิจกรรมตามโครงการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่าน Website http://community.britishcouncil.org/asiandialogues/

ในหัวข้อหลัก ต่อไปนี้

1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

2. กีฬา และสุขภาพ

3. การลงทุน

4. โลกวันพรุ่งนี้

5. วิทยาศาสตร์ และการประดิษฐ์

และหัวข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ พลเมืองโลก (Global Citizen) ได้แก่

1. การปลูกฝังนโยบายความร่วมมือระหว่างประเทศ ในหลักสูตร

สถานศึกษา

2. การวิเคราะห์แนวคิดพลเมืองโลก

3. การพัฒนาการสนทนาเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มคนรุ่นใหม่

4. เพิ่มพูนความตระหนักในความร่วมมือรับผิดชอบต่อโลก ในฐานะพลเมืองโลก จากหลายประเทศซึ่งวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

5. การใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี และสารสนเทศภายในห้องเรียนโดยใช้เวลาดำเนินการเป็นระยะเวลา 3 ปี 2551 – 2553

 

 

 

เชิญชวนเข้าเยี่ยมเว็บไซต์นี้นะครับ

 http://community.britishcouncil.org/asiandialogues/

 

หมายเลขบันทึก: 170609เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2008 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

มีอะไรดีๆก็โปรดได้นำมาเล่าสู่กันฟังอีกนะครับ เพื่อให้ครูไทยได้เปิดโลกทัศน์จากมุมมองและความก้าวหน้าการดำเนินงานของพี่และคณะ ขอเป็นกำลังใจ

อาจารย์ชัดยังเป็นนักคิด นักค้นคว้า นักเขียน และมีใจแบ่งปันความรู้ให้คนอื่นเสมอ
       ขอชื่นชม และระลึกถึงเสมอครับ...

Please help,

I cannot login CCAD web, already contact admin. But still get no answer kha.

Best regards

แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย

ขอบพระคุณสำหรับบทความดี ๆ ที่รังสรรค์ไว้บน web ได้ใช้ประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์และครูเสมอมา

ขอคารวะคุณครูนะคะ

ไม่ได้เข้ามาเล่าข่าวมาหลายวีน วันนี้นั่งบนรถทัวร์ไปประชุมที่จังหวัดจันทบุรี มีเวลาจึงมีโอกาส

จึงอยากเล่าถึงานที่ทำร่วมกับโรงเรียนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาสู่กันฟัง

ถื่อว่าเป็นงานเล็กๆ ที่มีอะไรพอเป็นแนวคิดอยู่บ้าง ที่จริงก็ไม่ถึงกับเล่า แต่ถ้าอ่านจบคงได้อะไรไปบ้าง เชิญครับ

กำหนดการจัดงาน

Cross - country Loy Kratong Festival

Chiang Mai -Thailand, Miri - Malaysia, Leistershire -UK

November 4 th,  2009 At Sankampheang  School .

Chiang Mai Educational Service Area Office 1 Thailand

(การดำเนินการที่ใช้ภาษาอังกฤษ โดยนักเรียนตลอดการจัดงาน)

13.00 – 14.00 น. ลงทะเบียน

15.00 น.-17.30 น. เกริ่นนำเข้าสู่การจัดงาน (2 นาที)

โดยนักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

แนะนำการจัดงาน (2 นาที)

โดยนักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

แนะนำโรงเรียนสันกำแพง (2 นาที)

โดยนักเรียนโรงเรียนสันกำแพง

แนะนำซุ้มประตูป่า (2 นาที)

โดยนักเรียนโรงเรียนสันกำแพง

แนะนำ และการแสดงวงโยธวาธิต ของโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ (13 นาที)

โดยนักเรียนโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ

แนะนำและการเสดงรำวงมาตรฐาน (15 นาที)

โดยนักเรียนยุพราชวิทยาลัย

แนะนำ และการแสดงการปล่อยโคมลอย (10 นาที)

โดยนักเรียนโรงเรียนสันกำแพง

แนะนำ และการอ่านบทกวีวันลอยกระทง (5 นาที)

โดยนักเรียนโรงเรียนหอพระ

แนะนำและการแสดงริ้วขบวนกระทง (5 นาที)

โดยนักเรียนโรงเรียนสันกำแพง

แนะนำ และการสาธิตการทำกระทงใบตอง (10 นาที)

โดยนักเรียนโรงเรียนแม่ออนวิทยาลัย

แนะนำและการแสดงการฟ้อนกระทง (5 นาที)

โดยนักเรียนโรงเรียนโรงเรียนสันกำแพง

พิธีเปิด โดยนายกองค์การบริหรส่วนจังหวัด

ดำเนินการโดยนักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (5 นาที)

แนะนำ และการแสดงกลองสบัดชัย (5 นาที)

โดยนักเรียนโรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคมและ

โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย

แนะนำ และการฟ้อนรำล้านนา (10 นาที)

โดยนักเรียนโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ

แนะนำ และการแสดงการฟ้อนดาบ (5นาที)

โดยนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่ปูคา และโรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม

ยุติการถ่ายทอดสดด้วยความประทับใจ (5 นาที)

โดยนักเรียนในห้องประชุมยังสนทนาตามอัธยาศรัย

พร้อมกับชมวีดิทัศน์การจัดงานที่บันทึกไว้ (replay)

โดยนักเรียนโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ

การสะท้อนภาพการจัดงาน และโดยประธานการจัดงาน

หรือแขกผู้มีเกีรติ (5 นาที)

ดำเนินการโดยครูพิธีกรของโรงเรียนสันกำแพง

การปราศรัยของผู้อำนวยการโรงเรียนสันกำแพง (5นาที)

ดำเนินการโดยครูพิธีกรของโรงเรียนสันกำแพง

แนะนำและแสดงการลอยกระทง การปล่อยโคมลอยและจุดพลุ (10 นาที)

โดยนักเรียนโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ

ปิดท้ายรายการด้วยความประทับใจ (3 นาที)

โดยนักเรียนยุพราชวิทยาลัย

การจัดงานแสดงทางวัฒนธรรม : ลอยกระทงข้ามประเทศ

(Cross- Country Loy Kratong Festival)

4 พฤศจิกายน 2552 ณ โรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

วัตถุประสงค์

- เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สร้างพื้นฐานความเข้าใจอันดีระหว่างชาติ

- เพื่อเสริมสร้างทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียน

- เพื่อเสริมความเป็นพลโลก (Global Citizen) ให้แก่นักเรียนตามวิสัยทัศน์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานปี พุทธศักราช 2551

-เพื่อให้ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาเห็นช่องทางในการใช้ระบบการสื่อสาร ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มีความพร้อมสู่สังคมอาเซี่ยน และสังคมโลก

- เพื่อแสดงออกซึ่งความร่วมมือ และศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโดยความร่วมมือของหน่วยงานทางการศึกษา และหน่วยงานอื่นๆ ของประเทศไทย ให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ

โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1

- โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

- โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ

- โรงเรียนสันกำแพง

- โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม

โรงเรียนแม่ออนวิทยาลัย

- โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย

- โรงเรียนหอพระ

- โรงเรียนวัดห้วยทราย

- โรงเรียนบ้านแม่ปูคา

โรงเรียนแม่คือวิทยา

เขตพื้นที่การศึกษา Miri ซาราวัค บอเนียว มาเลเซีย

โรงเรียน S.M.K Baru Bintulu

โรงเรียน S.M.K. Chung Hua

เขตพื้นที่ Leicestershire สหราชอาณาจักร

โรงเรียน Burleigh Community College

โรงเรียน The Garendon High School

วิธีการจัดงาน

1.จัดงานลอยกระทง และถ่ายทอดสดผ่านอินเตอร์เน็ต ด้วยระบบ Video Conference

ที่ได้รับการสนับสนุนจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT Conference)ไปยังโรงเรียนทั้ง 3ประเทศ 7 จุดการจัดงาน

มิรี (Miri) มาเลเซีย 2 จุด 2 โรงเรียน

เลสเตอร์เชียร์ (Leicestershire)

สหราชอาณาจักร์ 2 จุด 2 โรงเรียน

เชียงใหม่เขต 1 3 จุด ได้แก่

จุดโรงเรียนสันกำแพง (โรงเรียนสันกำแพง วัดห้วยทราย

แม่ออนวิทยาลัย และบ้านแม่ปูคา)

จุดโรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม (โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาค แม่คือวิทยา)

จุดโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ (โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ

ยุพราชวิทยาลัย กาวิละวิทยาลัย หอพระ)

2.ขณะถ่ายทอดสด ในจอแสดงการประชุมทางไกล จะปรากฏจุดประชุม

ทั้ง 7 จุด และจุดการจัดงานลอยกระทงที่มีนักเรียนพิธีกร ทำหน้าที่นำเสนอ

3. ขณะที่มีการถ่ายทอดสด นักเรียนซึ่งจัดไว้ 21 ชุด ๆ ละ 3 กลุ่ม ๆ ละ 2คน

เช่น ชุดที่ 1 นักเรียน จากเชียงใหม่ 1 กลุ่ม 2 คน พร้อมอินเตอร์เน็ต 1 ชุด จากมาเลเซีย 1 กลุ่ม 2 คน พร้อมอินเตอร์ 1 ชุด สหราชอาณาจักร 1 กลุ่ม 2 คน พร้อมอินเตอร์เน็ต 1 ชุด ชุดที่ 2 – 21 ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน จะชมการถ่ายทอดสดไปพร้อมกัน พร้อมๆ กับใช้ระบบสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า skypeสนทนาเกี่ยวกับภาพงานลอยกระทงที่เกิดขึ้น และเชื่อมโยงไปสู่การสนทนาเกี่ยวกับวัฒนธรมมของนักเรียน ทั้ง 3 ประเทศ

เพื่อป้องกันข้อขัดข้องที่จะเกิดขึ้นระหว่างการถ่ายทอสด และการประชุม ได้รับควาอนุเคราะห์จาก ทีมงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT Telecom) และทีมครูพี่เลี้ยง vคอยดูแลช่วยเหลือให้นักเรียนแลกเปลี่ยนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อม ๆ กับคอย ประสานงานผ่านอินเตอร์เน็ตกับครูพี่เลี้ยงของทั้งสามประเทศ

ดูภาพผลงานได้ครับ

http://202.143.130.117/mattayom33/

ครับ งานลอยกระทงข้ามประเทศ ที่เรียนเสนอไว้ก็เสร็จสมบูรณ์ดังได้กล่าวแล้ว ด้วยความร่วมมือของโรงเรียนในโครงการแล้วครับ

ชมภาพการจัดงานเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ข้างล่างนี้นะครับ

http://www.chiangmaiarea1.go.th

งานนี้ก็ได้รับคำชมจากต่างแดนมาพอสมควรครับ

Mazli Effendy

SMK Baru Bintulu,

97010 Bintulu,

Sarawak, Malaysia.

Tel: 086 334529

Fax: 086 334540

From David

David Mathias

East Asia Regional School Projects Manager

British Council

[email protected]

Hi Julie & Mazli,

Congratulations on the success of the event - sounds fun and I wish I could have been there!

I look forward to receiving a story or two so we can promote the event to the wider project and to our colleagues in other regions.

Best wishes,David

From John & Diane Coppard

[email protected]

Hi everyone

At Limehurst we had a really good skype session with chiangmaiad21. It was even more special for us because the students are ones with whom we are already linked! Rose was amazed when I held up a photo of her which Julie had posted to us.

Unfortunately we couldn't get the CAT to work so we did not see the festival celebrations. Mazli, did you say that some of this would be recorded on DVD? If so, it would be great to get a few highlights of the festival.

Thanks everyone. The pupils here really enjoyed the morning.

Diane

From [email protected]

Hi Mazli and everyone concerned.

WELL DONE!!! Thank you for copying me your various emails leading up to this and it is really fantastic to not just hear what a success the web conference was, but to also see from these great pictures. I look forward to seeing the feedback. Congratulations to all of you for your hard work, and to your students.

Best wishes,

Sunitha

From Clair

Hi all

Thank you so much from Leicestershire for all your hard work - it was a real success and although it really did take a lot of organising, it was an amazing event. It was just so nice to see you and finally be able to speak to you all after the emails that have gone back and forth! I can't wait to work with you all again!

Thank you to Chiang Mai for giving us the opportunity to share in your fantastic celebrations, we were honoured to be able to join you. Our pupils were full of praise and so enthusiastic about the whole experience. Thank you too, Pawinee for the invitation to spend it with you next year - we certainly wouldn't say no (and you are all always welcome in Leicestershire).

Julie, Mazli and Chat - you've been brilliant! I have enjoyed working with you. Your dedication to this made it work!

I am now going to ask my pupils to go away and create some of the items that were explained to them during the conference - Thanks Mazli for your explicit instructions on how to do this! I am also going to forward the instructions on how to create something for our festival (which is today!)We will make a video and take pictures and then send them to you on a memory stick, so look out for something in the post!

Many thanks again and we shall speak soon, I hope!

Claire

From [email protected]

Dear All

I have just returned from Connecting Classrooms Kuwait to find my mail-box full of emails describing how well the event went yesterday. I'm so sorry I couldn't join you but absolutely delighted that it went so well. We now need to get all the other schools in our clusters so involved and spread the word.

Best wishes

Helen

สวัสดีครับ

หายหน้าหายตาไปหลายวัน ก็จะเล่าไว้ ในที่นี้ว่า เมื่อวันที่ 29-30 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมาก็ได้กลับไปที่เมืองคูชิง ซาราวัค บอเนียวอีกครั้ง ก็ไปเรื่องเดิมตามคำเชิญของ บริติชเคานซิล ไปรับการอบรมรมเพื่อกลับมาช่วยโรงเรียนในโครงการ Connecting Classroom ของ BC ซึ้งปีนี้ก็มีโรงเรียนในโครงการ Sprit of ASEAN โครงการ Education Hub ของ สพฐ. เข้ามาขอรับความร่วมมือในนำโรงเรียนจัดการเรียนรู้ร่วมกับต่างประเทศโดยใช้เว็บไซต์ http://cc.britishcouncil.org ซึ่งมีอะไรที่ควรแก่การสนใจสำหรับการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบัน ผมเองเห็นการใช้เว็บไซต์เพื่อการศึกษาของเขาแล้วตาลุก โลกเขาไปกันไกลจริงๆ อยากเชิญชวนให้เข้าไปดูกันนะครับ ดูแล้วนำเข้าไปใช้ในห้องเรียนในโรงเรียน ก็จะเกิดประโยชน์มากมาย ท่านใดที่ตามเขาทันอยู่แล้ว ก็ช่วยมาบอกเล่า ในที่นี้ด้วย ก็จักขอบคุณยิ่งครับ

ชัด

แนวคิดพื้นฐานการจัดการเรียนรู้ร่วมกับโรงเรียนพันธมิตรอาเซียนผ่าน Web Community

ชัด บุญญา

มิติการจัดการศึกษาที่เป็นสากล

มิติการจัดการศึกษาที่เป็นสากลที่ทุกชาติ ทุกประชาคมในโลก รวมทั้งประชาคมอาเซียนยอมรับได้ ต้องเป็นการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ สังคม และเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในอนาคต ช่วยสนับสนุนจริยธรรมสากลให้แก่เยาวชนอย่างยั่งยืนและ เสมอภาคมากขึ้น มีการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้มากขึ้น

เนื่องจากความเป็นอยู่ของประชาชน มีผลกระทบจากความเจริญเติบโต ทางด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสังคม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องเข้าใจ ทั้งธรรมชาติ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ต้องมีทักษะ และเจตคติที่จะเป็นพลเมืองดีของประเทศ และของประชาคมระหว่างประเทศ และประชาคมโลก เพื่อรองรับการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์สำหรับสังคมของตนเอง

การจัดการศึกษาสากล

โรงเรียน และผู้เกี่ยวข้องจึงต้องมีมโนทัศน์ความเป็นสากลซึ่งเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ และค่านิยมของนักเรียนที่พึงประสงค์

คำ และวลีที่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรโรงเรียน

เพื่อการจัดการเรียนรู้ระหว่างชาติ มีคำ และวลี ที่ครูควรอธิบายทำความเข้าใจ ให้แก่นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อประเทศ และโรงเรียนพันธมิตร เช่น การ ศึกษา ความยั่งยืน มีส่วนร่วม ความร่วมมือ แบ่งปัน สัญญา ประโยชน์ร่วม กัน มุ่งมั่น เพื่อร่วมรับผิดชอบ ไว้วางใจ โปร่งใส สนับสนุน ทำงานร่วมกัน วัฒนธรรมโรงเรียน เรียนรู้ กระตุ้น ท้าทาย สนุก น่าตื่นเต้น เร้าใจ นวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงการรับรู้ แลกเปลี่ยนค่านิยม ชีวิตแห่งการเปลี่ยนแปลง

การศึกษาสำหรับประชาคมอาเซียนที่คาดหวัง

ความคาดหวังในการจัดการศึกษาของประชาคมอาเซียนผ่าน Web Community ที่คาดหวัง เช่น

1. เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรระหว่างโรงเรียน

2. เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ ให้แก่นักเรียน

3. เพื่อปรับปรุงแหล่งเรียนรู้

4. มีการตั้งคำถาม และพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์

5. มีการจัดการให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติเชิงบวก เข้าร่วมกิจกรรมที่แสดงออกถึงความเป็นเมืองดี

5. มีการยอมรับความซับซ้อนในปัญหาของโลก

6. คิดถึงความเป็นสากลเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน

ไม่ว่าจะอยู่ในหมู่บ้านหรือ เมืองใหญ่

7. เข้าใจความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และ ความเกี่ยวข้องระหว่างกันของเพื่อนมนุษย์

8. ไม่ใช่การกวดวิชา เพื่อความสำเร็จตามหลักสูตร

9.. ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

10. ไม่ใช่การบอกให้นักเรียนคิด และทำ

แนวทางการสร้างโรงเรียนพันธมิตรสากล

ขั้นเตรียมการ

* ทำความเข้าใจในเป้าหมายของการมีพันธมิตร

* ทำความเข้าใจในคุณค่าของการมีพันธมิตรร่วมจัดการเรียนรู้ ในระยะยาว

* กำหนดนโยบายการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน ที่โรงเรียนพันธมิตรมีส่วนร่วม

* ศึกษาแรงขับ แรงต้านจากเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหารระดับสูง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น

* สร้างความสนใจ และความเห็นพ้องต้องกันของผู้ร่วมงาน

*ตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และจัดทำแผนปฏิบัติการ พิจารณาศักยภาพในการ

ให้บริการโดยมีชุมชน ท้องถิ่น และ องค์กรที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม

* ศึกษาหลักสูตรจากทั่วโลก เพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาความเป็นสากลที่มีอยู่

แล้วในโรงเรียน

* กำหนดคุณลักษณะของโรงเรียนที่จะมาเป็นพันธมิตร เพื่อให้ได้พันธมิตรที่

สอดคล้องกับความต้องการ สามารถเริ่มต้นได้ดีที่สุด อย่างไรก็ดี คุณลักษณะที่กำหนดก็ควรเป็นไปในลักษณะกว้าง ๆ ยืดหยุ่นได้ เพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้ที่จะเข้ามาเป็นพันธมิตรด้วย

ขั้นริเริ่ม

เริ่มขึ้นเมื่อพบโรงเรียนที่จะเข้ามาริเริ่มก่อตัวเป็นพันธมิตรด้วย…..

* เริ่มต้นสื่อสาร ในระยะแรก ๆ อาจยังไม่ราบรื่น จึงต้องพยายาม สร้างความ

เข้าใจ และความมั่นใจ

* เริ่มต้นเจรจา ร่างสัญญา

* ศึกษาหลักสูตรของโรงเรียนพันธมิตร เพื่อกำหนดจุดร่วมของการใช้หลักสูตร

* จัดทำโครงการระยะสั้น ระยะยาว ที่จะช่วยรักษาความเป็นพันธมิตร

* กำหนดสิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจากภายนอก ที่จะเกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย

* มีการเยี่ยมเยียนระหว่างครูของพันธมิตรทั้งสองฝ่าย

* ในระหว่างการเยี่ยมเยียน มีการหารือถึงสัญญาที่จะมีต่อกัน หารือการจัดตั้ง

คณะกรรมการร่วมของทั้งสองฝ่าย

ขั้นดำเนินการ

* ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ

* เริ่มต้นการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรที่ตกลง และค่อยๆ ขยายการสอนวิชาที่ยังไม่ได้ตกลง

กันไว้

* ขยายความร่วมมือ และมีการเยี่ยมเยียนระหว่างบุคลากรของทั้งสองฝ่าย

* มีการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร และข้อตกลง

* อาจมีการเยี่ยมเยียนของนักเรียนทั้งสองฝ่าย

* ชุมชนที่ตั้งของโรงเรียนทั้งสองฝ่าย เข้ามามีส่วนร่วม

* เครือข่ายจากภายนอกโรงเรียน เข้ามาให้การสนับสนุน

* มีการประเมินผลการดำเนินงานตามสัญญา และปรับปรุง

* นำประสบการณ์จากการดำเนินงานไปแบ่งปันกับโรงเรียนอื่นๆ

* ความร่วมมือ ดำเนินการต่อไป แม้จะมี การ เปลี่ยนแปลงในด้านบุคลากร และแหล่งทุน

สนับสนุน เพราะกลายเป็นความยั่งยืนของความเป็นพันธมิตร

หลักสูตร และห้องเรียนที่เป็นมิติสากล

ในการจัดการเรียนรู้ระหว่างประเทศต้องคำนึงถึงความเป็นสากลทั้งด้านหลักสูตร และห้องเรียน ดังนี้

หลักสูตร โรงเรียนจะต้องมีหลักสูตรของตนเอง และมีเอกสารแสดง

นโยบายการสนับสนุน

ห้องเรียน โรงเรียนครูผู้สอนหาโอกาสเรียนรู้หลักสูตรของแต่ละฝ่าย

ที่มีความต้องการตรงกันโดยครูของแต่ละฝ่ายที่สอนในวิชาเดียวกัน

ร่วมกันจัดการเรียนรู้

กระบวนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนพันธมิตร

แนวที่ 1

แม้นมาส อัครกตัญญู ได้แปลและเรียบเรียง บทความของ จูดี แฮริส (Judi Harris) ("Mining the Internet" columns are available on the Learning Resource Server at the College of Education, University of Illinois, Urbana-Champaign.) ที่ได้เสนอแนะไว้ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 เลือกจุดหมายของหลักสูตร

ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ มีสองแบบ ได้แก่การจัดการเรียนรู้ที่สอดรับกับหลักสูตร (Curricularly-based goals) และการใช้วิธีการสอนแบบดั้งเดิมทั่วไป (using more traditional teaching/learning tools) ในกรณีที่ใช้แบบที่ 1 ขอแนะนำให้คิดถึงทั้งเป้าหมายด้านเนื้อหาสาระ (the content goals) ควบคู่กับเนื้อหาสาระที่จะต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติในระบบออนไลน์ด้วย เช่น ในกรณีที่เป็นโครงงานที่นำemail มาใช้ในการสอน ก็จำเป็นที่จะต้องให้นักเรียนเขียน ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและครูผู้สอนต้องแน่ใจว่า การเขียนของนักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของจุดหมายของหลักสูตร

ขั้นตอนที่ 2 การเลือกรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์มีหลายวิธี และสามารถนำมาใช้ได้กับทุกระดับชั้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เริ่มใช้กิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับรูปแบบการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องจากรูปแบบเหล่านี้ไม่สามารถตอบสนองผู้ใช้ได้อย่างทันท่วงที ครูผู้สอนจึงต้องพิจารณาเลือกกิจกรรมที่สามารถทำได้อย่างเหมาะสมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ของตน

ขั้นตอนที่ 3 การค้นหาตัวอย่างหรือโครงงานออนไลน์ที่มีอยู่แล้ว

“ตัวอย่างที่ดีมีคุณค่ามากกว่าการวางแผนเป็นร้อยครั้ง” ดังนั้น หลังจากเลือกรูปแบบกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว ควรศึกษาวิธีการทำงานหรือผลงานของผู้อื่น โดยค้นหา ด้วย google หรือ bing หรือ อื่นๆ

ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดรายละเอียดของโครงงาน

รายละเอียดของโครงงาน อาจมีดังนี้

• ชื่อโครงงาน

• จุดมุ่งหมาย/เป้าหมายของโครงงาน

• รายชื่อหรือ e-mail ของผู้ที่สามารถติดต่อได้

• ระดับชั้น

• จำนวนผู้ปฏิบัติงาน

• วิธีปฏิบัติหรือร่วมกิจกรรมในโครงงาน

• รายละเอียดเกี่ยวกับเวลา รวมถึงกิจกรรมที่ใช้

• รายละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนด จำนวน ผู้ที่สามารถเข้าร่วมในโครงงาน

• ตัวอย่างชิ้นงานของนักเรียน

• ผลการดำเนินโครงงาน

Waugh, Levin และ Smith (1994) ได้เสนอแนะว่า การคละกลุ่มนักเรียนตามระดับชั้น หรืออายุจะเป็นการดีต่อการทำโครงงาน และควรยืดหยุ่นเวลาในการทำงานเพื่อลดปัญหาเมื่อเกิดความผิดพลาดในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

ขั้นตอนที่ 5 การเชิญผู้ร่วมโครงงาน หลังจากเขียนรายละเอียดของโครงงาน Waugh Levin and Smith เสนอว่าควรสรุปย่อวิธีการดำเนินงาน เพื่อเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจเข้ามาร่วมกิจกรรม การสรุปย่อดังกล่าวควรน่าสนใจ อย่าลืมใส่ e-mail address เพื่อการติดต่อกลับจากผู้ที่สนใจด้วย

แนวที่ 2

มีข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้ไว้ในเว็บไซต์ http://www.projectplace.com/topnav/The-Knowledge-Place/Get-project-smart/Project-management/ ดังนี้

การจัดการเรียนรู้อย่างไร

ปกติแล้วโครงงานจะเริ่มด้วยขั้นตอนหลักๆ คือ วางแผน ปฏิบัติ และให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)

1. การวางแผน ครูจะเป็นผู้ชี้ทาง (guided) ให้นักเรียน นำอภิปราย และตัดสินใจเลือกหัวข้อโครงงานพร้อมเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้อง กับโครงงานนั้น แล้วนักเรียนจะเป็นผู้จัดทำรายละเอียด ซึ่งได้แก่ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ ภาระงานของนักเรียนที่บอกได้ว่าจะทำอะไร เมื่อไรอย่างไร ต้องชัดเจน

2. การลงมือปฏิบัติ การจัดทำโครงงาน ให้สำเร็จเป็นภารกิจสำคัญ นักเรียนจะต้องปฏิบัติ ในสิ่งที่วางแผนไว้ เช่น สัมภาษณ์ จดบันทึก สำรวจและเก็บข้อมูล ในขั้นตอนเหล่านี้ นักเรียนจะแสดงออกถึงความสามารถ และการพัฒนาศักยภาพของตนเอง รวมทั้งการพัฒนาทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ วิจารณ์

3. การให้ข้อมูลย้อนกลับ : การให้ข้อมูลย้อนกลับจะรวมถึงการสัมภาษณ์ อภิปราย และการนำเสนอผลงานโดยนักเรียน ด้วยสื่อที่หลากหลาย เช่น แผนภาพ แผนภูมิ เอกสาร PPT และการนำเสนอปากเปล่า กระบวนการเช่นนี้ ไม่เพียงแต่เป็นกระบวนการของโครงงาน แต่เป็นกระบวนการเรียนร่วม การทบทวน และการประเมินผล การให้คำติชม (Comments) จากผู้เรียนและจากครูทั้งสองฝ่าย ซึ่ง เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ที่จะช่วยให้นักเรียนพัฒนาโครงงาน และสร้างความมั่นใจในตัวเอง

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1. กิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูทั้งสองฝ่ายร่วมกันวางแผน การจัดการเรียนรู้ เช่น

1.1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคล (Person-to-Person (or -People) Exchanges)

การสนทนาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระหว่างบุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มบุคคล หรือ สนทนากันเป็นกลุ่ม ในลักษณะของอีเมล์ หรือ เว็บบอรด ซึ่งวิธีการนี้ สามารถนำมาใช้ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางไกลในลักษณะโครงงานได้

1.2 เพื่อนทางจดหมาย (keypals)

เป็นกิจกรรมเพื่อนทางจดหมาย (penpal activity) ที่ปัจจุบันพัฒนาเป็น email ที่นักเรียน กับ นักเรียน หรือ กลุ่มนักเรียน กับกลุ่มนักเรียน ใช้เครื่องมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ ทำงานร่วมกันได้

1.3 ห้องเรียนสากล (global classrooms)

เป็นการประยุกต์ใช้ เพื่อนทางจดหมาแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (group-to-group keypals) ที่มุ่งให้ห้องเรียนกับห้องเรียนตั้งแต่สองห้องเรียนขึ้นไปทั่วโลก สามารถเรียนรู้ในหัวข้อการเรียนรู้ใด ๆ ร่วมกันได้ แบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้กันได้ ในระยะเวลาที่กำหนดร่วมกัน

1.4 การพบปะผ่านระบบการประชุมทางไกล

ปัจจุบันมีโปรแกรม ICT ที่เป็นระบบการประชุมทางไกล (teleconference) สามารถนำมาใช้ได้หลายโปรแกรม เช่น skype, yahoo messenger, camfrog ฯลฯ ซึ่งระบบเหล่านี้สามารถใช้ในการพบปะ ประชุม ได้เสมือนจริง

1.5 วิทยากรพี่เลี้ยงผ่าน ICT (Electronic Mentoring)

วิทยากรจากมหาวิทยาลัย สถาบัน องค์กรภาครัฐ และเอกชน ทั้งใน และต่างประเทศ หรือครูจากโรงเรียนด้วยกัน สามารถเชิญมาทำหน้าที่วิทยากรพี่เลี้ยงให้แก่นักเรียนได้ ด้วยวิธีการต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อ 1.1 – 1.4

1.6 เก็บข้อมูล(Information Collections)

การสอนที่ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเก็บ รวมรวมข้อมูล เปรียบเทียบความเหมือนความต่าง อภิปราย และ สรุป นำเสนอในเว็บไซต์ ให้ข้อมูลย้อนกลับ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

1.7 แลกเปลี่ยนข้อมูล (Information Exchanges)

การให้นักเรียนนำข้อมูล มาแลกเปลี่ยนกันได้ทั่วโลก เช่น

- กีฬาพื้นบ้าน

- คำแสลง

- เรื่องขำขัน

- สุภาษิต

- นิทานพื้นบ้าน

- ข้อมูลการเกษตรในท้องถิ่นl

- ข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล

- วันหยุดทางวัฒนธรรม

- สำนวน

- ข้อมูลการท่องเที่ยว ที่บ้านเกิด หรือ ชุมชนที่ตั้งโรงเรียน

1.8 สิ่งตีพิมพ์อีเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing)

การเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูล สามารถเกิดขึ้นได้ในลักษณะสิ่งตีพิมพ์อีเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นสิ่งตีพิมพ์โดยทั่วไป เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ ซึ่งการจัดทำนี้ นักเรียนหลายคน หลายชาติร่วมกันจัดทำได้

1.9 การสร้างฐานข้อมูล (Database Creation)

ข้อมูลบางอย่างนอกจากจะนำมาแลกเปลี่ยนกันแล้ว ยังสามารถ นำมาจัดการในรูปแบบของโครงงานการจัดทำฐานข้อมูล ที่นักเรียนที่ร่วมกันทำ และนักเรียนอื่นๆ ใช้เพื่อการเรียนรู้ได้ด้วย

1.10 การท่องเที่ยวทางไกลผ่าน ICT (Tele-FieldTrips)

เมื่อครูและนักเรียนฝ่ายหนึ่งจะไปท่องเที่ยว ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น พิพิธภัณฑ์ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ สวนสาธารณะ สวนสัตว์ ฯลฯ ในระหว่างการท่องเที่ยว จะมีการรายงานการท่องเที่ยวบนเว็บบอร์ด ครูจะให้นักเรียนแบ่งปันประสบการณ์นี้กับนักเรียนจาก ตำบล อำเภอ จังหวัด หรือ ประเทศอื่น โดยการรายงานผ่านอินเตอร์เน็ต ก่อนเดินทางมีการส่งกำหนดการให้ครูที่สนใจเข้ามาร่วมกิจกรรม ครูที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมก็จะให้นักเรียนของตนเองเข้ามาตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ

1.11 ร่วมสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล (Surveys and Pooled Data Analysis)

การเก็บข้อมูลจากหลากหลายแหล่งแล้วนำมาประมวล หรือสังเคราะห์ ทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอีกกิจกรรมหนึ่ง กิจกรรมที่อาจนำมาสำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูลได้ เช่น

- การเลือกตั้งทางไกล ด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้นำของประเทศ ที่นักเรียนทั้งสองฝ่ายรู้จักดีผ่านอินเตอร์เน็ต แล้วนำผลการเลือกตั้งจริงเปรียบเทียบกับคะแนนผลการเลือกตั้งของนักเรียน

- กีฬาทางไกล ด้วยการติดตามการแข่งขันกีฬาที่ทั้งสองฝ่ายรู้จักดีแล้วนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน

1.12 การแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม (Collaborative Problem-Solving)

กิจกรรมการแก้ปัญหาร่วมกัน โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสื่อสาร

1.13 สืบค้นข้อมูล

กิจกรรมสืบค้นข้อมูล เช่น การมอบมอบงานกลุ่มให้นักเรียน โดยให้

นักเรียนทั้งสองฝ่ายรวมกลุ่มกัน กลุ่มละ 6 คน แล้วมอบข้อมูลเกี่ยวกับประเทศของทั้งสองฝ่าย เช่น ประเทศ เมืองหลวง จำนวน ประชากร แหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ แล้วให้แต่ละกลุ่มค้นหาและทำให้ได้ตามเกณฑ์ แล้วมอบรางวัล

นอกจากนี้ ยังมีแนวทางอีกมากมาย เช่น http://www.globalgateway.org/default.aspx?page=4161

กิจกรรมเหล่านี้สามารถทำได้พร้อมๆ กันหลายห้องเรียนโดยไม่เป็นภาระมากเกินไปสำหรับครู เนื่องจากในปัจจุบันเครื่องมือ ICT จะช่วยให้นักเรียนเป็นทั้งผู้สร้างและผู้บริโภค และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ไม่ยาก ซึ่งการร่วมเรียนรู้เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการเริ่มต้นค้นหาเพื่อนครูจากต่างแดน หรือประกาศผ่านเว็บไซต์ ให้ครูอื่นๆ นำนักเรียนเข้ามาร่วมกิจกรรม

2. ครูทั้งสองฝ่ายร่วมกันวางแผนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วบนเว็บไซต์ เช่น

http://cc.britishcouncil.org/

2.1 ลงทะเบียน นำนักเรียนเข้าร่วมโครงงาน คลิ๊กดูได้ที่เว็บไซต์นี้ http://cc.britishcouncil.org/index.php?q=node/48

2.2 เริ่มติดต่อประสานงาน คลิ๊กที่นี่ http://cc.britishcouncil.org/index.php?q=node/211

2.3 ร่วมโครงงาน คลิ๊กที่นี่ http://cc.britishcouncil.org/index.php?q=node/49

(ยังมีต่ออีก สนใจบอกมานะครับ)

 

On June 11th , 2010 I will invited to train a school teachers, 56 of them. It will be started with the open remarks by the school principal for 15 minutes. And there will be a speech by a foreigner principal who has been invited to share vision about partnership learning and teaching for 15 minutes. The tool that will be used is a televideo conference via internet tool which can be used to talk and chat. And also mobile phone will be spared incase the first tool can not go smoothly. After that I will tell the teachers about what I did about seminar, training, teaching classroom visiting and other school activities in and out country to make the teachers realize that nowadays ICT is powerful in teaching and learning. On the day I will invite a group of 5 teachers from the the principal's school who I have mentioned to join my demonstration televideo conference. I will have them improve my short school partnership lesson plan. The first step, each on of the teacher of both side propose his/her short idea in a minute. And the ideas will recorded on the screen of both side. After that I will have them make pares to further talking about improving the lesson plan or even do a new lesson plan to teach together in the near future. This conference will be finished in 30 minutes. This event is just for them to learn a basic way of communication with ICT for teaching and learning that they can apply for their teaching. The next step, I will have the teachers in group to read a my article, other article powerpoint, lessen plans and lesson plan formmats for them to use to answer my 3 questions “Teaching plan with foreign country networks via internet” 1. what is it? 2. How to do it? 3. What are the challenge about it?” After their presentation and comments each teacher and the group have to design lesson plan formats to be commented. After the comments ,each teacher will write his/her lesson plan to be commented by the group and the best one they choose to be comment by the whole class. That is what I will do on June 11th, 2010 at Hodpittayakom school , Chiangmai Thailand. Is there any comment to share with me?

บุญเรือง สีลาพันธ์

กราบเท้า คุณครู ชัด บุญญา

สวัสดีครับอาจารย์ที่เคารพ รักเสมอ ผมนายบุญเรือง สีลาพันธ์ ลูกศิษย์โรงเรียนหารเทา ไม่ทราบว่าอาจารย์พอจะนึกหน้าตาออกไหมเนื่องจากมันนานมาก ปัจจุบันผมเป็นครูสอนที่โรงเรียนนามนพิทยาคม อ. นามน จ. กาฬสินธุ์ สังกัด สพม. 24 ภรรยาผมเป็นครูสอนภาษาต่างประเทศที่โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ และชอบอ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครือข่ายการศึกษานานาชาติ ใน Web ของอาจารย์เป็นประจำ เนื่องจากเป็นภาระงานงานหลักของเขา เขาเล่าให้ฟังว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์มาก เขาจะศึกษาและอ้างอิงอยู่เสมอ

เมื่อผมได้ยินชื่ออาจารย์จากภรรยา ผมเลยขออนุญาตติดต่อมาบ้างเพื่อกราบเท้าคุณครูเนื่องในวาระวันครู ปี 2554 นี้ ขอให้อาจารย์พร้อมครอบครัวมีความสุขตลอดไป สุขภาพกาย ใจ เข้มแข็ง เป็นที่พึ่งของวงการศึกษาไทยต่อไป

บุญเรือง สีลาพันธ์ 081 2820286

โครงการ Asian Dialogues  ที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นโครงการ Connecting Classrooms  ก็สิ้นสุดการสนับสนุน ด้านงบประมาณ แต่โครงการก็ยังอยู่ในระบบออนไลน์ 

การปิดฉากโครงการ ด้วยการขยายผล โดยการนำเสนอผลงานที่โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ   ในวันนั้นได้สอบถามผู้เข้าประชุม  แล้ว  ได้รับคำตอบ  ดังนี้ครับ

ผลการประเมินการสัมมนาเสนอผลงาน  

โครงการ Connecting Classrooms

ในวันที่ 18 มีนาคม 2554 ณ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ

 จากการสอบถามคุณครูที่ร่วมโครงการฯ จำนวน 57  คน ด้วยคำถามจำนวน  5  ข้อได้รับคำตอบ ดังนี้

คำถามข้อ 1  ร่วมกิจกรรม Connecting Classrooms  อย่างไร

            คำตอบ

-  มีการconnecting กับต่างประเทศมาก่อน

-  เป็นผู้ประสานงาน อำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรม ทั้งในโรงเรียนและนอก

  โรงเรียน

-  ให้การสนับสนุนงบประมาณแก่ครูและนักเรียน

-  ทำโครงการแลกเปลี่ยน  partner schools  โครงการ  “  Travel Guides”

-  ส่งเสริมสนับสนุนและเปิดโอกาส ให้นักเรียนใช้ห้องคอมพิวเตอร์

-  ทำ School to School Project

-  Skype โต้ตอบผ่านทาง Website  ของ British Council Connecting Classrooms

-  ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกับเพื่อนชาวต่างชาติ

-  เข้าศึกษาข้อมูลใน Website

คำถามข้อ 2 กิจกรรมที่ทำเกิดประโยชน์กับนักเรียนอย่างไร

            คำตอบ

-  นักเรียนได้รับประสบการณ์ พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและ ICT

-  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนที่อยู่ห่างไกล

-  นักเรียนสนใจมีความกระตือรือล้นอยากเรียน

-  นักเรียนได้มีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติจริง

-  ส่งเสริมนักเรียนด้านภาษา นำพานักเรียนสู่สังคมโลก

-  เกิดความตระหนักในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร  ได้พัฒนานักเรียนด้าน ICT

-  เผยแพร่ความรู้การเป็นพลเมืองโลก

-  นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการได้พูดกับเจ้าของภาษาและได้พัฒนาภาษา

-  นักเรียนเกิดความคิดเห็นในการโต้ตอบสนทนากับคู่สนทนา

-  มีโอกาสทางการศึกษา  กล้าแสดงออก กล้าติดต่อกับเพื่อนชาวต่างชาติ

-  มีแรงจูงใจที่ดีต่อการสอนและเรียนของนักเรียน

-  นักเรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

-  นำกิจกรรมที่นักเรียนทำในโรงเรียนแลกเปลี่ยนกับชาวต่างชาติ

-  เปิดโลกทัศน์และนำความรู้ทางภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิติประจำวันในสังคมโลก

-  นักเรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารอย่างแท้จริง เกิดแรงบันดาลใจและ

    มั่นใจมากขึ้น

-   เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรม และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ตลอดจนความรู้กับเพื่อน 

    ต่างประเทศ

 

คำถามข้อ 3 กิจกรรมที่ทำเกิดประโยชน์กับตัวครูอย่างไร

            คำตอบ

-  ครูเกิดความตระหนัก เข้าใจ ความสำคัญของการเรียนรู้สมัยใหม่

-  เป็นเทคนิคการสอนอีกอย่างหนึ่ง

-  มีเพื่อนต่างแดน  โลกนี้แคบลงฝึกฝนในด้าน ICT

-  ครูได้รู้กระบวนการแลกเปลี่ยนในการ post กับชาวต่างประเทศ

-  เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเป็นการฝึกฝนทักษะภาษา

-  ได้กระบวนการจัดการเรียนการสอนด้านภาษา เพื่อนำไปบูรณาการกับวิชาอื่นๆ

-  เนื้อหาน่าสนใจมากขึ้น เพราะนักเรียนได้ใช้ภาษา อย่างแท้จริง ทำให้การเรียน       

    การสอนสนุกสนานมากขึ้น

-  ฝึกภาษาและนำภาษาอังกฤษไปใช้

-  เปิดโลกทัศน์ของตนเอง

-  มีเพื่อนชาวต่างชาติ

-  ฝึกการทำโครงการ

-  ช่วยให้การจัดกิจกรรมไม่น่าเบื่อ

-  ได้พัฒนาตนเอง  และจุดประกายเพื่อนครูและนักเรียนได้ตระหนัก และสนใจมากขึ้น

-  ได้เข้าใจในการดำเนินการ Connecting Classrooms

-  เป็นหลักสูตรสำหรับในชั้นเรียนที่ทำให้ไปสู่สากลโลก

       

คำถามข้อ 4 การร่วมกิจกรรมวันนี้ ได้รับแนวคิดใหม่ๆ อะไรไปบ้าง

-  ได้เรียนรู้กระบวนการสอนที่แตกต่างกันระหว่างโรงเรียน

-   การเรียนการสอนมิได้อยู่ในห้องเรียนอย่างเดียว

-   นำนักเรียนไปสู่สากลด้วยการติดต่อชาวต่างชาติ

-  นำโครงการ/กิจกรรม ไปขยายผลในโรงเรียนต่อไป

-  แนวทางในการเรียนการสอนและเพิ่มการฝึกด้านภาษาในการสื่อสาร

-  ได้วิธีการเข้าร่วมโครงการ

-  การทำงานอย่างมีระบบ/ การฝึกฝนด้าน ICT

-  ส่งเสริมนักเรียนให้มีทัศนะกว้างไกล เป็นพลเมืองโลกที่ดี

-  การทำโครงงานที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอน

-  การใช้ ICT  ในการเรียนการสอนและการ link กับต่างประเทศ ถือเป็นความ

               จำเป็นในปัจจุบัน

 

คำถามข้อ 5 แนวคิดแนวทางที่ได้รับจากการประชุมสัมมนาในวันนี้ไปใช้อย่างไร

            คำตอบ

-  นำไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

-  การจัดนำเสนอผลงานให้นักเรียนได้มีส่วนร่วม

-  จัดกิจกรรมให้แก่นักเรียนเช่นการให้นักเรียนนำความรู้ของตนเองไปแลกเปลี่ยนกับ 

   ชาวต่างชาติ

-  การสร้างสรรค์ผลงานจากโครงการ แนวการนำไปใช้ในการสอนและต่อยอดจริง 

-  เน้นการใช้ภาษาในสถานการณ์จริงให้มากที่สุด

-  ปรับปรุงระบบการทำงานและการจัดการเรียนการสอนฝ่าน ICT

-  นำเข้าที่ประชุม ให้ครูสนใจเข้าร่วมสมัครเป็นสมาชิกใหม่

-  เป็นแนวทางให้นักเรียนพัฒนาการสื่อสารให้มีขึ้น

-  นำไปขยายผลในโรงเรียน

-  สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับฟัง โรงเรียนที่นำเสนอไปปรับใช้ในโรงเรียน

 

จากการสอบถามนักเรียนที่ร่วมโครงการฯ จำนวน 57  คน ด้วยคำถามจำนวน 4  ข้อ

ได้รับคำตอบ ดังนี้

 

คำถามข้อ 1 ร่วมกิจกรรม Connecting Classrooms  อย่างไร

            คำตอบ

-  ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในโรงเรียนที่ได้ร่วม

    โครงการ

-  นำวิชาภาษาอังกฤษบูรณาการกับวิชาต่างๆ จัดกิจกรรมของสาระภาษาต่างประเทศ

-  ไปเข้าค่ายกิจกรรมของทาง British Council

-  ร่วมประชุมเกี่ยวกับ Connecting Classrooms  

-  แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของประเทศอื่น

- ได้นำเสนอผลงาน

- ทำให้ได้เรียนรู้สภาพความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของประเทศอื่น

 

คำถามข้อ 2 กิจกรรมทีนักเรียนร่วมเกิดประโยชน์กับนักเรียนอย่างไร

            คำตอบ

                - ได้เรียนรู้กว้างได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้

                -  ได้ฝึกภาษา เข้าใจในภาษา และได้เรียนรู้วัฒนธรรมของชาติอื่น

                -  ได้เรียนรู้เข้าใจเกี่ยวกับ  Connecting Classrooms

                -  ได้เรียนรู้ว่าโรงเรียนอื่นดำเนินงานอย่างไร  แล้วก็นำมาปรับปรุงที่โรงเรียนของตัวเอง

 

คำถามข้อ 3 การมาร่วมกิจกรรมในวันนี้ท่านได้รับแนวคิดใหม่ๆ อะไรบ้าง

            คำตอบ

                -  การทำโครงงานใหม่ของแต่ละโรงเรียน

                -  การทำกิจกรรมนอกโรงเรียน

                -  ได้รับแนวคิดด้านให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ

                -  แนวคิดในการทำกิจกรรมกับ การพัฒนาสิ่งแวดล้อม

คำถามข้อ 4 แนวทางที่ได้รับจากการประชุมสัมมนาในวันนี้มีอะไรบ้าง

คำตอบ

- ใช้เป็นแนวทางในการทำโครงการต่างๆ

- ไปปรับปรุง เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-  แนะนำโครงการ Connecting Classrooms ให้ผู้อื่นรับทราบ

-  นำไปปรับใช้ในกิจกรรมต่างๆ ที่กำลัง

จากการสอบถามบุคลากรที่ไม่ได้อยู่ในโครงการฯ  ที่มาร่วมงานเสนอผลงาน จำนวน 21 คน

ด้วยคำถามจำนวน    ข้อ  ได้รับคำตอบ  ดังนี้

 

คำถามข้อ 1.ได้รับแนวคิด วิธีการจากการเข้าร่วมสัมมนาในวันนี้ในแง่มุมใดบ้าง

            คำตอบ

-   นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติทำให้นักเรียนสามารถจดจำและอธิบายได้

-   เป็นโครงการที่ดีมาก นักเรียนได้ติดต่อกับชาวต่างชาติ

-   แนวคิดในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายการใช้ภาษาเป็นแนวทางในการแลกเปลี่ยน                  

     เรียนรู้สู่สากล

-  แนวคิดการใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียนผ่าน ICT ทำให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาโดย 

   การปฏิบัติจริง

- การเรียนรู้นอกตำราเรียนภายใต้การสื่อสารระบบ online

- การใช้เทคโนโลยีเกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการเรียนภาษาต่างประเทศ

คำถามข้อ 2  ได้ประโยชน์อะไร  นำไปใช้อย่างไร

คำตอบ

-  นำไปเผยแพร่แก่ผู้บริหาร คระครูและนักเรียนที่สนใจ

-  ปรับปรุงการเรียนการสอน

-  นำเสนอทางกลุ่มสาระ สมัครเป็นสมาชิก

-  แนะนำนักเรียนที่สนใจ

             

คำถามข้อ 3 การเข้าร่วมประชุมครั้งนี้คุ้มค่าหรือไม่

-  คุ้มค่ามากในการที่จะนำไปใช้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท