เกมจัดการน้ำ


น้ำ และ อ้อ คือเกษตรกร ที่รวยที่สุดในลุ่มน้ำ

 เริ่มแรกของเกม เราได้เงินกู้จากธนาคาร เพื่อลงทุน 120000 บาท จากนั้นเราก็จะนำเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนซื้อข้าว ,ข้าวโพด,และถั่วมาปลูกและเสียค่าดูแลแปลง เสียค่าแรงและอื่นๆ ทั้งหมดคือต้นทุน จากนั้นก็แบ่งเป็นฤดูการทำเกษตร 3 ฤดู แต่ละฤดู ใช้น้ำไม่เท่ากัน และการขอน้ำก็ไม่เท่ากัน , และเมื่อทำเรื่องขอน้ำไปยังชลประทานแล้ว ก็ไม่ได้น้ำอย่างที่ตั้งใจไว้ บางครั้งก็ได้น้ำน้อยกว่าที่คิด บางครั้งก็ได้น้ำเพิ่มขึ้นจากการหมุนวงล้อพบสถานการณ์ฝนตกเราก็จะได้น้ำเพิ่มเมื่อครบ 3 ช่วงการทำนา ก็จะขายผลผลิต ซึ่งก่อนจะขาย ผู้ที่เล่นเป็นพ่อค้าคนกลางก็จะกำหนดราคา ซึ่งมักจะถูกกว่าราคา ที่เราตกลงกันไว้ครั้งแรกก่อนเล่นเกม ซึ่งอันนี้ผู้อธิบายเกมบอกว่าเป็นสิทธิของพ่อค้า (โดยไม่มีการหมุนวงล้อเหตุการณ์) ครั้งแรกเราขายผลผลิตได้ประมาณ 167000 หักหนี้แล้วเหลือเงินมา 8000 กว่าบาท  (เพราะได้เงินจากต่างประเทศ และการขายน้ำจำนวนหนึ่ง ) เงินที่เหลือก็นำมาเพื่อมาลงทุนรอบต่อไป พอรอบ 2 นี้เราขายผลผลิตได้เพียง 161000 บาท และเป็นเกษตรกรที่เหลือเงินมากที่สุดในลุ่มน้ำ

พี่อ้อมเป็นผู้ที่จนที่สุดในลุ่มน้ำ เพราะรอบแรกทำเกษตรขาดทุนย่อยยับครั้งที่ 2 ตั้งกู้เงินและจ่ายดอกเบี้ยแถมผลผลิตในรอบหลังราคาต่ำอีก แต่พี่อ้อมบอกว่า เขามีพัฒนาการ เพราะได้ผลผลิตสูงกว่าที่ผ่านมา ,เมื่อเราหันมาดูตัวเองก้พบว่าแม้ว่าเราจะรวยที่สุดในลุ่มน้ำ แต่เราก็ทำงานหนัก และมีรายได้ต่ำกว่ารอบแรกมาก (เห็นพัฒนาการของตัวเอง)

แต่ยังคิดอยู่เหมือนกันว่า เราทั้งคู่ต่างก็ทำงานหนักมาก (สงสัยถ้าเป็นเรื่องจริงก็ประมาณว่าไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่น) ในขณะที่ยังมีเกษตรกร อย่าง พี่แอน, ที่ทำนาแค่ 2 แปลง แต่ก็ได้ยังพอมีเงิน เหลือบ้างแม้ไม่เท่าเรา (แต่ความสุขเขาอาจจะมีมากกว่า)

ข้อคิดที่ได้จากการเล่นเกมจัดการน้ำ เมื่อตอนบ่ายที่ผ่านมาสิ่งแรกที่รู้สึกคือ

1.เห็นใจเกษตรกร ว่า หลายๆ ที่เราควบคุมมันไม่ได้ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ ปริมาณน้ำที่จะได้รับแบ่งจากชลประทาน , รวมถึงการกำหนดราคาผลผลิต และต้นทุนการผลิต

น่าเสียดายที่เกมนี้ตัวเดินเรื่องสำคัญเป็นเพียงเกษตรกร(เท่าที่ได้เล่นวันนี้แค่ 2 ชั่วโมง)  ทำให้เห็นถึงความผันผวนที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเกษตรกร แต่ความผันผวนต่อเรื่องการกำหนดราคา ยังไม่ค่อยเห็นเหตุผลเช่นเดียวกับชลประทานที่เมื่อถึงเวลาปล่อยน้ำ กลับบอกเราเพียงว่าต้องการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูกาลหน้า โดยไม่มีการเสี่ยงทาย หรือหมุนวงล้อจากเกม ทำให้เห็นว่า เกมนี้ยังต้องมีการพัฒนาอีกมากในเรื่องรายละเอียดเหล่านี้ เพราะมันส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้เล่น หรือตัวเดินเรื่องคือ เกษตรกร ว่า สิ่งที่พ่อค้า หรือ ชลประทานกล่าวลอยๆ นั้นยังไม่มีเหตุผลรองรับชัดเจน เช่นน่าจะให้พ่อค้า หมุนวงล้อที่เป็นวงจรของพ่อค้าเอง เช่นเมื่อไปตกตรงที่ สถานการณ์ น้ำมันแพง พ่อค้าก็จะมีเหตุผลมากขึ้นในการกล่าวอ้างว่า จะต้องกดราคาผลผลิตของเกษตรก,,, หรือในส่วนของชลประทาน ก็มีวงจร ที่เป็นวงจรการทำงานของชลประทานเองว่าต้องประสบกับเหตุการอะไร เช่นเมื่อหมุนไปเจอเหตุการ เขื่อนแตก ก็จำเป็นต้องกักน้ำไว้ใช้มากขึ้น ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างที่มีเหตุผลกว่าการพูดลอยๆ ของผู้อธิบายเกม

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1688เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2005 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เกมนี้ทำให้เรียนรู้ได้หลายอย่าง

1. เกษตรกร ต้องมีการเรียนรู้ที่จะวิเคราะห์เป็น  เพราะมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่แปรผันตลอดเวลา ทั้งปริมาณน้ำ, ราคาผลผลิต และเหตุการณ์อื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบ

2. จากเกมทำให้เห็นว่า แต่ละทีมมีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน  และถ้าเป็นการทำเกษตรจริง  ถ้านำการแก้ปัญหาของแต่ละทีมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ก็จะเกิดประโยชน์กับกลุ่มเกษตรกรเอง

3. ข้อคิดอีกข้อที่ได้จากเกม คือ ถ้าทุกทีมรวมกลุ่มเรียนรู้และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ก่อน เช่น ราคาผลผลิต  ก็อาจจะได้แผนการผลิตร่วมกันที่ดี   ไม่มีการผลิต/ปลูกพืชผล บางตัวเกินความต้องการของตลาด ซึ่งจะทำให้ราคาตกต่ำ  หรือสามารถแบ่งน้ำได้พอเพียง ไม่เกิดการแย่งน้ำกัน

4. การวิเคราะห์อย่างมีสติ  จะทำให้เราได้กำไรชีวิตมากที่สุดค่ะ อันนี้ไม่ได้หมายถึง กำไรที่เป็นตัวเงินที่วัดได้อย่างเดียวนะ (คือ ไม่ใช่ อ้อ กับ น้ำ  เพราะถึงคู่เราจะได้เงินมากที่สุด แต่เราดูจะใช้เวลาและทุ่มแรงคิดเยอะ ต้องคอยเดาใจทีมอื่นด้วย  แต่อีกกลุ่ม คือ พี่แอน + เก๋  ถึงจะดูจำนวนเงินที่เหลือไม่มาก แต่ก็ไม่เป็นหนี้ และดูจากเกม ทั้ง 2 ทำงานน้อยกว่า แค่ 2 แปลง น่าจะมีเวลาเหลือทำอย่างอื่นอีกที่อาจจะก่อกำไรโดยรวมของชีวิตได้มากกว่า)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท