เมื่อกล้องถ่ายรูปชนกับกล้องจุลทรรศน์ จะเกิดอะไร


เพิ่มศักยภาพการใช้เครื่องมือวิทย์ฯกับอุปกรณ์อิเลคทรอนิค

    เมื่อกล่าวถึงกล้องจุลทรรศน์หลายๆท่านอาจไม่ค่อยจะได้ใช้ เนื่องจากไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับอะไรที่ต้องขยายให้เห็นรายละเอียด

              แต่ถ้ากล่าวถึงกล้องถ่ายรูปกระผมคิดว่าคงมีน้อยคนที่ไม่เคยใช้โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีกล้องดิจิตอลออกมาวางจำหน่ายมากมายหลายรุ่นหลายราคาตามศักยภาพ

              แล้วถ้าจะจับกล้องทั้งสองประเภทมาชนกัน หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องจับมาชนกัน ไม่กลัวว่ากล้องจะเสียเหรอ 

           กระผมก็ขอยืนยันครับว่าถ้าจับมาชนกันอย่างมีเทคนิคจะทำให้เราสามารถเก็บภาพสิ่งที่เรามองด้วยตาเปล่าไม่เห็น โดยเราสามารถบันทึกได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวตามความต้องการ

           จากนั้นเราก็สามารถนำภาพที่ได้ไปใช้ทำสื่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียนหรือผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ ซึ่งถ้ามีคนช่วยกันทำเยอะๆ ประเทศหรือโลกของเราก็จะได้มีสื่อการเรียนรู้สิ่งต่างๆที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นเยอะตามไปด้วยจริงหรือเปล่าครับ

           สำหรับการบันทึกภาพก็ไม่ยากครับ แต่ต้องเป็นกล้องดิจิตอลครับ ทำไมหนะเหรอครับ ก็เพราะว่ากล้องดิจิตอลมีเลนส์หน้ากล้องที่มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับเลนส์ตาของกล้องจุลทรรศน์ครับ นอกจากนั้นหากถ่ายแล้วไม่สวยเราก็สามารถลบทิ้งได้จริงหรือเปล่าครับ ไม่ต้องเปลืองฟิล์มดีจังเลยครับ

            แต่เคยมีข่าวว่าข้อดีที่ถ่ายผิดหรือไม่สวยแล้วลบทิ้งง่ายกลายเป็นการสร้างนิสัยที่ว่าถ้าไม่ชอบก็เปลี่ยนหรือทิ้งง่ายๆด้วย เรื่องนี้กระผมก็คิดว่าอาจมีผลบ้างไม่มากก็น้อยจริงหรือเปล่าครับ     
           

           เมื่อมีกล้องถ่ายรูปดิจิตอลแล้ว

           เราก็มาเตรียมกล้องจุลทรรศน์ให้พร้อมโดยนำตัวอย่างที่จะศึกษามาส่องดูจนกระทั่งเจอภาพที่เราต้องการ

           จากนั้นก็เปิดกล้องถ่ายรูปแต่ให้ปิดแฟล็ตในกรณีถ่ายภาพนิ่ง เพราะถ้าเราถ่ายแบบเปิดแฟล็ตแสงจะสะท้อนเข้ามาที่กล้องทำให้ภาพที่ได้มืดสนิทเลยครับ  

           ส่วนกรณีถ่ายภาพเคลื่อนไหวก็ให้เลือกโหมดถ่ายภาพวีดีโอจากนั้นก็กดบันทึกภาพตามความต้องการเลยครับ(แต่ควรบันทึกเป็นช่วงๆระยะเวลาประมาณ10-30 วินาทีครับ เพื่อนำไปทำสื่อจะได้ดูไม่ซ้ำภาพนานเกินไปครับ) 

           หากต้องถ่ายนานๆ  ขอแนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้องมาช่วยถือแทนจะได้ไม่เมื่อยมือครับ

           เมื่อได้ภาพมาแล้ว ก็แล้วแต่ครับว่าจะนำไปตัดต่อเพิ่มเติมเนื้อหาหรือจะนำไปประกอบการบรรยายตามความถนัดครับ หากมีข้อสงสัยประการใดสามารถสอบถามได้ที่นี่ครับ [email protected] หรือ 0899778987

 

หมายเลขบันทึก: 170293เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2008 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

เป็นความคิดที่ดีมากเลยค่ะ เดี่ยวพรุ่งนี้มีเรียนในแล็ป จะลองขออาจารย์ดู อิอิ จะได้เอากลับมาดูที่บ้านได้ด้วย :)

สวัสดีครับน้องมาริสา

พยูน ชีวิตงงๆ เป็นชื่อที่น่ารักแบบงงๆ ด้วยครับ ว่าเป็นพะยูน ที่เคยอยู่ทะเลแล้วต้องมาอยู่บนม้าหรือเปล่าครับ

สำหรับเรื่องการถ่ายภาพผ่านกล้องจุลทรรศน์พี่กำลังจะจัดอบรมในวันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2551 ให้กับคุณครูวิทย์ที่สอนในจังหวัดประจวบฯ เป็นรอบแรกครับ คงจะได้มีเครือข่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 41 คนครับ จริงๆอยากให้ถ่ายได้กันเยอะๆครับ แต่ส่วนที่พี่รับผิดชอบที่อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ มีกล้องจุลทรรศน์ประมาณ 12 ตัว ก็เลยรับได้ครั้งละประมาณ 40 คนครับ เพื่อให้ทุกคนได้ฝึกปฏิบัติกันได้อย่างเต็มที่ครับ หากมากไปเวลาของการฝึกปฏิบัติก็จะน้อยลงครับ วันนี้น้องมาริสาทดลองแล้วได้ผลประการใดแจ้งให้ทราบด้วยนะครับ แล้วอย่าลืมแนะนำให้อาจารย์และเพื่อนๆด้วยนะครับ

ขอบคุณค่ะ..ที่แวะไปทักทาย..แต่งานนี้ต้องขอบอกว่า..อีกหน่อยคงต้องรบกวนข้อมูลดีๆจากคุณวุฒิชัยค่ะ..แต่ที่น่าทึ่งก้อคงจะเป็นกล้องที่แสนฉลาด2ชนิดมาเจอกันแย้วเกิดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกชนิดใหม่ที่เรียกว่า  ที่สุดของเทคโนโลยียุค2008เค้าล่ะ..ว่าแล้วก้อต้องศึกษากันหน่อยละ....ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ

สวัสดีครับ คุณกัสจัง

เราเป็นพี่น้องกันครับ แถมบ้านใกล้เรือนเคียงกันอีก

ยินดีให้รบกวนข้อมูลดีๆครับ ยกเว้นบางเรื่องนะครับ(อิอิ)

จริงๆอยากจัดให้คุณครู กศน. ด้วยครับ แต่ติดที่พอจะไปใช้ตามศูนย์อำเภอก็ไม่มีกล้องจุลทรรศน์กันอีกหรือเปล่าครับ หรือถ้ามีทางออกจะได้จัดให้ครับ

ตอนนี้ครูในระบบก็ติดต่อมาขออบรมเพิ่มครับ คาดว่าอาจจะต้องเปิดรุ่นที่2 เพื่อให้ผู้สนใจได้เรียนรู้ครับ

กำลังศึกษาเรื่องนี้พอดีค่ะ เพราะทำงานในห้องปฏิบัติการ แต่ไม่ทราบว่าจะเลือกกล้องแบบไหนดี หรือมีเทคนิคอย่างไรในการถ่ายค่ะ ยืมกล้องคนอื่นมาถ่ายมันก็ไม่ชัดค่ะถ้าเป็นกล้องที่ถูก ทึ่ชัดใช้ได้ก็เป็นกล้องราคาแพง หรือกล้องบางชนิดก็ถ่ายได้ไม่เต็มภาพจะมีส่วนที่เป็นสีดำอยู่ขอบบ้าง เลยไม่รู้จะเลือกซื้อกล้องแบบไหนดีค่ะ

ถ้าเป็นกล้อง SLR ใช้ได้มั้ยค่ะ รบกวนด้ววยค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาขอบคุณที่ไปทักทายที่บันทึกของคนไม่มีรากค่ะ

ขออนุญาตถามค่ะ อ่านในประวัติของอาจารย์เล่าไว้ว่าจบ ..วาริชศาสตร์ .. เกี่ยวกับอะไรคะ

(^__^)

เรียนคุณคนไม่มีราก

หลายท่านครับที่สงสัย เนื่องจากชื่อออกจะแปลกๆใช่มั๊ยครับ แต่จริงๆแล้วมีที่มาที่ไปดังนี้ครับ

ภาควิชาวาริชศาสตร์เดิมใช้ชื่อว่าภาควิชาชลทรัพยากรศาสตร์ (Aquatic Science) จัดตั้งขึ้นครั้งแรกควบคู่ไปกับโครงการจัดตั้งคณะทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) เริ่มดำเนินการโครงการจัดตั้งภาควิชาชลทรัพยากรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2520 โดยมหาวิทยาลัยได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารโลก ในการว่าจ้างบริษัทจากประเทศอังกฤษมาเป็นผู้วางแผนการจัดตั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2522 จึงเสนอขออนุมัติจัดตั้งโครงการและหลักสูตรชลทรัพยากรศาสตร์และเริ่มรับนักศึกษาเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ทบวงมหาวิทยาลัยรับรองหลักสูตร และขอเปลี่ยนชื่อเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวาริชศาสตร์ และทบวงฯ เสนอแนะให้เปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการจัดตั้งภาควิชาวาริชศาสตร์” เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อภาษาอังกฤษ เป็นโครงการใหม่ที่กำหนดในแผนการศึกษาและแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529)

ที่มา : http://natres.psu.ac.th/Department/AquaticScience/aquatic/index.php

สำหรับความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายไว้ว่า

วาริช, วารีช ความหมาย ดู วาริ, วารี. ก็คงจะหมายถึงน้ำ

พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร ได้ให้ความหมายไว้ว่า

วาริช, วารีช ความหมาย น. เกิดแต่นํ้า คือ บัว ปลา. (ป., ส.).

พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

สรุปโดยรวมก็คงจะเป็นเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับน้ำครับ เมื่อคืนได้ชมรายการตาสว่าง เขาก็พาไปทัศนศึกษาสปาที่ใช้ปลาหมอสีช่วยขจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว อันนี้ยังไม่มีในหลักสูตรครับ สงสัยต้องเสนอให้ทางคณะทำหลักสูตรเพิ่มเติมครับ นำภูมิปัญญาชาวบ้านมาสร้างอาชีพ คงจะดีนะครับ ผมจะไปเรียนต่ออีกสักรอบ ทำวิจัยหาชนิดปลาในเมืองไทยที่เหมาะสมกับการสปาด้วยวารีและปลาบำบัด คงมีความสุขน่าดูครับ ฟังจากที่พิธีกรเล่านะครับ

ขอบพระคุณครับ

  • น่าสนใจมาก
  • อยากเห็นภาพเสียแล้ว
  • ลองไปพิมพ์ใน word
  • ใช้อักษร Tahoma 16 point
  • แล้ว copy มาวางใน gotoknow นะครับ
  • ลองจัดตัวอักษรดู
  • จะทำให้น่าอ่านมากมากๆๆ
  • จะลองเอาเทคนิคกล้องถ่ายรูปไปบวกกับกล้องจุลทรรศน์นะครับ
  • ขอบคุณมากๆๆครับ

-ผมเบดูอินครับ(เบดูอิน-เป็นชนเผ่าเร่ร่อน)กำลังเร่ร่อนเดินทางครับ จึงเข้าระบบไม่ได้ มาเยี่ยมครับ รีบตอบท่านก็แวะมาเลย

-ถ้าจะให้ตอบแบบกำปั้นทุบดิน ถ้าชนกันก็แตกครับ(แซวเล่นนะท่าน)

-ได้ความรู้มากเลย แวะมาเยี่ยมท่าน มีความรู้ติดไม้ติดมือ คุ้มจริง วันหน้าจะมาใหม่ ของฟรีๆใครจะไม่มา มีความสุขครับ

พอมีเวลาจึงได้ลองแก้ไข กว่าจะได้ก็ทบทวนความจำกันหลายรอบครับ ว่างๆจะเข้ามาแก้ไขอีกครับ

ขอบคุณอาจารย์ขจิตมากๆครับ

ขอบคุณคุณเบดูอินมากๆเช่นกันครับที่ยอมเสียเวลามาเยี่ยม(ถือว่าลงทุนแล้วครับ) ส่วนความรู้ถือเป็นของฝากนะครับ หากค้นพบจุดหมายเมื่อไหรก็ส่งข่าวมาบ้างนะครับจะได้แวะไปเที่ยว เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ครับ ผมชอบฟังประสบการณ์จริงจากเจ้าของประสบการณ์ครับ สวัสดีครับ

-แวะเข้ามาอวยพรครับ

เนื่องโอกาสแห่งวันตรุษอีดิลอัฎฮา อันเป็นศิริมงคลนี้ ผมใคร่ขอดุอาอฺ(พร)จากพระผู้เป็นเจ้าทรงประทานความสุข ความเจริญ ความเป็นศิริมงคล ขอให้ท่านมีความสุข ปราศจากความทุกข์ใดๆ คิดสิ่งใดขอให้สมความปรารถนาทุกประการ ขอให้ท่านโชคดีตลอดไป

สวัสดีปีใหม่รวมวันเด็กค่ะค่ะอาจารย์

วันเด็กที่ผ่านมา เด็ก ๆเข้าไปเที่ยวเยอะป่าวคะ

สวัสดีปีใหม่ครับคุณพยูน ชีวิตงงๆ คุณกัสจัง คุณนกเล็ก คนไม่มีราก

คุณเบดูอิน คุณประไพพิศ

ขอให้ทุกท่านมีความสุขมากๆ ประสบแต่สิ่งที่ดีงามนะครับ

สำหรับช่วงเทศกาลทั้งสองเทศกาลที่ผ่านมาคนมาเที่ยวหว้ากอเยอะมากครับ แต่ไม่ทราบว่ามีท่านใดได้มาแวะแล้วไม่ได้เจอกันบ้างหรือเปล่าครับ หากเป็นเช่นนั้นต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

  • สวัสดีปีใหม่ค่ะ
  • แวะมารับความรู้ค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • สวัสดีความรักค่ะ
  • ขอให้มีความรักที่สดชื่น  สมหวัง  กับเทศกาลความรัก ...
  • ทุกเดือน   ....ทุกเดือน  นะคะ
  • ปลายฟ้านำความรักมาฝาก
  • และอยากชวนไปอ่านนิทานกล่อมฝัน
  • ตำนานวันวาเลนไทน์ด้วยกันค่ะ
  • อยากให้รู้จัก  และเข้าใจคำว่ารัก... ที่แท้จริง
  • http://gotoknow.org/blog/childendream/239440?page=2#
  • จะชวนนำรูป เกี่ยวกับความรักของตัวเอง  และนิยามรัก
  • มาแลกเปลี่ยนกันด้วยนะค่ะ
  • "รักคือ  การเข้าใจในรัก"

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านคำตอบที่เคยถามไว้ ... คราวนี้ได้ทราบความหมายของคำว่า วาริชศาสตร์ แล้ว ...

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

เรียนคุณนกเล็ก

ต้องขออภัยนะครับที่ตอบช้าเนื่องจากเพิ่งอ่านเจอ ไม่ทราบคลาดสายตาไปได้อย่างไร

สำหรับกล้องที่ใช้ถ่ายเริ่มที่ประมาณ 5ล้านพิกเซล ก็คิดว่าได้ภาพที่คมชัดพอควรแล้วครับ ถ้าถ่ายภาพนิ่งได้ทุกยี่ห้อครับ แต่ถ้าถ่ายภาพเคลื่อนไหวต้องเลือกรุ่นที่ใช้ได้กับโปรแกรมwindow media player ซึ่งต้องลองให้พนักงานขายสาธิตให้เราก่อนซื้อดีที่สุดครับ เพราะมีเยอะมากๆครับ หรือไม่ขอยืมของคนรู้จักมาทดลองใช้ว่าเราถนัดและชอบรุ่นไหน เพราะความชอบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน พอได้รุ่นที่ชอบแล้วค่อยไปซื้อเป็นของส่วนตัวอันนี้คุ้มค่าที่สุดครับ เพราะเราจะได้ทุกอย่างที่ชอบ ดีกว่าซื้อมาแล้วไม่อยากใช้เพราะใช้แล้วติดขัดไม่สะดวกไม่ชอบหรือมีขั้นตอนยุ่งยาก หรืออื่นๆหนะครับ ขอให้คุณนกเล็กประสบความสำเร็จกับการใช้กล้องถ่ายภาพบันทึกภาพผ่านกล้องจุลทรรศน์โดยเร็วนะครับ ที่สำคัญต้องฝึกและหาเทคนิคส่วนบุคคลในการใช้กล้องถ่ายภาพกับกล้องจุลทรรศน์รุ่นที่เรามีครับ ทุกอย่างต้องสัมพันธ์และเหมาะสมกันครับ หากมีปัญหาสามารถโทรถามได้ครับ ที่เบอร์ 0899778987 ยินดีแนะนำทุกประการครับ อยากเห็นสื่อที่ผลิตโดยคนไทยเยอะๆครับ ร่วมด้วยช่วยไทยพัฒนาอย่างยั่งยืนครับผม

 

น่าสนใจมากค่ะ

อยากลองทำมั่งจังเลย

ขอบคุณครับคุณปลายฟ้า พี่ไปตรวจมาแล้วครับ

ผลน่าจะฝ้าฟางเล็กน้อยครับ

สวัสดีครับคุณMeMeKo

เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ครับ

เพียงแค่ทำตามภาพตัวอย่างก็สามารถครับ

ได้ภาพเมื่อไหร่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ

หากติดขัดประการใดสอบถามตามที่อยู่และเบอร์โทร

ได้ตลอดเวลาทำการครับ

ขอบคุณครับที่มาช่วยกันผลิตสื่อสร้างสรรครับ

ดีจังเลยค่ะ

ได้ความรู้ดีดีอีกแล้ว

จะแวะมาเก็บเกี่ยวนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท