"เศรษฐกิจพอเพียงหล่อเลี้ยงชีวิต"


ตลาดนัดการจัการความรู้ท้องถิ่น นครศรีธรรมราช

         ชื่อบันทึกนี้เป็นชื่องานสัมมนาที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 -7 มีนาคม 2551  ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ผมได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่คุณอำนวยในกลุ่มย่อย  ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "เกษตรผสมผสาน...ฐานเกษตรยั่งยืน"  ในช่วงภาคบ่ายของวันที่ 6 มีนาคม 2551 ซึ่งเป็นวันเปิดการสัมมนา  ในภาคเช้าท่านผู้ว่า ฯ วิชม ทองสงค์  เป็นประธานเปิดงาน  และบรรยายพิเศษในหัวข้อ "วิถีชีวิตแห่งความพอเพียง สู่การบูรณาการเพื่อความมั่นคง"  และแน่นอนครับการบรรยายของท่านผู้ว่า ฯ มีคุณค่ายิ่งได้รับฟังแล้วได้ความรู้และแง่คิดเพิ่มขึ้นมากมาย  หลังจากท่านผู้ว่าบรรยายพิเศษจบ  เป็นการเปิดมุมมองช่องทางทำมาหากิน "เศรษฐกิจชุมชนของคนอำเภอพระพรหม" โดยท่านนายอำเภอพระพรหม ปลัด อบต.ทั้ง 4 ตำบลของอำเภอพระพรหม ดำเนินการโดยคุณสมโภชณ์ นาคกล่อม สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข

  

           ถึงภาคบ่าย  เป็นอีกครั้งหนึ่งครับที่ผมได้รับเกียรติ  ให้ทำหน้าที่คุณอำนวย  และยอมรับว่ากระบวนการจัดการความรู้หรือ KM  ช่วยให้ความรู้ฝังลึกในตัวคนไหลออกมาเยอะจริง ๆ  เสียดายที่ไม่ได้ไปเยี่ยมกลุ่มย่อยอื่น ๆ แต่ทราบว่ามีรสชาดทุกกลุ่ม   ตลาดนัดการจัดการความรู้ครั้งนี้  จัดกลุ่มย่อย 8 กลุ่ม  แต่ละกลุ่มก็มีผู้สำเร็จในการใช้ชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงทั้งนั้น  ทั้งด้านอาชีพเกษตร การออม  สภาชุมชน  เป็นเรื่องน่าสนใจทั้งนั้น  แต่ก็ไม่มีจังหวะได้ไปเยี่ยมกลุ่มอื่น ๆ  เพียงแต่ได้เห็นภาพถ่ายที่คนอื่นเอามาให้ดู

 

                              (บรรยากาศกลุ่มย่อยอื่น ๆ ที่เขาเอารูปมาฝากให้ดู)

        สำหรับในกลุ่มที่ผม  ทำหน้าที่คุณอำนวย  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง "เกษตรผสมผสาน...ฐานเกษตรยั่งยืน" (ภาพแรก ภาพสอง) ผู้เล่าล้วนเป็นผู้สำเร็จการอาชีพเกษตรผสมผสาน  ในการดำรงชีพของครอบครัวลงทุนน้อยมาก ลุงช่วง สิงโหพล จากตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม ผู้ไม่ทำอย่างเดียว  ทำมากอย่างแต่ไม่มากจำนวน  พี่พงศ์สวัสดิ์ เจือบุญ ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง  ทำนา 50 ไร่ เลี้ยงวัวด้วยแต่ไม่ต้องจ้างแรงงาน  ทำคนเดียวทำได้อย่างไร  คุณเหียบ มาศเสน จากตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม ผู้รอดพ้นจากปัญหามะนาวเหี่ยวแห้งด้วยภูมิปัญญาและผลการทดสอบ  ทดลอง  น้องสมชาติ จากอำเภอชะอวด ผู้ไม่มีเป้าหมายเป็นผู้เล่า  แต่ได้รับเกียรติเนื่องจากเดินทางมาไกล  เล่าเพื่อทำความรู้จักกัน ตอนแรกก็ไม่ค่อยยอมเล่า  แต่เมื่อเห็นบรรยายกาศแบบพูดคุยธรรมดาจึงยอมเล่าเรื่องชีวิตและอาชีพ   และก็พบว่าเพื่อนที่มาจากตำบลชะอวดผู้นี้ที่มีที่ทำกินเป็นดินทราย  จะปลูกผักปลูกพืชนั้นขึ้นลำบาก   แต่น้องสมชาติก็ผ่านตรงนี้มาได้ ด้วยการเรียนรู้จากที่อื่น  และนำไปปรับปรุงให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนจนสามารถยึดอาชีพปลูกผักขายได้  ปัญหาที่น้องสมชาติมีทุกคนในวงเรียนรู้ต่างช่วยกันแนะนำ  ทำให้ทุกคนมีความมั่นใจในวงเรียนรู้ต่างพลัดเปลี่ยนกันเล่าตามที่ผมกระตุ้น 

        องค์ความรู้  ภูมิปัญญา  ปัญหาต่าง ๆ พรั่งพรูไหลออกมา  และทุกคนช่วยกันแก้ให้เพื่อน "เพื่อนช่วยเพื่อน" ในส่วนที่เป็นปัญหา  ทุกคนเริ่มมีความคุ้นเคยและสนุกสนานกับการได้เพื่อนใหม่ ความรู้ใหม่   ทุกคนในวง   เรียนรู้ว่าเรื่องของการวางแผน โดยนำธรรมชาติฤดูกาลมาพิจารณา ความเป็นตนของตนเอง  สิ่งที่ทดแทนที่เป็นตัวเงิน  เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการทำเกษตรแบบผสมผสาน  ทำอย่างไรให้หลายอย่างผสมและผสานกันให้เป็นฐานแห่งเกษตรยั่งยืน  เวลาเป็นอุปสรรค  เมื่อถึงช่วง AAR ทุกคนเสียดายเพราะยังอยากบริโภคความสุขแห่งการแลกเปลี่ยนกัน  ทุกคนเดินไปที่กระดานเขียนหมายเลขโทรศัพท์เป็นการทิ้งรอยก่อนจากต่อท้ายชื่อที่เขียนไว้ก่อนแล้วตอนแนะนำตัว  มีโอกาสจะมาเจอกันใหม่ วันนี้ลาก่อน

        

หมายเลขบันทึก: 169800เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2008 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สวัสดีค่ะ
  • ขอชื่นชม นะคะ
  • ที่ภาคอีสาน ก็จัดประชุมบ่อยๆ ค่ะ
  • เศรษฐกิจพอเพียงเป็นวาระเร่งด่วนของยุทธศาสตร์ชาติแล้วค่ะตอนนี้
  • ช่วยกัน ช่วยให้ชาวบ้านได้รับการแก้ไขปัญหาที่ถูกจุด และพัฒนาส่วนที่ดีอยู่แล้วให้ยั่งยืนต่อไปค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณบัวปริ่มน้ำ

  • ยินดีที่ได้รู้จักครับ
  • เรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง  ใครที่ฟังทฤษฎี ก็เหมือนเป็นเรื่องยากแต่แท้จริงคนโบราณเขาทำของเขามาแล้ว  โดยเฉพาะวิถีชิวิตขิงคนชนบท  แต่เมือความเจริญทางด้านวัตถุเติบโตเร็วและมองเป็นของใหม่และจำเป็นแต่ลงทุนสูง  คนที่หลงระเริงก็เลยเดือดร้อน ประเทศไทยเรามีอะไรที่ดีกว่าประเทศอื่นอีกมากมายหากจัดระบบให้ดี
  • เวทีของชาวบ้าน  แบบเรียนรู้แลกเปลี่ยนเป็นกระบวนการที่มีคุณค่ายิ่ง  เป็นตัวกระตุ้นได้อย่างดีให้ประชาชนหันมาศึกษาและปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ครับ
  • ขอบคุณที่มาเยี่ยมและร่วมแลกเปลี่ยนครับ

สวัสดีครับ  พี่วิทย์

  • อ่านแล้ว นี่แหละประเทศไทยที่ข้าพเจ้าต้องการ
  • ความรู้มีอยู่ทั่วไป ทั้งในตัวคนและตัวหนังสือ
  • ใครละจะเอามันออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดี น้องตุก

  • ขอบคุณที่มาแวะเยี่ยม 
  • ทำงานด้วยความระมัดระวัง รักษาสุขภาพด้วยหล่ะ
  • สวัสดีค่ะ พี่ชาญวิทย์
  • ดีใจที่ได้อ่านค่ะ และอยากให้มีเวทีที่ทุกคนรู้สึกว่า "เวลาแห่งความสุขจากการเรียนรู้...ไม่พอ" อย่างนี้ในอีกหลายๆ เวทีต่อไปนะคะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีครับ  น้องปลาเค็ม

         เวทีอย่างนี้จะเจอบ่อย  ถ้าหากในวงเรียนรู้จำนวนคนไม่มากเกินไป  กลุ่มละ 10-15 คน กำลังดี  เพราะได้มีโอกาสพูดแสดงความรู้สึกกันทุกคน  แต่ถ้าผู้เล่าน้อยคยฟังเยอะจะเหมือนกับการอบรมครับ

         ขอบคุณที่มาเยี่ยม  ช่วงหลัง ๆ นี้ไม่ค่อยได้บันทึกเลยครับ

  • ตามมาบอกค่ะ ว่าปามีภารกิจต่างประเทศนิดหน่อย ก็เลยเปิดบล็อกใหม่นะคะ ฝากไว้ในอ้อมใจด้วยค่ะ ตามไปอ่านได้ค่ะ
  • ที่นี่ http://gotoknow.org/blog/neverwalkalone 
  • แต่ในบล็อก เกษตรเมืองเพชร http://gotoknow.org/blog/panidol ก็ยังเขียนอยู่นะคะ
  • ขอบคุณพี่ชาญวิทย์ค่ะ

สวัสดีครับ  น้องปลาเค็ม

  • ตามไปดูคร่าว ๆ ก่อนนะครับแล้วจะติดตามอ่านต่อไป
  • ดีใจด้วยครับที่มีโอกาสดี ๆ อย่างนี้
  • ถ้าไม่มาบอกไว้ก็ไม่ได้เห็นว่ากำลังคุยอยู่กับคนต่างแดน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท