แนวคิดแบบควอนตัม


โดยลางสังหร (intuition) ของเราเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ควรจะมีพฤติกรรมแบบใด ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเรา

ในโลกของอะตอมและองค์ประกอบของอะตอม  ทุกอย่างปรากฏเป็นกลุ่มหรือเป็นหน่วยที่ไม่มีความต่อเนื่อง  คำว่าคอวนตัมมาจากภาษาลาตินว่ามาเป็นกลุ่มเป็นชุด  ภายในอะตอมทุกอย่าง มวล ประจุ พลังงาน โมเมนตัมและอื่นๆ ปรากฏออกมาเป็นกลุ่มก้อนของจำนวนหน่วยพื้นฐาน  ไม่มีอะไรที่สม่ำเสมอต่อเนื่อง  และกลศาสตร์(mechanics) เป็นคำที่ใช้กันดั้งเดิม ที่เก่าแก่ของวิทยาศาสตร์การเคลื่อนที่  ดังนั้นกลศาสตร์ควอนตัม  จึงเป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ใช้เพื่ออธิบายการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ ในระดับอนุภาคภายใตอะตอม หรือกึ่งอะตอม

สิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดของคนทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกลศาสตร์ควอนตัม  โดยคิดว่าจิตใต้สำนึกของเราจะขยายขอบเขตจากพฤติกรรมที่ดำเนินอยู่ในโลกตามปกติอันเป็นสามีญสำนึก  ที่เรามีประสบการณ์ เป็นเหมือนกับข้อตกลงเบื้องต้นว่าจะเป็นไปในทำนองเดียวกัน ในโลกควอนตัก็เป็นชั่นนั้นคืออธิบายได้ด้วยหลักการเหมือนกัน  โดยลางสังหร (intuition) ของเราเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ควรจะมีพฤติกรรมแบบใด ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเรา

ในกรณีการเคลื่อนที่ของวัตถุขนาดใหญ่ที่เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วปกติ  ไม่มีเหตุผลใดที่จะคาดหวังว่าเมื่อเรามองไปที่วัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆ หรือวัตถุที่มีอัตราเร็วสูงมาก ควรจะมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับวัตถุที่เราคุ้นเคยตามประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน  ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการศึกษาวัตถุที่มีขนาดเล็กมากหรือที่ความเร็วสูงมากที่อาจขัดแย้งกับความรู้สึก

หมายเลขบันทึก: 168840เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2008 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • แวะมาอ่านครับ
  • คงต้องตามอ่านบทความอาจารย์ย้อนหลัง ซะแล้วครับ แฮ่ะๆ

แวะมาอ่านเหมือนกันคะ

บทความอาจารย์ น่าสนใจมากคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท