การศึกษาทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง


เพราะการพัฒนาใด ๆ ไม่สามารถที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนได้เท่ากับการพัฒนาคน

การจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างลอย ๆ ไร้น้ำหนัก แต่ประการใด  อย่างน้อยที่สุด แหล่งที่มาอันสำคัญ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ  ต่างก็ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทและหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้กับประชาชนในท้องถิ่นตามความพร้อมและความต้องการของท้องถิ่น  และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ได้กำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาไว้ ๓ รูปแบบ  คือ การจัดการศึกษาในระบบ  การจัดการศึกษานอกระบบ และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย  นั้น  ยังขยายความต่อไปด้วยว่า การจัดการศึกษาดังกล่าว ทั้ง ๓ รูปแบบนั้น  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็สามารถที่จะจัดการศึกษาให้กับประชาชนในท้องถิ่นได้ในทุกรูปแบบ   ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของท้องถิ่น นั้น ๆ  เป็นสำคัญ   

 

เมื่อดูจากที่มาแล้วจึงไม่ต้องพูดกันให้มากความ  สำหรับหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองนั้นก็จะมีหน้าที่ในการนำนโยบายและแนวทางของการจัดการศึกษาของตนไปปรับใช้กับการทำงานในท้องถิ่น  และ ถ้าให้ดีอย่าลืมว่าตัองมีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษาในระบบให้กับเด็ก เยาวชนในท้องถิ่นของตนเอง ด้วย เพราะการพัฒนาใด ๆ ไม่สามารถที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนได้เท่ากับการพัฒนาคน  การพัฒนาคนที่ดีที่สุด ก็ คือ การจัดการศึกษาให้กับคนในท้องถิ่น  หากคนในชุมชน ท้องถิ่นได้รับการพัฒนาทางความคิด ได้รับการติดอาวุธทางปัญญา  บ้านเรา ท้องถิ่นเราเป็นสังคมที่มีวิชชา มากกว่าอวิชชา  เชื่อหัวไอ้เรืองได้ว่าสังคมไทยพัฒนาก้าวไกลอย่างแน่นอน  จึงอยากเห็นวงการท้องถิ่น และผู้คนทั้งหลายให้ความสำคัญกับการพัฒนา คน ในทุกมิติ  เมื่อเราสามารถจัดการศึกษาโดยท้องถิ่นได้แล้ว ผลลัพท์ก็คือท้องถิ่น ชุมชน ก็จะมีความเข้มแข็งตามมา  การเมืองท้องถิ่นก็จะเป็นการเมืองที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย เพราะเรามีคนที่มีคุณภาพไงครับ (ผม)

หมายเลขบันทึก: 169907เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2008 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แบยา

เทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีนโยบายในการพัฒนาการศึกษาให้ชุมชน ที่น่าสนใจมากๆ  ภัช ลาออกจาก ม.วัลยลักษณ์  มาทำงนที่เทศบาลนครนครศรีฯ ได้เกือบ 2 ปีแล้วค่ะ 

ตอนที่มาทำงานที่เทศบาลใหม่ๆ เมื่อได้รับทราบนโยบายเรื่องการศึกษา  ก็อึ้ง  คิดไม่ถึง  มีเทศบาลอย่างนี้ด้วยหรือ?  โรงเรียนของเทศบาลได้รับการยอมรับจากสังคมดีมาก  งบประมาณจำนวนมาก ทุ่มลงไปเรื่องการศึกษา  รูปแบบการจัดการก็น่าทึ่ง

จ้างเด็กไปเรียนหนังสือ ดีกว่าเลี้ยงดูตอนที่ไปอยู่คุก เพราะยังไงคนในเขตเทศบาล เทศบาลก็ต้องดูแล ถูกมั้ยแบ ?

คงได้  ลปรร. กันนะแบ

 

น้องภัช  ครับ

            ดีใจจังที่ได้รับข่าว   พอจะทราบเป็นเลา ๆ แล้วว่าภัชมาช่วยเรื่องการศึกษาของทน.นครฯอยู่ ว่าง ๆ จะขอความรู้มั่งน่ะ เพราะที่ทต.ปริก เพิ่งเปิดโรงเรียนเทศบาล ปีนี้เป็นปีที่สอง เด็ก ๆ  นักเรียนที่นี่น่ารัก active ดี อยากให้เขามีโอกาสทางการศึกษาเหมือนคนอื่น ๆ   เลยจัดให้เรียนฟรี ซะเลย ดีหมั้ย เป็นการลงทุนที่เกินคุ้มเน๊า

ดีใจมากคับ  อย่าลืมนาแวะมาเยี่ยมกันบ้าง  บางเวลา

 

 

 

ภัชมี blog อยู่เพิ่งจะสำนึกผิดเข้ามาบันทึกไว้  แบยาลองอ่านดูนะ

ชื่อ อุทยานการเรียนรู้เมืองนครศรีรรมราช 

พี่ภีมแนะนำให้เปิด แล้วก็เปิดไว้เฉยๆ จริงๆ ไม่ได้เข้ามาทำอะไรเลย  เพราะตอนมาทำงานแรกๆ ยอมรับว่ามึนมากๆ  นักวิชาการ กับนักการเมือง คนละเรื่องเลยนะแบ  แต่ตอนนี้พอจะจับต้นชนปลายได้บ้างแล้วก็เลยอยากจะแชร์ให้คนอื่นๆ บ้าง

เรื่องการลงทุนเรื่องการศึกษา ภัชเห็นด้วยนะแบ เกินคุ้มจิงๆ แหละ

  • เห็นด้วยกับท่านนายกฯ ครับ  อิอิ

ดีใจ ที่มีท่านรองนายก ทน.พิดโลก เป็นเพื่อน(รุ่นพี่)ร่วมอุดมการณ์  ครับ(ผม)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท