บทคัดย่อ การพัฒนาการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กล่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นป.6


เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ครูวิทยาศาสตร์สามารถนำไปใช้สอนได้

ชื่อเรื่อง :      การพัฒนาการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ  หน่วยการเรียนรู้  4  เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน

                     กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6/1

ผู้วิจัย :             นางเรวดี  พินลา

ปีที่พิมพ์ :     2551

บทคัดย่อ

 

                    วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งในโลกปัจจุบันและอนาคตเพราะช่วยพัฒนาผู้เรียน  ให้ได้พัฒนาวิธีการคิด  ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล  คิดสร้างสรรค์   คิดวิเคราะห์วิจารณ์  คิดอย่างเป็นระบบด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์   ต้องอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์   นำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว   ที่กำลังเผชิญอยู่ในโลกปัจจุบัน  วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนทุกคนทุกสาขาอาชีพ  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  ที่เน้นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงชีวิตกับสภาพแวดล้อมสร้างองค์ความรู้ที่ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่หลากหลายทั้งเป็นกลุ่ม   และรายบุคคลในการสังเกตสิ่งแวดล้อมต่างๆ  ให้รู้จักตั้งคำถามหรือปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่จะศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนากระบวนการคิดขั้นสูง  ดังนั้นการวิจัยปฏิบัติการในครั้งนี้  มีความคาดหวังเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน   รู้จักการคิด   ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์   รู้จักการแก้ปัญหาแสวงหาความรู้เพื่อนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันของผู้เรียนให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  ด้วยการพัฒนาการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ   เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนด้านปฏิบัติภารกิจในชั้นเรียน  ประเมินผู้เรียนจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้การร่วมกลุ่มปฏิบัติกิกรรม  และการทดสอบความรู้ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน  การสร้างนิสัยความรับผิดชอบ    การให้ความร่วมมือภายในกลุ่ม   เป็นการช่วยให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ประชากรในการวิจัย ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1  โรงเรียนอนุบาลห้วยทับทัน  อำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ  จำนวน  23  คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยปฏิบัติการ  ได้แก่

             1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน  ที่มีประสิทธิภาพ  (E1 /E2)  ตามเกณฑ์  70 / 70  และมีดัชนีประสิทธิผล  0.50  ขึ้นไป  จำนวน  14  แผนการเรียนรู้

            2.  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน    ที่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ  รวม 14  แผนการเรียนรู้  แบบทดสอบจำนวน  40   ข้อ  ชนิดเลือกตอบ  4   ตัวเลือก   ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

              3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้  เรื่องสารในชีวิตประจำวันหลังการเรียนโดยใช้แบบสอบถาม   ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  จำนวน  30  ข้อ  สอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเป็นรายบุคคล 

                                                                            

              ผลการวิจัยปฏิบัติการพบว่า  การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ   เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6/1 โรงเรียนอนุบาลห้วยทับทัน   ส่งผลให้นักเรียนมีพัฒนาการเรียนรู้   ดังนี้   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียน  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6/1  จำนวน  23  คน  โดยการใช้แผนการจัดการเรียนรู้  14  แผน

การเรียนรู้  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น รวมทุกแผนการจัดการเรียนรู้  มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80.77/79.00  ด้านเนื้อหา  นักเรียนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไปสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6/1 

ทุกเนื้อหาจัดอยู่ในระดับดี  มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ   ด้านการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอน  ด้านสื่อ/วัสดุอุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้  ด้านการวัดผล

ประเมินผลโดยรวมจัดอยู่ในระดับดีมาก  ซึ่งเป็นไปตาม  สมมุติฐานที่ตั้งไว้  เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   ก่อนและหลังเรียน   พบว่า   หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  ซึ่งเป็นไปตาม

สมมุติฐานที่ตั้งไว้  (หลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 86.74  ก่อนเรียนเฉลี่ยร้อยละ 58.37) แสดงว่าหลังเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.37    (ก่อนเรียนเฉลี่ยร้อยละ  58.37   หลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ  86.74)   ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)  หลังเรียน  กระจายน้อยกว่าก่อนเรียน (หลังเรียน 2.899  ก่อนเรียน  5.03)  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแตกต่างกัน  2.13  (ก่อนเรียน  5.03  หลังเรียน  2.899)  ค่าประสิทธิภาพการสอน  (C.V.)   หลังเรียน  8.355  (ก่อนเรียน 21.56  หลังเรียน  8.355 )  กล่าวคือ  ก่อนเรียนจัดอยู่ในระดับต้องปรับปรุง  หลังเรียนจัดอยู่ในระดับดีถึงดีมาก  ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.)  ของการใช้แผนการจัดการเรียนรู้  จำนวน  14  แผน  เท่ากับ 0.681 

              กล่าวโดยสรุปการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1  รูปแบบ

การพัฒนาการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ   ทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์  ในด้านการวัดผลประเมินผล  โดยรวมจัดอยู่ในระดับดีมาก  ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้  ด้านพฤติกรรมของนักเรียน  พบว่า  นักเรียนเรียนอย่างมีความสุขสนุกสนานเพลิดเพลิน  ในการปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง   การศึกษาค้นคว้า  สืบค้นข้อมูล  การนำเสนอผลงานกลุ่มหน้าชั้นเรียน  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ในการแก้ปัญหาของแต่ละกลุ่ม  เช่น  การปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง    การแบ่งปันสารเคมี  และสื่อ/วัสดุอุปกรณ์การทดลอง   นักเรียนกระตือรือร้นสนใจใคร่รู้  กล้าแสดงออก  ซึ่งเป็นไปตามความคาดหวังของการวิจัยปฏิบัติการ   ส่งผลให้นักเรียนสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดีถึงดีมาก  และส่งผลให้ผู้วิจัยได้นวัตกรรมที่มีคุณภาพสูงรูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเรื่อง  สารในชีวิตประจำวันไว้ใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  และเป็นแนวทางในการทำวิจัยปฏิบัติการกลุ่มสาระอื่นต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #วิทยาศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 169100เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2008 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ด.ญ.อโณทัย ธีระสุขประสาน

ขอคุณคะที่มาเสนอให้ชม

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ด.ญ.อโณทัย ธีระสุขประสาน ชั้นป.6/2(แพรว)

เด็กหญิงเพชรไพลิน มานา

ขอขอบคุณมากนะคะที่นำ

มาให้ชมเเละศึกษา

เพื่อนำส่งครูประจำชั้นเรียน

เด็กหญิงเพชรไพลิน มานา ชั้นป.6/2( แก้ม )

โรงเรียนบ้านจอมพระ

เด็กหญิงลดาวัลย์ ราชประเสริฐ

ขอบคุณนะคะคุณครูเรวดี พินลา หนูน้องจูนเด้อคะลูกศิษย์ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 บาย

เด็กหญิงจันทมาส บัวจูม

ขอบคุณ คุณครูมากนะคะที่ให้ความรู้ให้หนู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท