จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

เสร็จแล้วชิ้นที่หนึ่ง


คู่มือการจัดการเรียนการสอนในพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ คู่มือสำหรับครูที่ปฏิบัติงานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เรียนรู้ความแตกต่าง เพื่อสร้างให้ชั้นเรียนในการพัฒนานักเรียนสู่ความสำเร็จอย่างเต็มศักยภาพ

ผมเพิ่งทำเสร็จร้อนๆ ครับ เลยนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ผิดพลาดประการใดก็ขอรบกวนบอกกล่าวกันด้วยนะครับ โหลดอ่านได้ที่นี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 170050เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2008 01:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เข้ามาอ่านก่อน
  • แล้วจะโหลดข้อมูลไปดูนะครับ
  • ว่าเป็นอย่างไรบ้าง
  • กำลังยุ่งเลยครับ
  • ฮือๆๆๆๆๆๆ

ดูแล้วเคร่าๆ น่าจะเป็นคู่มือสำหรับครูสอนในโรงเรียนที่มีนักเรียนมุสลิมเรียนร่วมมากกว่าชื่อที่ใช้อยู่บนปก เพราะไม่มีสาระส่วนใดเลยที่เป็นคู่มือเพื่อการจัดการเรียนการสอน ... มีเพียงส่วนเดียวในหน้า 29-30 ที่บอกลักษณะกิจกรรมที่ไม่ควรจัดหรือไม่เหมาะสมที่จะจัด

จากชื่อ หนังสือนี้น่าจะแนะวิธีที่จะจัดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักเรียนต่างวัฒนธรรมที่เหมาะสม เรียนรู้ร่วมกันหรือด้วยกันได้อย่างปกติดุจสังคมเดียวกัน แต่ซ่อนไว้ซึ่งความไม่ขัดกับวัฒนธรรมและความเชื่อตามลัทธิหรือศาสนาที่แต่ละคนนับถือ มากกว่าที่เห็นอยู่นี้

ขออภัย หากข้อคิดเห็นนี้ ตรงเกินไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติของ "วิชาการ" อยู่แล้ว

ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยม อาจารย์

P 1. ขจิต ฝอยทอง

หัวอกเดียวกันครับ คือยุ่งๆ แล้วก็ยุ่งๆ ฮาฮาฮา

ขอบคุณครับ P

2. ครูอ้อย แซ่เฮ  ที่แวะมาเยี่ยม ติชมได้ครับ

 

ขอบคุณ ไม่มีรูป

3.ผู้สนใจ มากครับ ผมยินดีรับข้อแนะนำเสมอครับ และรู้สึกว่าจะเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะครับ เขียนๆ ไป ก็ดูว่ามันเกว่งๆ เหมือนกัน คิดว่าคอนเซปต์ที่จะเสนอในงานชิ้นนี้มีเยอะครับ แต่ปรับไปปรับมาจนออกมารูปนี้ แต่ที่ลืมปรับคือชื่อคู่มือ

ออ.ประเด็นหนึ่งคือ ต้องการนำเสนอให้คุณครูที่มาจากต่างวัฒนธรรมได้ทำความเข้าใจพฤติกรรมของเด็กอันเนื่องจากฐานของวัฒนธรรมที่เด็กในชั้นเรียนมี

ซึ่งหากครูเข้าใจที่มาของพฤติกรรมเด็กได้ การออกแบบการสอนก็จะสอดคล้องกับสภาพของเด็กมากขึ้น อคติบางอย่างก็อาจจะหายไปก็ได้ และความจริงคือ อคติเกิดได้จากทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครอง แต่หากมีการเรียนรู้ ทำความรู้จักกัน เกิดความเข้าใจกัน ความร่วมมือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในความแตกต่างก็จะเกิดขึ้น

เราไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่เราต้องอยู่และช่วยเหลือกันได้ครับ

ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ

ดีครับ การเข้าใจวัฒนธรรมกันและกัน ย่อมทำให้เกิดความเข้าใจกันและกันได้

ขอบคุณครับ จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

สงสัยต้องมาเป็นครูในสามจังหวัดครับ จึงจะได้สัมผัสของจริง

ขอบคุณครับคนโรงงาน

ผมว่า การสร้างความเข้าใจวัฒนธรรมระหว่างกัน ทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกันได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท